อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม "Circular Economy"

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม "Circular Economy"

"อนัฆ นวราช" ผู้ก่อตั้ง "Patom Organic Living" ร้านกาแฟ-ขนม และผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ปลอดสาร อยู่ใจกลางทองหล่อ ที่ต่อยอดผลผลิตอินทรีย์จากโครงการ “สามพรานโมเดล” สู่ผลิตภัณฑ์ปลอดสารในราคาที่จับต้องได้

ใคร ๆ ก็อยากกินอาหารปลอดสาร อยู่ในสิ่งแวดล้อมสะอาด อากาศดี แต่ชีวิต “ออร์แกนิค” ไม่ได้หากันง่าย ๆ...ต้องไขว่คว้า วันนี้มีผู้หยิบยื่นมาให้แล้ว อยู่ที่ว่าคุณจะเป็นแนวร่วมสร้าง “สังคมปลอดสาร” ไปด้วยกันหรือไม่

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"     อนัฆ นวราช

ทายาทรุ่นที่สาม ของ “สวนสามพราน” ผู้ก่อตั้ง Patom Organic Living (ปฐม ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง) คุณฟี่ - อนัฆ นวราช ชวนมาจิบกาแฟและเลือกซื้อผลผลิตปลอดสารได้ทุกวัน

สามพรานโมเดล เริ่มปี 2012 ผมกลับมาเมืองไทยแล้วครับ ตอนนั้นพี่ชาย (อรุษ นวราช) เริ่มสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ เรื่องเวลเนส เลยอยากให้โรงแรมสวนสามพราน มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร เริ่มจากหาวัตถุดิบอินทรีย์ ผักผลไม้ปลอดสารมาให้ตัวเองกิน ให้แขกและให้พนักงานกินด้วย กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการสามพรานโมเดล และ ตลาดสุขใจ

คุณฟี่ เล่าย้อนอดีต หลังจากไปศึกษาและทำงานอยู่ที่อเมริกาหลายปี

“ช่วงนั้นผมจำได้ว่า ก่อนเริ่มสามพรานโมเดล เราทำผลิตภัณฑ์ใช้ในห้องพักอยู่แล้ว พี่ผมทำเองครับ เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมดายังไม่ใช่ออร์แกนิค เขาคิดว่าอยากลองทำเอง แล้วพอเริ่ม สามพรานโมเดล ก็เห็นว่ามีวัตถุดิบอินทรีย์ที่เกษตรกรปลูก สามารถใช้เป็นส่วนผสมได้”

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"     คาเฟ่ ออร์แกนิค (ภาพ : Patom Organic Living)

จึงเป็นจุดเริ่มของ “ปฐม” คุณฟี่บอกว่า เป็นเหมือนแบรนด์ลูกของสวนสามพราน

“เมื่อเรารวมกลุ่มเกษตรกร และเปิด “ตลาดสุขใจ” ขายผลผลิตปลอดสาร เรารู้จักพืชที่ปลูกคนที่ปลูก และเข้ากับคอนเซปต์ของสามพรานโมเดล เลยลองทำดู ไม่ได้กะว่าจะขยายให้ใหญ่โต ตอนแรกทำใช้ในห้องพักก่อน เนื่องจากเรารู้แหล่งที่มาของวัตถุดิบก็ทำให้เรามั่นใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น ก็เลยทำใช้เอง ขายด้วย”

จาก สวนสามพราน นครปฐม (ที่มาของชื่อแบรนด์) สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนกรุง

“ตอนแรกผลิตขายหน้าหมู่บ้านปฐม และขายในโรงแรม ยังไม่มีร้านกาแฟ เผอิญมีพื้นที่อยู่หลังบ้านคุณยาย ในซอยทองหล่อ ที่ตรงนั้นยังไม่ได้ใช้ทำอะไร ผมเลยคิดว่าน่าจะมาเปิดร้านในกรุงเทพฯ จุดประสงค์คือ 1.บางคนที่ลืมสวนสามพรานไปแล้วก็จะมีสถานที่ในกรุงเทพให้คนนึกถึง  2.เกษตรกร จะมีจุดขายผลผลิตที่เรารับมา และ 3.เพื่อให้เข้าถึงคอนเซปต์ของเราคือ ให้ผู้บริโภครู้ถึงที่มาที่ไปของวัตถุดิบ ให้เกิดความเชื่อมั่น เช่น มีพื้นที่สีเขียวปลูกผักออร์แกนิค มีของกินของใช้ผลิตจากวัตถุดิบปลอดสาร”

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"    ผักปลอดสารในสามพรานโมเดล (ภาพ : ปฐม ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง)

วันนี้ ปฐม ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง เปิดมาครบ 4 ปี คอนเซปต์ชัดเจนเช่นนี้คนไทยเข้าถึงหรือไม่ คุณฟี่ให้ความเห็นว่า

“ลูกค้าเราใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจทั้งหมด บางคนมากินกาแฟ กินขนมบางทีมาถ่ายรูปเพราะเห็นว่าร้านสวย ซึ่ง เราก็ไม่ได้บังคับว่าทุกคนต้องเข้าใจนะครับ แต่เราก็จะมีลูกค้าอีกกลุ่มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือคนที่สนใจด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม เขาก็จะเข้าใจในสิ่งที่เราเสนอ เช่น อาหาร, ขนมไทย ใช้ใบตองอินทรีย์ กะทิอินทรีย์, ผลผลิตผักผลไม้อินทรีย์, ผลิตภัณฑ์ของใช้ บางอย่างออร์แกนิค 100% บางอย่าง 70% เป็นทางเลือกให้คนที่ต้องการใช้ของที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมี

ผมขอเล่าก่อนว่าแบรนด์ “ปฐม” หรือ “สามพรานโมเดล” หรือ “สวนสามพราน” เราแชร์เป้าหมายเดียวกันคือ อยากสร้างสังคมอินทรีย์ ขยายภาพที่เราทำเรื่องอินทรีย์ออกไปให้มากที่สุด การที่มีลูกค้ามาหาเราไม่ว่าจะที่ร้าน “ปฐม” หรือที่สวนสามพราน, ตลาดสุขใจ มาเจอเกษตรกร ก็ทำให้เราขยายเป้าเรื่องการสร้างสังคมอินทรีย์ได้ ลูกค้าบางทีมาร้าน “ปฐม” เป็นเด็ก ๆ มาสัก 10 คน ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่มากินกาแฟ มาถ่ายรูป มานั่งเล่น แต่ถ้ามีสัก 1-2 คน กลับไปแล้วสนใจอยากปลูกผักอินทรีย์ หรือทำมากกว่านั้น ผมถือว่าเป็นการขยายเป้าหมายของเราแล้ว

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"     อาหาร-ขนมในร้าน Patom Organic Living

เพราะการทำออร์แกนิคมีความ “นิช” (Niche Market – ตลาดเฉพาะกลุ่ม) ที่คนส่วนน้อยจะเข้าใจ เราคิดว่าคนที่เข้ามาหาเราไม่มากก็น้อยสนใจเรื่องที่เราทำอยู่ สมมุติเข้ามา 10 คน สิบในสองคนเข้าใจก็โอเค หรือ หนึ่งในสิบก็ยังโอเคเลยครับ คือเป็นหนึ่งคนที่สามารถไปเปลี่ยนครอบครัว เปลี่ยนเพื่อน เราไม่เคยมีตัวเลขว่าต้องได้กี่คน ไม่เคยคิด”

คาเฟ่ร้าน “ปฐม” มีกาแฟ-เครื่องดื่มหลากหลาย ขนมไทย ผลผลิตปลอดสาร มีที่นั่งสบาย ๆ มีสวนผักให้ชม คาเฟ่อยู่ในเรือนกรุกระจกใส ลูกค้าต้องบริการตัวเองตอนสั่งอาหาร และแยกขยะหลังรับประทาน มีจุดแยกขยะให้ เช่น ขยะเศษอาหาร, พลาสติก, แก้ว ฯลฯ เพื่อคัดแยกแล้วไปสู่กระบวนการรีไซเคิล คอนเซปต์เช่นนี้เข้าถึงลูกค้าได้แค่ไหน คนก่อตั้งร้านบอกว่า

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\" อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"   คาเฟ่บริการตัวเอง (ภาพ : Patom Organic Living)

“ถ้าจะวัดจากพฤติกรรมลูกค้าอาจจะยาก แต่ลูกค้าประจำเรามีแน่ ๆ ผมเห็นว่าเขากลับมารีจิสเตอร์อีก หรือตอนทำสื่อออนไลน์ ทำแคมเปญ เล่นเกม มีคนตอบรับเยอะ เช่น ขนมตะโก้ เมื่อซื้อ 1 กล่อง แถมดอกไม้อินทรีย์ (วันแม่) 1 ช่อ เราบอกว่าทำได้ 50 ชุดต่อวัน แค่เปิดขาย 3-4 ชม. คนซื้อหมดเลย 50 กล่อง แล้วโอนเงินมาเลย ทำให้เห็นว่าคนยังต้องการอะไรที่เป็นธรรมชาติ ให้ความสนใจกับสารที่เราสื่อออกไปเร็วเหมือนกัน

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"    ผลิตภัณฑ์ปลอดสารแบรนด์ Patom

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ คนอาจคิดว่า สินค้า ออร์แกนิค ราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไป ผมว่าไม่จำเป็นต้องสูงกว่า ถ้าเทียบกับตลาดสุขใจ ผักผลไม้ที่นั่นไม่แพงกว่าตลาดที่อื่นหรือแพงกว่าในซูเปอร์เลย เพราะเขาขายตรง ราคาเป็นธรรมมาก แล้วพอเราเริ่มต้นด้วยวัตถุดิบที่ราคาไม่สูง เมื่อนำมาแปรรูป ทำขนม ทำอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็ทำให้ราคาเราไม่ได้สูงตามไปด้วย

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\" ที่สำคัญเราทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากที่เรารู้จักเกษตรกร บางอย่างก็ปลูกเองที่ฟาร์มสวนสามพราน จึงมั่นใจในวัตถุดิบและมั่นใจในราคา คือกลางน้ำ เรามีโรงงานที่ผลิตเอง มีครัวทำเบเกอรี่ มีโรงงานที่ได้จีเอ็มพี ได้ อย.ควบคุมคุณภาพ ปลายน้ำเราขายเองที่ร้าน แต่เนื่องจากราคาจากวัตถุดิบที่ไม่ได้สูงตั้งแต่แรก จึงไม่ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์โดดเกินไป เราไม่แพงกว่าแน่ ๆ เช่น แชมพู 300 ml. ถ้าเทียบในตลาด ของเรา ml.ละบาทกว่า ๆ ถือว่าราคากลาง ๆ มาก เมื่อเทียบว่าเป็นออร์แกนิค ความตั้งใจของเราคือ อยากทำผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารและสามารถซื้อใช้ได้ทุกวัน เป็น daily used ที่จับต้องได้

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"   QR Code สำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ

และตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) เช่น อยากรู้ว่าแชมพูกุหลาบ เอาน้ำกลั่นกุหลาบมาจากไหน ไปดูที่สวนสามพราน หรือไปดูเกษตรกร เรามีฟาร์มออร์แกนิคของโรงแรม เนื้อที่ 30 ไร่ เสาร์อาทิตย์เปิดให้คนเข้าชมวิถีอินทรย์ เราปลูกยังไง จัดกิจกรรมชมฟาร์มเรียกว่า “หมู่บ้านปฐม” เป็นหมู่บ้านแปรรูป จะพาเด็ก ๆ ครอบครัวไปเรียนรู้ ไปดำนา ปลูกผัก แปรรูปสบู่ ทำน้ำมันสมุนไพร ฯลฯ เพื่อให้คนที่เลือกซื้อของเราเห็นและเข้าใจว่า ของพวกนี้มีที่มาอย่างไร”

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\" อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"      อาหารในร้าน Patom

สังคม ออร์แกนิค เกิดขึ้นแล้ว แต่จำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นสมดังที่คนทำตั้งใจหรือไม่

“ตอนนี้ผมไม่มีข้อมูลว่าคนบริโภคสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นหรือเปล่า แต่ผมเห็นคนขายเยอะขึ้นนะครับ มีทั้งร้านอาหาร ของใช้ของกิน ผมว่าตลาดโตขึ้นจากเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเรียกว่าเป็นเทรนด์มั้ย ก็ได้นะ แต่เป็นเทรนด์ที่น่าจะยั่งยืนเพราะคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ในแง่ผู้ประกอบการผมว่าเราดีขึ้น มีคนขายเยอะขึ้นก็ช่วยขยายตลาดไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งเลย อีกอย่างเมื่อเมืองไทยมีสินค้าออร์แกนิคมากขึ้นเราก็ขยาย Awareness มากขึ้น และเราทำให้รู้ว่า ออร์แกนิคไม่จำเป็นต้องแพงหรือเป็นของนอก

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"    Patom Organic Living คาเฟ่ใจกลางทองหล่อ

ผมว่าเรากำลังเข้าสู่สังคม Circular Economy ด้วยเหมือนกัน อย่างสิ่งที่เราทำ เรานำเงิน 3% จากยอดขายต่อปีมอบให้ “มูลนิธิสังคมสุขใจ” แล้วมูลนิธิฯ ก็เอาเงินไปขับเคลื่อนสามพรานโมเดลต่อ ผมว่าสิ่งนี้คือ Circular เพราะลูกค้ามาซื้อของเราก็นำเงินก้อนนี้ไปพัฒนาต้นน้ำ ทำงานกับเกษตรกร ไม่ได้เอาเงินไปช่วยนะแต่เอาไปขับเคลื่อน เงินบริจาคส่วนหนึ่งกลับคืนสู่ต้นน้ำ คนต้นน้ำก็ปลูก เกิดรายได้หมุนเวียน

เรื่องรีไซเคิล อัพไซเคิล เราก็ทำ เช่นแนะนำเรื่องการแยกขยะ ลดขยะ อีกอย่างเวลาเราทำโปรเจคกับใคร เราพยายามสร้างแนวคิด Circular ไปด้วย เช่น จีซี ที่ระยอง เกษตรกรปลูกผลผลิต เรานำมาแปรรูป พอขายไป จีซีก็พร้อมมอบรายได้ 10% กลับสู่ต้นน้ำ”

สังคมออร์แกนิคเกิดขึ้นได้ พร้อมผลักดันให้เกิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ทุกเรื่องทำได้แม้โควิด-19 มาเยือน

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\" “ช่วงโรคระบาดเศรษฐกิจไม่ดี แล้วสังคมอย่างที่เราหวังไว้จะไปต่อได้มั้ย ผมคิดว่ามี 2 ทางครับ เช่น บางคนบอกสินค้าปลอดสารราคาแพง หาซื้อยาก เศรษฐกิจก็ไม่ดีไม่ไปดีกว่า แต่คนอีกจำนวนหนึ่งบอกว่า ยิ่งเกิดโรคระบาดยิ่งต้องรักษาสุขภาพ อะไรที่ทำให้เราปลอดภัย สุขภาพดีขึ้น เพราะตอนนี้คนอาจ  Work from Home เราไม่ต้องเสียสตางค์ค่ารถ ไม่ต้องขับรถไปทำงานหรือไปเที่ยว แต่มาดูแลสุขภาพดีกว่า ก็จะเลือกซื้อของออร์แกนิค หรือของใช้ของกินที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

อยากบอกว่า ใครซื้อผักปลอดสารแล้วราคาแพงกว่าท้องตลาดทั่วไป อยากลองให้มาที่ “ตลาดสุขใจ” เรามีบริการในแพลตฟอร์ม Thai Organic โดยมูลนิธิสังคมสุขใจ สามารถสั่งซื้อผลผลิตจากตลาดสุขใจได้ และทุกวันเสาร์-อาทิตย์จะมาส่งที่ร้านปฐม เราซื้อตรงจากเกษตรกร ราคาไม่แพง ส่งถึงบ้านหรือมารับเอง แค่นั้นเลย ผมว่าง่ายมาก

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\"    ผักปลอดสารสั่งซื้อได้

ร้าน “ปฐม” ยังมีกฎเหล็กสำคัญอีกอย่างคือ เรามีของออร์แกนิคที่นอกเหนือจากตลาดสุขใจ เราจะเชื่อมั่นได้ยังไง เรามีทีมสามพรานโมเดลไปตรวจก่อน  ไปลงพื้นที่ดูเลยจะได้มั่นใจ ต้องผ่านทีมตรวจว่าเป็นสแตนดาร์ดเดียวกันกับที่เราต้องการ  เช่น กาแฟอยู่ภาคเหนือ เราขอไปตรวจ เมื่อเข้าใจกันแล้วเราก็เอามาขายได้ ส่วนใหญ่เป็นของกินที่บางอย่างเราไม่ได้ทำเอง หรือวัตถุดิบที่เราจะนำมาใช้ก็ขอให้ผ่านการตรวจจากสามพรานโมเดลก่อน อีกเคสเป็นพวกเบเกอรี่ เราส่งวัตถุดิบให้หรือให้เขาซื้อผลผลิตจากตลาดสุขใจ เช่น กล้วย ผักผลไม้ ซื้อเสร็จเขาเอาไปทำขนมแล้วกลับมาให้เราขาย เป็นอีกโมเดลหนึ่งที่ไว้ใจกัน เป็นกฎที่เราตั้งไว้ ถ้าเขาทำได้เราก็เป็นคู่ค้ากัน

อนัฆ นวราช ขับเคลื่อนคาเฟ่ออร์แกนิค...สู่สังคม \"Circular Economy\" ผมว่าทุกคนมีทางเลือก และเราทำได้ สินค้าออร์แกนิคไม่ได้แพงเกินเอื้อมจนซื้อไม่ได้”

ชีวิตปลอดสารทุกคนทำได้ และ สังคมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ก็ไม่ใช่โลกในยูโทเปียอีกต่อไป แค่ลงมือทำ...

Patom Organic Living (ปฐม ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง) ร้านคาเฟ่และสินค้าปลอดสาร ก่อตั้งโดย อนัฆ นวราช

จำหน่าย : กาแฟ เครื่องดื่ม อาหาร เบเกอรี่ ขนมไทยโบราณ ผักผลไม้ออร์แกนิคจากตลาดสุขใจ ผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้าน เช่น สบู่ แชมพู เจลอาบน้ำ น้ำมันนวด น้ำแร่กุหลาบมอญ ธูปหอม ฯลฯ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ผลิตจากวัตถุดิบอินทรีย์ กลิ่นมะนาว ตะไคร้ เปปเปอร์มิ้นท์, ผักสดจากฟาร์มตามฤดูกาล (กำละ 30 บาท), ต้นฟ้าทะลายโจร ฯลฯ

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 9/2 ทองหล่อ 49/6  โทร.09 8259 7514  FB: Patom, เว็บไซต์http://www.patom.com