นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ปรับปรุงส่วนจัดแสดงและจัดสร้างห้องนิทรรศการใหม่ จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ อุโมงค์เวลา ห้องลือระบิลพระราชพิธี ห้องดวงใจปวงประชา (รัชกาลที่ 8 - 9) และห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10 นำเสนอด้วยเทคนิคทันสมัย

KEY

POINTS

  • "นิทรรศน์รัตนโกสินทร์" ปรับปรุงส่วนจัดแสดงและจัดสร้างห้องนิทรรศการใหม่ จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ อุโมงค์เวลา, ห้องลือระบิลพระราชพิธี, ห้องดวงใจปวงประชา และ ห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10 
  • "ห้องดวงใจปวงประชา" นำเสนอความรักความผูกพันสองพี่น้องระหว่างรัชกาลที่ 8 - รัชกาลที่ 9 ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ Dataton Watchout บนจอโค้ง
  • "ห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10" เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชปณิธานของ "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" ผ่านห้องนิทรรศการที่จัดสร้างขึ้นใหม่ด้วยเทคโนโลยี Immersive Theatre

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ปรับปรุงส่วนจัดแสดงและจัดสร้างห้องนิทรรศการใหม่ จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ อุโมงค์เวลา ห้องลือระบิลพระราชพิธี ห้องดวงใจปวงประชา (รัชกาลที่ 8 - 9) และห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10 นำเสนอด้วยเทคนิคทันสมัย

สืบเนื่องจากการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีขึ้นระหว่างวันที่ 4–6 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญและมีความหมายที่สุดของปวงชนชาวไทย

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และแหล่งรวบรวมข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอผ่านเทคโนโลยีทันสมัยหลากหลายรูปแบบ จึงร่วมเทิดพระเกียรติและบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญดังกล่าว

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย

ปัทมนิธิ เสนาณรงค์ อธิบายห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10

“โดยรวบรวมเนื้อหาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดแสดงด้วยหลักการพอเพียง ประหยัด และเรียบง่ายตามพระราชจริยวัตร ผสมผสานกับเทคนิคการนำเสนอที่แปลกใหม่ จากพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระราชดำริและพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด” ปัทมนิธิ เสนาณรงค์ หัวหน้าฝ่ายบริหาร นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กล่าว

เพื่อการนี้ ‘นิทรรศน์รัตนโกสินทร์’ ดำเนินการจัดทำและเปิดส่วนจัดแสดงและห้องนิทรรศการใหม่ จำนวน 4 ห้อง ได้แก่

 

1. อุโมงค์เวลา

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย เริ่มทางเข้าอุโมงค์เวลา

ส่วนจัดแสดงจุดเริ่มต้นก่อนเข้าชมห้องจัดแสดงนิทรรศการ มีลักษณะเป็นโถงทางเดิน ผนังทั้งสองด้านของโถงทางเดินจัดแสดงภาพวาดและภาพถ่ายบอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยกับประวัติศาสตร์โลกในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย อุโมงค์เวลา

เริ่มตั้งแต่เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ สร้างวัดพระแก้ว และฟื้นฟูความเจริญทุกด้าน เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้คืนมาดังเดิม

เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีคนแรกชื่อ จอร์จ วอชิงตัน ผู้นำทางทหารที่เก่งกล้าสามารถจนประกาศเอกราชจากอังกฤษ และสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเมื่อปีพ.ศ.2326 หรือหนึ่งปีให้หลังจากการสร้างกรุงเทพฯ

มีเรื่องราวน่าสนใจในลักษณะดังกล่าวตามลำดับพุทธศักราช โดยมีส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือการนำเสนอ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยเทคนิค Hollow Display จัดแสดง แบบจำลองรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานให้กระทรวงสาธารณสุข

 

2. ห้องลือระบิลพระราชพิธี

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย ทคนิค Slide Screen

จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญและหาชมได้ยากตั้งแต่รัชกาลที่ 1 อาทิ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งหลัง รัชกาลที่ 5 พ.ศ.2416, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 พ.ศ.2468, พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พ.ศ.2475

พร้อมเพิ่มเนื้อหาจัดแสดงพระราชพิธีเนื่องใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ความพิเศษของการจัดแสดงภายในห้องนี้คือการใช้ เทคนิค Slide Screen โดยเมื่อเคลื่อนจอซึ่งติดตั้งไว้หน้านิทรรศการภาพนิ่งไปยังจุดที่ได้กำหนดไว้ จะเกิดภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอจริงที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีนั้นๆ ให้ได้รับชม ราวได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธี

3. ห้องดวงใจปวงประชา

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย การจัดแสดงใน "ห้องดวงใจปวงประชา"

จัดแสดงพระราชประวัติของ รัชกาลที่ 8 และ รัชกาลที่ 9 แบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ

(1) ต้นโพธิ์แห่งแผ่นดิน

จัดแสดงพระราชประวัติรัชกาลที่ 9 จำนวน 9 ช่วงเวลา ด้วยเทคนิค Soft touch Interactive ที่เมื่อผู้เข้าชมสัมผัสข้อความในนิทรรศการ จะปรากฏภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพระราชประวัติช่วงนั้นๆ

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย ห้องดวงใจปวงประชา วีดิทัศน์บนจอโค้ง

(2) ใต้พระบรมโพธิสมภาร

นำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยจัดแสดงบนจอโค้ง ใช้ซอฟต์แวร์ Dataton Watchout ควบคุมการแสดงวิดีโอหลายจอ เพื่อสร้างจอแสดงผลขนาดใหญ่ที่ไร้รอยต่อ พร้อมแถวที่นั่งสำหรับชมราวอยู่ในโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก

เล่าเรื่องด้วยภาพพระบรมฉายาลักษณ์และวีดิทัศน์ประวัติราชสกุลมหิดล การอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสพระราชธิดาตั้งแต่วัยเยาว์ พระราชจริยวัตร ความรักความผูกพันสองพี่น้องระหว่าง รัชกาลที่ 8 และ รัชกาลที่ 9 พระราชดำริในการครองพระองค์ การประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกร ฯลฯ พร้อมเสียงดนตรีบรรเลงและเสียงบรรยายประกอบในบางจังหวะ

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย ห้องดวงใจปวงประชา

ปกติจอในโรงภาพยนตร์ตั้งเผชิญหน้ากับผู้ชม แต่จอภาพใน “ห้องดวงใจปวงประชา” มีลักษณะโค้งเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว มีภาพปรากฏทั้งด้านขวาและซ้ายมือของผู้ชม

โดยเฉพาะช่วงแสดงพระราชกรณียกิจนับร้อยนับพันโครงการ ภาพและวีดิทัศน์ที่ทยอยหลั่งไหลมาจากปลายสุดด้านข้างของจอโค้งด้านหนึ่งไปยังอีกด้านนั้นเหมือนจะหมุนไปรอบห้อง ผู้นั่งชมราวได้รับการโอบกอดจากพระหัตถ์และน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์

(3) ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์

จัดแสดงบันทึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ‘รัชกาลที่ 9’ โดยออกแบบผนังห้องนิทรรศการเป็นเส้นทางจากโรงพยาบาลศิริราชสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อการประกอบพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ การถวายอาลัยและไว้ทุกข์เป็นเวลา 1 ปีตามคำประกาศของรัฐบาล จวบถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย ส่วนจัดแสดงย่อยที่ (3) ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์

เริ่มจากการเปิดวีดิทัศน์ย้อนเวลากลับไปในช่วงบ่ายของวันพฤหัสฯ ที่ 13 ตุลาคม 2559 เสียงและภาพ “โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย” รายงานประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต

วีดิทัศน์ฉายต่อด้วยหมายกำหนดการการเคลื่อนพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระบรมมหาราชวัง ของวันที่ 14 ตุลาคม 2559

ภาพบนผนังตลอดความยาวของส่วนจัดแสดงนี้ เขียนเป็นภาพลายเส้นพสกนิกรที่พากันออกมานั่งเฝ้าส่งเสด็จด้วยหัวใจที่แตกสลายตลอดสองฟากฝั่งถนนจากโรงพยาบาลศิริราชถึงพระบรมมหาราชวัง เขียนขึ้นจากภาพถ่ายจริงที่ได้รับการบันทึกไว้มากมาย

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย รวมข้อมูลขบวนพระบรมราชอิสริยยศฯ

บางช่วงบนผนังมีวีดิทัศน์สัมภาษณ์ความรู้สึกของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศซึ่งเดินทางไปถวายความอาลัย ณ พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งจอวีดิทัศน์แสดงสาสน์จากผู้นำประเทศต่างๆ ที่มีต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9

บริเวณสุดท้ายของส่วนจัดแสดงนี้มีวีดิทัศน์แบบแตะสัมผัส บันทึก “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ” การถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ให้ได้ศึกษา จำนวน 6 ริ้วขบวน

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9

รวมทั้งวีดิทัศน์ให้เรียนรู้ ศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบ “พระเมรุมาศ” ของในรัชกาลที่ 9 จำนวน 10 เรื่อง ผ่านกล่องไม้จำนวน 10 กล่อง แต่ละกล่องมีหัวเรื่องเขียนกำกับไว้

อาทิ การออกแบบพระเมรุมาศ ประติมากรรมเทวดา ประติมากรรมบันไดนาค ประติมากรรมพระพิฆเนศ ประติมากรรมพระเมรุมาศ ประติมากรรมคุณทองแดง ประติมากรรมคชสาร ภาพจิตรกรรมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และฉากบังเพลิง

เมื่อนำกล่องไม้ที่มีหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาไปวางยังจุดที่กำหนด ก็จะปรากฏเรื่องนั้นบนจอวีดิทัศน์ที่ติดตั้งอยู่บนผนัง

 

4. ห้องนิทรรศการรัชกาลที่ 10

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย การจัดแสดงในส่วน “สืบสาน” หน้าที่แห่งกษัตริย์ของชาติไทย

ถ่ายทอดเนื้อหา 3 ส่วน ตามพระปฐมบรมราชโองการที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศในวันบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 คือ

(1) “สืบสาน” หน้าที่แห่งกษัตริย์ของชาติไทย

นำเสนอพระราชประวัติผ่านภาพวาด จำนวน 10 เหตุการณ์ อาทิ พระบรมราชสมภพ, ภาพสถาปนาพระราชอิสริยยศขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 20 พรรษาบริบูรณ์ พ.ศ.2515, ภาพทรงผนวชเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2521 ณ วัดพระแก้ว

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย เทคโนโลยีจาก “ภาพวาด” สู่ “ภาพวีดิทัศน์”

ภาพวาดทั้ง 10 เหตุการณ์ วาดโดย ปุณณภพ บุญเกตุ ศิลปินจิตรกรรมซึ่งมีผลงานการวาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 จัดแสดงในนิทรรศการสำคัญๆ หลายโอกาส

แต่มิใช่เป็นการเดินชมภาพวาดเท่านั้น ทว่าเป็นการนำเสนอในลักษณะจาก “ภาพวาด” สู่ “ภาพวีดิทัศน์” ผู้เข้าชมนิทรรศการฯ เพียงยกแท็บเล็ตที่ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ หน้าผนังภาพวาด ส่องไปยังภาพวาดที่มี “สัญลักษณ์อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ประดับอยู่ใกล้ๆ

หน้าจอแท็บเล็ตก็จะปรากฏคลิปวีดิโอเหตุการณ์จริงที่เกี่ยวเนื่องกับภาพวาดนั้นๆ ให้ชม
ดนตรีที่เปิดประกอบในพื้นที่ส่วนจัดแสดงบริเวณนี้เป็นเพลงบรรเลงชื่อ ลาวคำหอม บทเพลงทรงโปรดในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

(2) “รักษา” สุขแห่งประชาราษฎร์ให้คงอยู่

นำเสนอพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ในรูปแบบ Interactive Information และ Model Display ผู้ชมสามารถสัมผัสข้อความในนิทรรศการเพื่อชมคำอธิบายเพิ่มเติมได้

ประกอบด้วยพระราชกรณียกิจด้านการเกษตร ศาสนา การต่างประเทศ การศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแพทย์และการสาธารณสุข ด้านสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย เทคโนโลยี Immersive Theatre

(3) “ต่อยอด” แผ่นดินไทยให้ยั่งยืน

นำเสนอพระราชกรณียกิจผ่าน เทคโนโลยี Immersive Theatre โดยเปรียบ การทรงงานแบบปิดทองหลังพระ ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเสมือน ดวงดาวในม่านหมอก

ผู้ชมมีส่วนร่วมไปกับนิทรรศการได้โดยการใช้กล้องที่ออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายตะเกียงส่องไฟของประภาคาร เมื่อส่องแสงไฟไปยังจอบนผนังห้องที่ออกแบบเหมือนท้องฟ้ายามค่ำที่มีหมอกบดบัง ก็จะปรากฏ ภาพการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวกระจ่างออกมาท่ามกลางเมฆหมอก

เรียนรู้การทรงงานแบบปิดทองหลังพระด้านต่างๆ ของพระองค์เพิ่มเติม ผ่านการหมุนกล้องกวาดแสงไฟไปยังท้องฟ้าส่วนอื่นๆ

ภาพ : โสภน สุเสน

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์  4 ห้องจัดแสดงใหม่ เทคนิคใหม่ พอเพียง ประหยัด เรียบง่าย ส่วนจัดแสดงใหม่ของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ : เปิดให้บริการวันอังคาร - วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 09.00 -17.00 น.

  • เฉพาะวันเสาร์- อาทิตย์ เวลา 12.00 - 13.30 น. มีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ โดยเด็กและเยาวชนจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าชมฟรี ณ เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน
  • ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nitasrattanakosin.com สอบถามเข้าชมนิทรรศการ โทร. 0 2621 0044 สอบถามเวทีการแสดงฯ โทร. 09 5476 5868