สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจบนท้องฟ้า ทั้งดาวเคียงเดือน ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ ให้ชมกันตลอดทั้งเดือนธันวาคมนี้ ส่งท้ายปี 2564

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.64 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า  เปิดโผปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

ในเดือนธันวาคมนี้ มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจบนท้องฟ้าให้ติดตามกันจำนวนมาก ปรากฏการณ์ที่โดดเด่น ได้แก่

  • 7 ธ.ค. 64 ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี ดาวศุกร์ปรากฏสว่างเด่นชัดทางทิศตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 20:00 น.
  • คืน 13 - รุ่งเช้า 14 ธ.ค. 64 ฝนดาวตกเจมินิดส์ อัตราการตกประมาณ 150 ดวง/ชั่วโมง สังเกตได้ชัดเจนที่สุดหลังเวลา 02:00 น. ของวันที่ 14 ธ.ค. จนถึงรุ่งเช้า ศูนย์กลางกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่
  • 19 ธ.ค. 64 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน
  • 21 ธ.ค. 64 วันเหมายัน เวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูร้อน

สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์สว่างให้ชมกันตลอดทั้งเดือน ได้แก่

  • 3 ธ.ค. 64 ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05:28 น. จนถึงรุ่งเช้า
  • 9 ธ.ค. 64 ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ถึงเวลาประมาณ 22:30 น.
  • 21 ธ.ค. 64 ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 20:10 น. จนถึงรุ่งเช้า
  • 28 ธ.ค. 64 ดาวอังคารเคียงดาวแอนทาเรส เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05:10 น. จนถึงรุ่งเช้า
  • 29 ธ.ค.64 ดาวพุธเคียงดาวศุกร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 18:50 น.

ทั้งนี้ หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆ สามารถรับชมด้วยตาเปล่าได้ทุกปรากฏการณ์

สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

สดร.เผยไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ท้องฟ้าน่าติดตามส่งท้ายปี 2564

 

 

ที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ