ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม

‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ เป็นงานศิลปะที่ 4 ศิลปินร่วมกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเรียกร้องต่ออุตสาหกรรมเนื้อไก่ เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 5 มี.ค. 66

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection- Thailand) ร่วมกับ 4 ศิลปิน จัดงานศิลปะ ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

แสดงผลงานไปจนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เสนอทางออกเพื่อความยั่งยืนของระบบอาหาร ที่เกื้อกูลกันทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

นำทีมโดย มารีญา พูลเลิศลาภ ทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ร่วมกับ 'นักรบ มูลมานัส' ศิลปินนักปฏิรูปงานศิลป์กับผลงาน The Last Suffer โต๊ะอาหารมื้อสุดท้าย

ครูเซียง หมอลำหุ่น ศิลปินพื้นบ้าน คณะเด็กเทวดา รังสรรค์งานศิลป์ ‘ชีวิต A4’ ผ่าน Installation Art นำสุ่มไม่ไผ่และเครื่องจักสานฝีมือชาวบ้านมาประกอบเป็นไก่ขนาดยักษ์สูงกว่า 3 เมตร

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

'นนทวัทธ มะชัย' กลุ่มลานยิ้มการละคร 'Kult Of Chicken' อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่ ควรลด ละ เลิก การเลี้ยงไก่ที่ไม่คำนึงถึงชีวิตใคร

'อาจารย์ตั้ว-ประดิษฐ ประสาททอง' ศิลปาธร ปี 2547 ร่วมกับกลุ่มละครอนัตตา นำเสนอลิเกแนวแฟนตาซีโรแมนติก เรื่อง 'เจ้าชายลอ กับ ไก่วิปลาส' 

กลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ 'Laan และ Beagle Hug' ร่วมขับกล่อม และนิทรรศการภาพวาด หัวข้อ 'เชื้อดื้อยาจากฟาร์มอุตสาหกรรม'

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก 

  • ไก่ในจานของเรา ถูกเลี้ยงมาอย่างไร 

โรจนา สังข์ทอง ผู้อำนวยการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า งานวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

"เรื่องสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม โดยเฉพาะไก่ ไก่ในโลกใบนี้ถูกเลี้ยงมาเป็นอาหารคนหลายหมื่นล้านตัวต่อปี แล้ว 2 ใน 3 มีความทุกข์ทรมานจากการเลี้ยง เพราะอุตสาหกรรมฟาร์มไม่ให้ความสำคัญเรื่องสวัสดิภาพสัตว์

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

ไม่มีโอกาสได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ อยู่ด้วยความแออัด มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เลี้ยงให้หน้าอกใหญ่กว่าขา ทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เดินไม่ได้ ขาพิการ

ส่งผลมาถึงผู้บริโภค เกิดเป็นปัญหา 'เชื้อดื้อยา' กิจกรรมวันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะปลดแอกความทุกข์ทรมานของสัตว์ฟาร์ม ซึ่งเราทุกคนสามารถช่วยกันได้"

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

เหมือนดาว คงวรรณรัตน์ ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า งานในวันนี้เป็นซีรีส์สองที่รณรงค์เรื่องสัตว์ฟาร์ม

"ครั้งนี้เราเลือกใช้ศิลปะ เพราะศิลปะให้ความสุขและความสุนทรีย์ ช่วยสื่อสารประเด็นทางสังคมได้ องค์กรรู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับศิลปินทุกท่าน

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

ตั้งแต่คุณกอล์ฟ นนทวัทธ, ครูเซียง, คุณนักรบ, น้องมารีญา ที่ร่วมงานกันมาอย่างต่อเนื่อง ยังมีนิทรรศการของเยาวชน และกลุ่มอนัตตาด้วย

ทุกท่านมาร่วมกันตีโจทย์สวัสดิภาพไก่และออกแบบผลงานสะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ เชื่อมโยงมาถึงสุขภาพของมนุษย์”

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม

Cr. Kanok Shokjaratkul

มารีญา พูลเลิศลาภ ทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า วันนี้มาในนามทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกและศิลปิน

"มารีญาโชคดีที่ได้มาเจอกับกลุ่มพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ทำให้ได้ศึกษาเรียนรู้ขับเคลื่อนในเรื่องสำคัญ คือ สวัสดิภาพของสัตว์

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

มนุษย์ทุกคนบนโลกพึ่งพาสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าระบบนิเวศหรือการรับประทานอาหาร เราไม่ได้อยากให้หยุดกินเนื้อสัตว์ แต่อยากให้ทุกคนเริ่มคิดว่า เนื้อสัตว์ที่เรารับประทาน มันมีสวัสดิภาพอย่างไร

มารีญาได้ทำงานศิลปะร่วมกับคุณนักรบ ชื่อผลงานว่า 'The Last Suffer' เป็นรูปภาพพระเยซูรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย และพูดว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นในโลกของเรา

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก 

เราก็อยากให้ 'The Last Suffer' ของเรา ให้คนที่มานั่งรับประทานได้เห็นถึงสิ่งที่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์นำมาเลี้ยงไก่ ไก่ต้องผ่านอะไรมาบ้าง มันมีผลกระทบอะไรบ้าง

และหวังว่ามันจะเป็นจานสุดท้ายที่จะมีความทุกข์ทรมานแบบนี้ ในงานนี้มีงานศิลปะหลายชิ้นที่อยากให้ทุกคนไปชม และมีหลายรสชาติ เชิญมาดูงานของพวกเราด้วยนะคะ"

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

นักรบ มูลมานัส ศิลปิน นักปฏิรูปงานศิลปะ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมงานกับมารีญา

"เราติดตามมารีญาและภารกิจองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมาตลอด แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึก ทั้งองค์กรและคุณมารีญาได้ให้ข้อมูลเยอะมาก

งานศิลปะชิ้นนี้พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นประเด็นที่ยังไม่ได้พูดถึง รู้สึกดีมากที่ได้ทำประเด็นนี้ ข้อมูลและแรงบันดาลใจที่เราได้รับมามี 2 ข้อมูล คือ

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

1) ตั้งแต่ไก่เกิดจนสิ้นอายุขัย เขาอยู่บนพื้นที่แคบ ๆ ขนาดเท่ากระดาษA4 ไม่ได้ออกไปไหนหรือได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติเลย ก็เหมือนกับเราที่ไม่มีเสรีภาพที่จะไปไหนซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย

2) อายุขัยของไก่ตามธรรมชาติคือ 7 ปี แต่กระบวนการในฟาร์มทำให้เขามีอายุแค่ 40 วัน เราลดวงจรเขาลงไปด้วยสารเคมีและอะไรต่าง ๆ ซึ่งมีผลมาถึงมนุษย์

งานศิลปะชิ้นนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้สร้างความตระหนักรู้ให้กับคนหมู่มาก งานศิลปะนี้เราทำกันหลายคนมาก เราถือว่าเป็นงานกลุ่ม"

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

ครูเซียง หมอลำหุ่น คณะเด็กเทวดา กล่าวว่า หลังจากที่เราได้รู้ว่าไก่ในฟาร์มมันมีระยะเดินเท่ากับกระดาษ A4 ก็สร้างสรรค์งานนี้ขึ้นมา

"ผมอยู่ที่อิสาน ในชนบท อิจฉาไก่ มันมีอิสระ มันกระโดด มันบินขึ้นต้นไม้ พาลูกตัวเองไปคุ้ยเขี่ยกินได้ทุกที่ แต่พอมาดูไก่ที่เขาเลี้ยงในฟาร์มก็หดหู่มาก

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

มันมีขาก็เหมือนไม่มี เดินสั้น ๆ เหมือนไก่พิการ เดินไปนิดเดียวก็ล้ม กระดูกมันน่าจะอ่อนมาก เพราะเขาเลี้ยงให้หน้าอกใหญ่

งานศิลปะชิ้นนี้ เราเอาวัสดุในธรรมชาติ พวกสุ่มไก่ หญ้าคา ฟาง เอามาทำ ถ้าสังเกตจะเห็นว่าไก่ตัวนี้ตัวใหญ่แต่ขามันนิดเดียวเอง

ชวนกันมา ตะโกนร้อง ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ ปลดแอกไก่ฟาร์ม Cr. Kanok Shokjaratkul

เรารู้ว่าไก่ มันเป็นอาหารของเรา แต่ก่อนที่จะมาเป็นอาหาร ก็อยากให้ชีวิตมันดีกว่านี้ อย่างน้อยมันก็เป็นสัตว์ที่มีชีวิตเหมือนกับเรา อยากให้ทุกคนไปเขียนข้อความเกี่ยวกับไก่ อยากบอกอะไรบอกได้เลย"

งานศิลปะ ‘เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก’ จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร