16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา

ที่มา วันสังขานต์ล่อง วันเนา วันพญาวัน สามวันสำคัญของ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” (ประเพณีปีใหม่เมือง) ในวัฒนธรรมชาวเหนือหรือวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งหมายถึง “เทศกาลสงกรานต์” ของภาคกลาง

KEY

POINTS

  • ที่มาของ 3 วันสำคัญใน “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” (ประเพณีปีใหม่เมือง) ในวัฒนธรรมชาวเหนือ หรือวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งหมายถึง “เทศกาลสงกรานต์” ของภาคกลาง
  • ความหมายและความแตกต่างของ 3 วันสำคัญ “วันสังขานต์ล่อง, วันเนา  และ วันพญาวัน” พร้อมธรรมเนียมปฏิบัติ
  • สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับผู้แทนสำนักโหรหลวง โหราจารย์ล้านนา และผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิทินไทย ปฏิทินล้านนา การคำนวณตามหลักการทางสุริยคติและจันทรคติที่สืบต่อกันมา พบว่า พ.ศ. 2556-2585 รวม 30 ปี “วันที่ 14 เมษายน” เป็นวันมหาสงกรานต์ 
     

ที่มา วันสังขานต์ล่อง วันเนา วันพญาวัน สามวันสำคัญของ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” (ประเพณีปีใหม่เมือง) ในวัฒนธรรมชาวเหนือหรือวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งหมายถึง “เทศกาลสงกรานต์” ของภาคกลาง

ชาวเหนือหรือชาวล้านนาดั้งเดิม เรียก "เทศกาลสงกรานต์" ว่า ประเพณีปีใหม่เมือง หรือที่ออกเสียงตามสำเนียงพื้นถิ่นว่า “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ประกอบด้วยวันสำคัญ 3 วัน คือ

วันสังขานต์ล่อง

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกจากพระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำในประเพณีปีใหม่เมืองแบบล้านนา เมื่อ 13 เม.ย.2567 (credit photo: TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง)

คือ วันแรก ของประเพณีสงกรานต์ หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ “สงกรานต์” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว” วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนาตรงกับภาคกลางคือ “วันมหาสงกรานต์” ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า

วันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่ จุดประทัดทำเสียงดังเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ให้ไหลล่องไปกับ “ปู่-ย่าสังขานต์”  ซึ่งจะแบกรับสิ่งไม่ดีไม่งามในชีวิตไปทิ้งที่มหาสมุทร

การไล่สังขานต์ด้วยเสียงดังแต่เช้าจะทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน ซักที่นอนหมอนมุ้ง อาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส

 

วันเนา หรือ”วันเน่า”

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ตุงแบบต่างๆ ในวัฒนธรรมล้านนา (ภาพ : ธิติ วรรณมณฑา)

คือ วันที่สอง ของประเพณีสงกรานต์ หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองวันเนายังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่ เนื่องจากเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังอยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีเมษ โหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ส่งเสริมมงคล เชื่อว่าหากใครก่อการทะเลาะวิวาทด่าทอ จะเป็นอัปมงคลไปตลอดทั้งปี

ใน “วันเนา” ชาวล้านนาจะเตรียม สวยดอก(กรวยดอกไม้) ตุง ข้าวตอก หมากเหมียง เพื่อใช้ในการทำบุญ

ตลอดทั้งวัน เด็กๆ คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ พากันไปขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ หรือเท่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว แล้วประดับด้วยตุง สวยดอก ให้สวยงามเป็นพุทธบูชา

วันพญาวัน

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ไม้ค้ำศรี ออกเสียงอย่างล้านนาว่า “ไม้-ก๊ำ-สะ-หลี” (ภาพ : ศูนย์ภาพเนชั่น)

คือ วันที่สาม ของ "ประเพณีปีใหม่เมือง" ถือเป็น วันเถลิงศก เปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ กิจกรรมในวันนี้มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่ สรงน้ำพระพุทธรูป-เจดีย์  อุทิศส่วนบุญกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกกันว่า “ทานขันข้าว”

ช่วงบ่ายไปรดน้ำดำหัวเพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้มีบุญคุณ ผู้ซึ่งให้ความเคารพนับถือ เนื่องจากปีที่ผ่านมาอาจทำให้ท่านโกรธเคือง หรือได้ล่วงล้ำด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งที่พลาดพลั้งทำไปและมิได้ตั้งใจ 

ข้าวของที่นิยมนำไปรดน้ำดำหัว ได้แก่ สวยดอก ธูปเมือง ผ้านุ่ง (เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว) ขนม-อาหาร-ผลไม้มงคล

ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ มีกิจกรรมแห่ ไม้ค้ำศรี ออกเสียงอย่างล้านนาว่า “ไม้-ก๊ำ-สะ-หลี” ศรี หมายถึง ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอาศัยร่มเงา ในคืนที่ทรงพิจารณาสภาวธรรม และก่อนการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ชุมชนวัดลี ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา ทำไม้ค้ำโพธิ์ในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 2562

ไม้ค้ำศรี มีลักษณะเป็นไม้ง่าม อาจทำจากไม้ประดู่ ไม้ฉำฉา หรือไม้เนื้อแข็ง แกะสลักหรือประดับประดาให้สวยงาม

เนื่องจากบางวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นโอกาสที่จะได้ใช้ "ไม้ค้ำศรี" ยึดค้ำกิ่งก้านสาขาไม่ให้โน้มลงมาจนกิ่งหักได้ จึงเรียกอีกอย่างได้ว่า “ไม้ค้ำโพธิ์”

การทำ "ไม้ค้ำศรี" มีความหมายเป็นนัยว่า เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา และค้ำชูอุดหนุนให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง 

พญาวัน ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ อาทิ มนต์คาถา สักยันต์ ทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู

16 เม.ย. “วันพญาวัน” ตั้งแต่พ.ศ.2562 เป็นต้นมา

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา วิหารลายคำ, พระเจดีย์, พระอุโบสถ ภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ วัดซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธสิหิงค์" พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่

พ.ศ.2491 รัฐบาลไทยในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กำหนดให้ เทศกาลสงกรานต์ ที่เคยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มี.ค.และ 1-2 เม.ย. เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 13-15 เมษายน โดยมีชื่อเรียกแต่ละวันว่า วันมหาสงกรานต์ (13 เม.ย.) วันเนา (14 เม.ย.) และวันเถลิงศก (15 เม.ย.)

พร้อมทั้งได้รับประกาศให้เป็น วันหยุดราชการประจำปี เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมสานต่อประเพณีอันดีงามของประเทศ รวมทั้งเป็นโอกาสให้ประชาชนที่ศึกษาเล่าเรียนหรือทำงานต่างพื้นที่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ร่วมประกอบพิธีต่าง ๆ ตามประเพณี และใช้เวลากับครอบครัวมาโดยตลอดนั้น

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา credit photo: TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง 

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ขบวนอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ถึงประตูท่าแพ เชียงใหม่ 

แต่เนื่องจากการจัดประชุมสัมมนาของ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับผู้แทนสำนักโหรหลวง โหราจารย์ล้านนา และผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิทินไทย ปฏิทินล้านนา หลักฐานการเคลื่อนไปของวันตามสุริยยาตร์ การคำนวณตามหลักการทางสุริยคติและจันทรคติที่สืบต่อกันมา พบว่า

  • พ.ศ.2401-2442 รวม 42 ปี วันที่ 12 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ 
  • พ.ศ.2443-2555 รวม 113 ปี วันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ 
  • พ.ศ. 2556-2585 รวม 30 ปี วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ 
  • พ.ศ.2586-2643รวม 58 ปี วันที่ 15 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์

ดังนั้นเมื่อปีพ.ศ.2561 สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในขณะนั้น ขอให้รัฐบาลพิจารณาเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการให้ตรงกับการประกาศสงกรานต์ของกระทรวงวัฒนธรรม และตามปฏิทินโหรหลวงประจำปี

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ประกาศสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๒ (credit : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)

ในปีพ.ศ.2562 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ก็ได้ประกาศว่า วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์

และนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 เป็นต้นมา "เทศกาลสงกรานต์" หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ตามจารีตของชาวล้านนา จึงถือปฏิบัติตามการคำนวณที่สืบต่อกันมา กำหนดให้ "ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" ตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน ดังนี้ 

  • วันสังขานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 14 เม.ย. 
  • วันเนา ตรงกับวันที่ 15 เม.ย. 
  • วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ 16 เม.ย.

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา บ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดบุพพาราม, 1 ใน 9 แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เชียงใหม่ (credit photo: ททท.สำนักงานเชียงใหม่)

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา น้ำทิพย์ปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ 2567 (credit photo: ททท.สำนักงานเชียงใหม่)

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา ขบวนอัญเชิญน้ำทิพย์ปี๋ใหม่ฯ (credit photo: TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง )

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา credit photo: TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง 

“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ประจำปี 2567 ของจังหวัด เชียงใหม่ กำหนดจัดระหว่าง 4-20 เม.ย. โดยวันที่ 4-9 เม.ย. เป็นการอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 9 แหล่ง เพื่อบวงสรวงเป็น น้ำทิพย์ปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ สำหรับมอบให้เป็นของขวัญเสริมสิริมงคลแก่ประชาชนคนไทยทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

สำหรับ วันพญาวัน วันที่ 16 เม.ย. มีกิจกรรม อาทิ สมโภชพระสิงห์ เจริญพระพุทธมนต์ สะเดาะเคราะห์ ทำบุญตักบาตร ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, สรงน้ำพระเสตังคมณี พระศิลา บวงสรวงไหว้สาพระญามังราย ณ วัดเชียงมั่น

ป๋าเวณี สรงน้ำพระบรมธาตุเจ้าจ๋อมสลีปุรีนามหน่างรั้ว และพระเจ้าแสนแซ่ว ณ วัดยางกวง, ประเพณี ทำบุญสืบชะตา ตานขันข้าว ณ วัดอินทขิล

ข่วงตุงล้านนา ณ พุทธสถานเชียงใหม่, ขบวนแห่สืบสานป๋าเวณี สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

 

อ้างอิง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, เฟซบุ๊ก ททท.สำนักงานเชียงใหม่, เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์