ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ ‘สิทธิเด็ก’

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ในโรงเรียน ถือว่าเป็น “ก้าวสำคัญ” ของ “สิทธิเด็ก” เป็นการแก้ปัญหา “เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ” ในประเทศไทย

ไม่มีใครอยากเป็นเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ หรือไร้ตัวตน นั่นคือ สิทธิเด็ก ที่เด็กควรมี แต่เมื่อเลือกเกิดไม่ได้

เด็กกลุ่มหนึ่งจึงมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว ถูกลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐาน ความฝันถึงอนาคตไปได้ไม่ไกลนัก

“หนูไม่เคยมีบัตรอะไรเลย เวลาไปทำกิจกรรมที่ให้กรอกเลขประจำตัวหนูก็ไม่มีโอกาสเข้าร่วม เวลาจะเดินทางไปไหนก็กลัวถูกจับ”

เด็กหญิงน้ำฝน (นามสมมติ) วัย 14 ปี กล่าวด้วยสีหน้ากังวลใจ เธอเป็นบุตรสาวแรงงานข้ามชาติในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งยังไม่เคยมีหลักฐานยืนยันตัวตนในระบบทะเบียนราษฎรของประเทศไทยมาก่อน

วันนี้น้ำฝนเดินทางมาที่โรงเรียนบ้านต้นโชคที่อำเภอไชยปราการ เพื่อมาลงทะเบียนขอบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนผ่าน

โครงการ ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ หรือ Mobile Registration Unit ซึ่งดำเนินการโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับองค์กรแตร์ เด ซอม เยอรมัน (Terre des Hommes)

และเครือข่ายคุ้มครองเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสถานะให้แก่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวน 32,000 คนในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย

ระหว่างเดือนกันยายน 2564 ถึง พฤษภาคม 2565 อาสาสมัครห้องทะเบียนเคลื่อนที่จะเข้าไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน

เพื่อลงทะเบียน เตรียมความพร้อม จัดทำ และ รวบรวมเอกสารต่าง ๆ  ในการพัฒนาสถานะให้แก่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ 2 กลุ่ม เพื่อช่วยเหลือในด้าน สิทธิเด็ก กลุ่มแรกคือ เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในระบบโรงเรียน

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’

เกี่ยวกับ สิทธิเด็ก ถึงแม้เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการสำรวจในระบบโรงเรียน มีรหัสประจำตัวที่ขึ้นต้นด้วยตัว G (Generate) แต่พวกเขากลับไม่มีตัวตนทางกฎหมายของประเทศไทย

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’ เนื่องจากไม่ได้มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย นั่นคือ ไม่มีเลข 13 หลักนั่นเอง แม้เด็กกลุ่มนี้จะมีสิทธิในการศึกษา

แต่ก็ขาดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านอื่น ๆ เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล และสิทธิการเดินทาง พวกเขาไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่การศึกษาได้ยกเว้นได้รับอนุญาตจากอำเภอ

ส่วนเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เด็กไร้สัญชาติที่เป็นลูกหลานกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มนี้เกิดในประเทศไทย มีหลักฐานการเกิดและมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร คือมีเลข 13 หลัก แต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย

ซึ่งอาสาสมัครก็จะเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อม รวมรวมเอกสารและให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่เด็ก ๆ และครอบครัวในการขอสัญชาติไทย

หลังจากจัดทำและรวบรวมเอกสารต่าง ๆ แล้ว อาสาสมัครโครงการห้องทะเบียนเคลื่อนที่และโรงเรียนก็จะนำส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่อำเภอเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นการลดภาระงานของครูและเจ้าหน้าที่อำเภอ อีกทั้งทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ในการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็ก ๆ  รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

บ่ายวันนั้น น้ำฝนเขียนความฝันของเธอลงบนกระดาษระหว่างรอคิวจัดเตรียมเอกสารพร้อมกับเด็กคนอื่น ที่ตั้งหน้าตั้งตามารอลงทะเบียน 

“ตอนนี้ฉันเรียนอยู่ชั้น ม.2 ฉันอยากเรียนให้จบปริญญาตรี ฉันฝันอยากเป็นดารา นักเต้น หมอ อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากมีอาชีพที่

สามารถเลี้ยงครอบครัวให้สบายขึ้น อยากมีอาชีพอะไรก็ที่ทำให้เรามีความสุข ฉันมีความฝันหลายอย่าง และจะตั้งใจทำมันให้ได้”

แม่ของน้ำฝนที่มาพร้อมกับเธอวันนั้นบอกด้วยรอยยิ้มว่า “แม่ดีใจมากที่ลูกจะมีบัตรประจำตัว [ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน] เหมือนคนอื่น

เพราะเขาเป็นเด็กผู้หญิง แม่เป็นห่วงเขามาก กลัวถูกหลอก กลัวถูกจับ กลัวไปหมด ลูกเป็นเด็กเรียนดี ตั้งใจเรียน แม่ตั้งใจส่งให้เขาเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่แม่จะทำได้”

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’

ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น

เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อและได้รับสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ซึ่งรัฐต้องประกันสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีที่มีอยู่ระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ ทั้งหมดนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีประชากรที่ต้องตกอยู่ในภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยปี 2563 ระบุว่า มีบุคคลไร้สัญชาติมากกว่า 539,000 คนในประเทศไทย  ซึ่งเป็นเด็กราว 297,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 40

เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติต้องเผชิญกับข้อจำกัดมากมายในชีวิต ทั้งอุปสรรคด้านการศึกษา การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข การเดินทาง และปัญหาเรื่องการทำงานในอนาคต

รวมถึงสิทธิหรือสวัสดิการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ การถูกละเมิด การถูกแสวงผลประโยชน์ และการเลือกปฏิบัติ

ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการเติบโตและอนาคตของเด็กทั้งชีวิต” ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าว

ปริญญากล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยมีการพัฒนาไปมาก ซึ่งถือว่าก้าวหน้า ชัดเจน และครอบคลุมการแก้ปัญหาเด็กไร้สัญชาติในแต่ละกลุ่ม 

แต่แม้จะมีความพยายามอย่างหนักทั้งจากภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการและองค์กรระหว่างประเทศ

ที่ร่วมกันพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถยุติปัญหาลงได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’ เมื่อเดือนเมษายน 2564 ยูนิเซฟได้เผยแพร่การศึกษาฉบับใหม่ ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปี สถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515-2563)

(Invisible Lives: 48 Years of the Situation of Stateless Children in Thailand (1972-2020) ซึ่งจัดทำโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และได้รับการสนับสนุนของสหภาพยุโรปและยูนิเซฟ 

การศึกษาฉบับนี้ได้วิเคราะห์อุปสรรคที่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยต้องเผชิญในการพัฒนาสถานะและขอสัญชาติในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

พร้อมให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายและการปฏิบัติ ตลอดจนจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กระบวนการพัฒนาสถานะและสัญชาติไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ยูนิเซฟได้ออกแคมเปญรณรงค์ ชีวิตที่มีตัวตน (Lives Untold: Invisible No More) เพื่อให้ผู้คนในสังคมรับรู้และเข้าใจปัญหาที่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติต้องเผชิญมากขึ้น

การศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า  อุปสรรคของการพัฒนาสถานะของ เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยยังอยู่ที่ขั้นตอนการดำเนินงาน

โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการมีเจ้าหน้าที่และงบประมาณไม่เพียงพอ การกำหนดขั้นตอนที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น หรือการที่เจ้าหน้าที่บางคนยังมีทัศนคติเชิงลบต่อเด็กและบุคคลไร้สัญชาติ

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ ที่เกิดจากกลุ่มบุคคลไร้สัญชาติเอง เช่น พ่อแม่ไม่ทราบขั้นตอนการจดทะเบียนการเกิด ทำให้เด็กขาดหลักฐานการเกิด

หรือเด็กและครอบครัวขาดข้อมูลในการขอสถานะทางกฎหมายหรือการขอสัญชาติ หรือกลัวที่จะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’

ประสานความร่วมมือ เร่งพัฒนาสถานะบุคคล

ปัจจุบัน ประเทศไทยมี เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่อยู่ในระบบโรงเรียน (รหัสขึ้นต้นด้วย G) แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนราษฏรอยู่ราว 80,000 คน  ซึ่งเป็นเด็กที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน รวมกันราว 30,000 คน

ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรปและยูนิเซฟ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 โรงเรียน องค์กรท้องถิ่นและภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านนี้

ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding – MoU) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการลงทะเบียนและพัฒนาสถานะบุคคลให้แก่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ภาคเหนือ

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’ จิระชาติ ซื่อตระกูล นายอำเภอไชยปราการ ทำหน้าที่ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ ที่ว่าการอำเภอไชยปราการ กล่าวว่า

“ปัญหาเรื่องสถานะบุคคลที่ผ่านมาดำเนินงานล่าช้าเพราะต่างคนต่างทำงาน และแต่ละหน่วยงานก็มีภาระงานของตนเองหลายอย่าง ทำให้บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการทำงาน

การเซ็น MoU วันนี้ ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับเด็กที่จะได้รับ ไม่ไร้รัฐอีกต่อไป เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน”

ห้องทะเบียนเคลื่อนที่ ก้าวสำคัญ  ‘สิทธิเด็ก’

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและองค์กรภาคประจำสังคม 8 องค์กร รวมทั้งพยานพระภิกษุสงฆ์ที่หอประชุมอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการลงทะเบียนและพัฒนาสถานะบุคคลให้แก่เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ภาคเหนือ

สันติพงษ์ มูลฟอง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน และผู้ประสานงานโครงการฯ กล่าวว่า โครงการห้องทะเบียนเคลื่อนที่ชี้ให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันระหว่าง ครู เจ้าหน้าที่อำเภอ

และตัวแทนจากภาคประชาสังคมเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ มีโอกาสได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้เร็วยิ่งขึ้น โดยโรงเรียนจะทำหน้าที่เสมือนเป็น “เจ้าบ้าน”

ที่รับรองการมีตัวตนของเด็กในสถานศึกษาอย่างถูกกฎหมาย สร้างความไว้วางใจระหว่างครูและเด็ก ตลอดจนลดช่องโหว่จากการหาผลประโยชน์จากการทำบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน

โดยมีองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่มาช่วยจัดเตรียมเอกสารข้อมูลของเด็ก ๆ เพื่อส่งมอบให้ทางอำเภอเพื่อ พิจารณา และอนุมัติต่อไป

 “การร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้การทำงานเร็วขึ้น และผลประโยชน์จะตกอยู่กับเด็กที่จะได้รับการปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานมากขึ้น

รวมทั้งรัฐไทยเองก็สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคง” สันติพงษ์กล่าว

นายสุข จันทร์เสาร์ นายกสมาคมวิชาชีพครูอำเภอไชยปราการ และผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นโชคกล่าวด้วยรอยยิ้มเมื่อเห็นเด็กที่เคยลาออกกลางคันกลับคืนสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง

“การมีเลข 13 หลักจะทำให้เด็กมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น อย่างวันนี้มีเด็กบางคนขอกลับมาเรียนต่อ ทางโรงเรียนก็พร้อมให้เขากลับมาเรียน เพราะเขาจะได้มีความรู้ติดตัวมากขึ้น”

ภาพ ปฏิญญา ปัญญายศ