ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

ประวัติ ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เสี่ยงต่อการสูญหาย

เปิดประวัติ "ผ้ามุกนครพนม" ผ้ายกมุก ผ้าโบราณ ชาติพันธ์ุไทย-ลาว มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ 2566 งานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2566 ด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดนครพนม

ผ้ามุก หรือ ผ้ายกมุก เป็นผ้าโบราณ สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเฉพาะชาติพันธ์ุไทย-ลาว เป็นผ้าที่มีลวดลายสวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีกรรมวิธีการทอค่อนข้างยาก

 

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 

นิยมใช้ในโอกาสสำคัญและใช้กับบุคคลสำคัญ เช่น พระภิกษุ ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ โบราณ ทำเป็นผ้าประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ใช้แสดงฐานะทางสังคม แต่ด้วยกรรมวิธีการทอที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้ปัจจุบันพบเห็นผ้ามุกโบราณในชุมชนเพียงไม่กี่ผืน

ในยุคปัจจุบัน มีการออกแบบผ้ามุกให้ทันสมัยเข้ากับยุคมากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ของลวดลายไว้ ปัจจุบันพัฒนาให้มีหลากสี โดยเฉพาะผ้าจ่องมุกที่นำมาตัดเสื้อ ทำเป็นกระเป๋า และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

ประวัติ "ผ้ามุกนครพนม" ผ้าโบราณ ชาติพันธุ์ไท-ลาว มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ 2566

ผ้ามุกนครพนม นับจากยุคที่มีการย้ายถิ่นฐานของผู้คนในสมัยอาณาจักศรีโคตรบูร ที่อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ โขง ข้ามมายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชาวลาวส่วนหนึ่งที่มีทั้งชนเผ่าลาว ผู้ไทย กะเลิง ไทกวน ไทญ้อ ได้อพยพมา ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นระยะๆ มีชาวลาวส่วนหนึ่งอพยพมาจากเกาะตอนโดน ฝั่งประเทศลาวหรือสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน 

โดยได้นำหัตถกรรมพื้นถิ่น “การทอผ้ามุก (ลายยกมุก)” มาสืบสานถักทอ อยู่ที่ หมู่บ้านกกต้อง หมู่ที่ 8 ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 

 

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 

นางสุดใจ อินธิโส ครู ภูมิปัญญาการทอผ้ามุกนครพนม เล่าว่า “ผู้ที่นำศิลปะการทอผ้ามุก มาเผยแพร่และขยายผลที่จังหวัดนครพนม เป็นคนแรก คือ นางทองคำ ก็กาศ 

ซึ่งได้เรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญาการทอผ้ามุกมาจากบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ที่ หมู่บ้านดอนโดน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

ท่านเจ้าคุณพระราช สิริวัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดสว่างสุวรรณาราม อำเภอเมืองนครพนม เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2533 ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสว่างสุวรรณาราม เห็นนางเทียบ และนางเตาะ ภรรยาข้าราชการในหมู่บ้านกกต้อง 

สวมเสื้อผ้ามีลวดลายงดงามแปลกตา เข้าไปทำบุญที่วัดจึงเกิดความสนใจในลวดลายอันเป็นแบบพื้นบ้าน จึงถามที่มาของแหล่งผ้าและผู้ทอ จนได้ทราบว่า ผู้ทอผ้าคือ นางสุดใจ อินธิโส ชาวบ้านกกต้องนั่นเอง 

 

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 

ท่าน พระครูศรีวชิรากร (ปัจจุบันคือ พระราชสิริวัฒน์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดสว่างสุวรรณาราม) ได้เชิญนางสุดใจ อินธิโส ให้ไปเป็นครูภูมิปัญญา ศิลปะการทอผ้ามุก ในปี พ.ศ. 2541 
 

ทั้งนี้ นายนาวิน ขันธหิรัญ ผู้ว่า ราชการจังหวัดนครพนม ได้ประกาศให้ผ้ามุก เป็นผ้าประจำจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เรียกชื่อว่า “ผ้ามุกนครพนม” 

ความหมายของลายผ้า ผ้ามุก นับว่าเป็นผ้าชั้นสูง ผู้ที่จะมีโอกาสได้สวมใส่ต้องเป็นภริยาของเจ้านาย ชั้นปกครองบ้านเมือง หรือเป็นข้าราชการ พบเห็นข้าราชการครูของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก็ทำเป็นชุดราชการผ้ามุก 

 

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 

นอกจากนั้นบุคคลสำคัญของประเทศภูฎาน ก็ใช้ผ้ามุกเป็นอาภรณ์สวมใส่ประดับกาย เป็นต้น 

ถือว่าผ้ามุกเป็นผ้าชั้นสูง ก็เพราะจากความเชื่อที่เห็นเครื่องใช้ ลายมุกล้วนแต่เป็นเครื่องใช้ชั้นสูง มีความสำคัญในตัวเอง เช่น โต๊ะหมู่บูชาฝังมุก พานแว่นฟ้าฝังมุก พัดยศที่มีด้ามฝังลายมุก ฝักดาบเจ้าเมืองที่มี การฝังมุก เป็นต้น 

แนวคิดการคัดเลือก ความเป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของผ้ามุกนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับความงามของ ผู้คนทางอีสาน เขาว่า “งามลึก” คืองามไปถึงภายในไม่ใช่งามผิวเผินแต่เพียงภายนอกที่พบเห็น 

ผ้ามุก ที่ดีจะมีความละเอียด บรรจงในลวดลายที่ทอได้นั้น ผู้ทอจะต้องเป็นผู้มีสมาธิ มีสติ พร้อมที่จะทอ หากช่างทอคนใดไม่ มีสมาธิ หรือจิตใจไม่ปกติจะไม่สามารถถักทอผ้ามุกให้ได้ลายสม่ำเสมอได้ ความละเอียดอ่อนวิจิตรบรรจงของ ลายผ้าจะขาดหายไป จึงอาจเรียกได้ว่าผ้ามุก เป็นผ้าลายที่มีชีวิต

 

ผ้ามุกนครพนม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 

อ้างอิง-ภาพ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม , กรมส่งเสริมวัฒนธรรม , Amazing Thailand