‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานประกาศรายชื่อ ‘ศิลปินแห่งชาติ’ ประจำปี 2565 ทั้ง 3 สาขา ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ศิลปะการแสดง รวม 12 ท่าน ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดประชุม ครั้งที่ 3/2566 โดยมี วิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นประธานในที่ประชุม

อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ดังนี้

"คณะอนุกรรมการ ทั้ง 4 คณะ ได้ร่วมกันกลั่นกรอง ศิลปินแห่งชาติ ทั้ง 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และ ศิลปะการแสดง

โดยศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ประจำปี พ.ศ. 2565 มีทั้งสิ้น 12 ท่าน มาจากสาขาทัศนศิลป์ 4 ท่าน วรรณศิลป์ 2 ท่าน ศิลปะการแสดงทุกสาขา 6 ท่าน

เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยมีปูชนียบุคคล มีศิลปินที่มีความสามารถหลากหลาย ในสาขาที่ครอบคลุมด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พระราชบัญญัติปี 2553 กำหนดให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติขื้น เพื่อเป็นไปตาม พ.ร.บ. มีการออกกฎกระทรวง ปี 2555 ฉบับที่ 2 แก้ไข และฉบับล่าสุด ปี 2563

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

ศิลปินแห่งชาติ จะมีค่าตอบแทน เดือนละ 25,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาทต่อปี มีเงินช่วยเหลือกรณีประสบสาธารณภัย 50,000 บาทต่อครั้ง 

ศิลปินแต่ละท่านสร้างสรรค์ผลงานมาทั้งชีวิต กว่าจะมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ต้องสั่งสมประสบการณ์และผลงานมากมาย ค่าตอบแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ท่านได้ทำเพื่อศิลปวัฒนธรรมของประเทศชาติ"

  • ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2565

สาขาทัศนศิลป์

  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์)

มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ เป็นครูบาอาจารย์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านภาพพิมพ์ให้กับลูกศิษย์มากมาย

  • เจตกำจร พรหมโยธี (สถาปัตยกรรมผังเมือง)

อาจารย์เจตกำจรเป็นผู้ทำผังเมืองที่สำคัญ ปัจจุบันก็ยังใช้ผังเมืองที่อาจารย์ได้ดำเนินการอยู่ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • ดิเรก สิทธิการ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ)

หรือ สล่าดิเรก เป็นช่างแกะสลักเครื่องเงิน เครื่องโลหะ มีผลงานฝากไว้มากมายที่วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ริเริ่มนำเครื่องเงินมาเป็นภาชนะเครื่องใช้ไม้สอยเฟอร์นิเจอร์ประดับตกแต่งอาคาร ผลงานล่าสุด คือของที่ระลึกที่มอบให้กับผู้นำที่มาประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

  • ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)

เป็นต้นแบบของการปฏิวัติแนวคิดทางด้านมัณฑนศิลป์ ในเรื่องของการตกแต่งภายใน โรงแรมสำคัญ ๆ ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ถ่ายทอดวิชามาถึงลูกศิษย์ในปัจจุบัน

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

สาขาวรรณศิลป์

  • ศาสตราจารย์ เกริก ยุ้นพันธ์ (วรรณศิลป์)

เป็นนักเขียน ทำตำราหนังสือเกี่ยวกับเด็ก มีความคิดริเริ่มในเรื่องการเล่าเรื่องทำให้เข้าใจง่าย เข้าถึงกลุ่มผู้อ่าน เกี่ยวกับหนังสือเด็กและเยาววชน ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

  • บุญเตือน ศรีวรพจน์ (วรรณศิลป์)

มีความเชี่ยวชาญในด้านการประพันธ์บทร้อยกรอง บทสรรเสริญ สดุดี ต่างๆ ในพิธีสำคัญเนื่องในงานสำคัญของชาติ ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา และการเขียนหนังสือมากมาย

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

สาขาศิลปะการแสดง

  • นพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม (ละครรำ)

แม่นพรัตน์ เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการนาฏศิลป์ไทย ในเรื่องรำละคร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการละคร สอนลูกศิษย์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • สมชาย ทับพร (ดนตรีไทย-ขับร้อง)

เป็นนักร้องเพลงไทยไม่กี่ท่านที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูดนตรียุครัตนโกสินทร์หลายๆ ท่าน ไม่ว่า ครูมนตรี ตราโมท หรือครูปรมาจารย์ด้านการขับร้องเพลงไทย ล่าสุด ได้ขับร้องในงานแสดงดนตรีไทย ครูดนตรีไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เพิ่งผ่านมา

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (หมอลำประยุกต์)

แม่ราตรี เป็นหมอลำคนแรกที่ประยุกต์เป็นหมอลำซิ่ง ทำให้ในปัจจุบันมีเกิดขึ้นมาหลายวงมากมาย เป็นผู้ทำให้หมอลำซิ่งอีสานเป็นที่แพร่หลายออกไปนอกเหนือจากภาคอีสาน คนต่างประเทศก็ชื่นชอบ

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • ธงไชย แมคอินไตย์ (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)

พี่เบิร์ด ของทุก ๆ คน ศิลปินมหาชน ผลงานเป็นที่ประจักษ์รู้ตั้งแต่อัลบั้มแรกจนถึงอัลบั้มปัจจุบัน มีผลงานต่อเนื่อง เป็นผู้ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องการใช้ภาษาไทย การสอดแทรกคำไทย ศิลปวัฒนธรรม ในงานส่วนตัว งานส่วนรวม รวมถึงเพลงสำคัญ ๆ ของประเทศไทย เผยแพร่บทเพลงไทยไปสู่สากล

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • สมเถา สุจริตกุล (ดนตรีสากล-ประพันธ์เพลงร่วมสมัย)

ปรมาจารย์ด้านดนตรีคลาสสิคของไทย เป็นคนไทยไม่กี่คนที่ประพันธ์เพลงคลาสสิคได้ตั้งแต่อายุ 18 เป็นคนไทยคนแรกที่ทำอุปรากรหรือโอเปร่า ประพันธ์โดยคนไทย แสดงโดยคนไทยในต่างประเทศ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีคลาสสิค สร้างมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ สร้างวงดนตรีสยามซิมโฟเนียสต้า ไปแสดงในต่างประเทศ มีผลงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

  • ประดิษฐ ประสาททอง (ละครร่วมสมัย)

เป็นที่รู้จักกันในแวดวงละครเวที เป็นนักวิจารณ์และผู้ที่ทำละครร่วมสมัย ทำให้โรงละครเธียเตอร์ต่าง ๆ กลับขึ้นมาคึกคัก เป็นพื้นฐานของละครร่วมสมัย ในปัจจุบัน

‘เบิร์ด-สมเถา-เกริก’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 65

ที่ผ่านมา มี ศิลปินแห่งชาติ ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติแล้ว มีจำนวน 342 คน เพิ่มเติมปี 2565 อีกจำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 354 คน แบ่งเป็น

สาขาทัศนศิลป์ 105 คน

สาขาวรรณศิลป์ 61 คน

สาขาศิลปะการแสดง 188 คน

เสียชีวิตแล้ว 175 คน ยังมีชีวิตอยู่ 179 คน