‘วศินบุรี’เดี่ยว'เซรามิก'ในรอบ 10 ปี :'อสาร' ย้อนเวลาความสนุกที่สัมผัสดิน

‘วศินบุรี’เดี่ยว'เซรามิก'ในรอบ 10 ปี :'อสาร' ย้อนเวลาความสนุกที่สัมผัสดิน

'วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์' ศิลปินเซรามิกกับนิทรรศการชุดล่าสุด อสาร จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 พย.66-14 มค. 67 ที่อัตตา แกลเลอรี่ เจริญกรุง 30  

Unsinn im Sinn หรือ อสาร นิทรรศการเซรามิกครั้งแรกของ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ที่จัดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2557 กว่าช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ผลงานแสดงเดี่ยวทางด้านเซรามิกของวศินบุรีถูกจัดขึ้นในประเทศแถบยุโรปเท่านั้น ชื่อ อสาร ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อถึงการไร้ซึ่งสาระหรือการพยายามข้ามข้อจำกัดของสสาร 

นิทรรศการนี้ศิลปินได้ย้อนไปถึงความทรงจำและการทำงานทางด้านเซรามิก ตั้งแต่ช่วงแรกของการเรียน การทำงาน จนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “Unsinn im Sinn!”(ไทย:มีความไร้สาระเป็นสาระ) เป็นประโยคที่อาจารย์พูดกับวศินบุรีในชั้นเรียนปีแรกของการเรียนเซรามิก ทุกคนเล่นกัน แต่ประโยคตำหนิกลับถูกเจาะจงมาที่เขา 

ความรู้สึกแย่และคำ ๆ นี้ เป็นสิ่งที่เขายังจำได้ไม่ลืม โชคดีที่ในปีต่อมาเขาได้เรียนวิชาศิลปะกับอาจารย์อีกคนที่เปิดโลกให้เขาเห็นถึงความเป็นไปได้และความน่าสนใจของงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ ช่วงเวลานี้เป็นครั้งแรกที่เขาได้ค้นพบความอิสระ

‘วศินบุรี’เดี่ยว\'เซรามิก\'ในรอบ 10 ปี :\'อสาร\' ย้อนเวลาความสนุกที่สัมผัสดิน ในนิทรรศการนี้ ความทรงจำทั้งดีและไม่ดีถูกนำมาตีความใหม่ การเรียนและการทำงานที่ผ่านมาถูกนำมาพิจารณา วิเคราะห์ และนำเสนอผ่านผลงานแต่ละชิ้น

วศินบุรีได้ทำการสำรวจประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำจำกัดความของเซรามิก การแบ่งแยกระหว่างงานศิลปะและงานหัตถกรรม การสำรวจเทคโนโลยีใหม่ควบคู่ไปกับการทบทวนการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม มุมมองและการรับรู้ รวมถึงความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะ

เพราะชอบตั้งคำถามกับสิ่งที่หลายคน หรือสังคมมองว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้เกิดจากความสงสัยที่เป็นธรรมชาติของเขา เขาอยากรู้ถึงความเป็นไปได้ เช่น อะไรจะเกิดขึ้นถ้าผลงานถูกสร้างด้วยวิธีที่ต่างออกไป หรือถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามอย่างที่ควรจะเป็น แล้วประวัติศาสตร์และความเป็นจริงที่เรารับรู้จะเปลี่ยนไปหรือไม่

เขาเชื่อในเรื่องของปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการทำเซรามิกที่สะท้อนถึงความเป็นจริงในชีวิต

ไม่ว่าปัจจัยอะไรก็ตามเพียงเล็กน้อยที่มากระทบ ก็อาจทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างออกไป ความสนุก ความสุขที่เรียบง่ายจากการสัมผัสเนื้อดินและสร้างสรรค์ให้เป็นไปตามสิ่งที่เขาต้องการ

 

 

ประสบการณ์และความทรงจำเหล่านี้ แม้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นให้เขาตัดสินใจทำเซรามิก แต่คือจุดเปลี่ยนให้เขาเริ่มต้นการเป็นศิลปินเซรามิกศิลปินให้ความสำคัญกับเซรามิกทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และชีวิตของเขาที่ผูกพันอยู่กับสิ่งนี้ นิทรรศการนี้เปิดโอกาสให้เขาทำการทดลองกับกระบวนการและเทคนิคใหม่

และในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เขาย้อนไปสำรวจกับเทคนิคที่เคยทำมา สิ่งใหม่ถูกนำเสนอไปพร้อมกับรูปแบบดั้งเดิม

‘วศินบุรี’เดี่ยว\'เซรามิก\'ในรอบ 10 ปี :\'อสาร\' ย้อนเวลาความสนุกที่สัมผัสดิน

‘วศินบุรี’เดี่ยว\'เซรามิก\'ในรอบ 10 ปี :\'อสาร\' ย้อนเวลาความสนุกที่สัมผัสดิน

สำหรับวศินบุรีกระบวนการและการเดินทางมีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าผลลัพธ์ เพราะไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือล้มเหลวที่เกิดขึ้นระหว่างทางก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งที่น่าทึ่งหรือการค้นพบใหม่ได้เสมอ

คำว่า Unsinn im Sinn ในเบื้องต้น อาจจะเหมือนเป็นคำที่เขาถูกต่อว่า แต่เมื่อทำการพิเคราะห์ถึงการทำงานและการใช้ชีวิตที่ผ่านมาของศิลปิน

คำนี้จริง ๆ แล้วอาจจะให้ความรู้สึกที่ตรงข้าม เป็นแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน ทุกการตัดสินใจ และสิ่งที่เขาเชื่อ เพราะหลายครั้งที่เขาเลือกทำในสิ่งที่อาจจะดูไม่มีเหตุผล เพียงเพราะเกิดจากความชอบ ความเชื่อมั่น หรือความสงสัยส่วนตัว

ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำงานศิลปะ การออกแบบ หรือแม้แต่การสร้างงานศิลปะชุมชนและการผลักดันให้เกิดความตระหนักทางด้านศิลปะวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในบ้านเกิดของเขา

นิทรรศการนี้เปิดโอกาสให้วศินบุรีได้ย้อนไปถึงช่วงเวลาแห่งความสุขและอิสระในช่วงวัยเรียนที่เขาได้สร้างสรรค์ผลงานจากดิน ความสนุกและสงบจากการได้สัมผัสดินและขึ้นรูปด้วยมือเขาเอง

ผลงานที่จัดแสดงเป็นเสมือนบทบันทึกของชีวิต ความคิด และความทรงจำของศิลปิน งานแต่ละชิ้นได้ดูดซับเอาประสบการณ์ ความรู้สึก และอารมณ์ที่เกิดขึ้น

ทุกเหตุการณ์ ทุกความเศร้า ความเจ็บปวด ความรู้สึกผิด ความสุข และความปรารถนา ถูกส่งผ่านจากศิลปินไปสู่ผลงานศิลปะ ปรากฏอยู่ในทุกร่องรอยของการกด ขูดขีด รอยเจาะ และรอยฉีกขาด ศิลปินเลือกที่จะใช้วัสดุและชิ้นงานศิลปะเป็นเครื่องบันทึกและปลดปล่อยผ่านกระบวนการสำรวจตัวเอง เป็นบทบันทึกระหว่างชีวิตของเขาและงานเซรามิก

เซรามิกเดี่ยวในรอบเกือบ 10 ปีของวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ที่คิวเรท โดย นิ่ม นิยมศิลป์ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา16:00 – 20:00น. จนถึงวันที่ 14  มกราคม2567 ที่อัตตา แกลเลอรี่ เจริญกรุง 30