ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ในวาระครบรอบ 190 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการ "Weaving Our Stories:สานสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ -ไทย 190 ปี ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย นิทรรศการ “Weaving Our Stories : สานสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย 190 ปี อแมนด้า พึ่งโพธิปักขิยะ ศิลปินลูกครึ่งไทยอินโดนีเซีย เป็นผู้รังสรรค์ผลงานในรูปแบบศิลปะจัดวาง ที่มีชื่อว่า  "Time Owes Us Remembrance กาลเวลาคืนค่าหวนรำลึก" โดยเธอเล่าว่า 

"ผลงานนี้เป็นอนุสรณ์ของประวัติศาสตร์ เกิดการพูดคุยกันระหว่างช่างศิลป์ กลุ่มสตรีหลายๆ ท่าน จาก 42 ชุมชนทั่วประเทศที่ได้แบ่งปันความเมตตาแก่ดิฉัน ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่ามือใหม่ เมื่อดิฉันไปอีสาน ได้พบกับป้า แม่ๆ คุณย่าคุณยายที่นั่น พวกท่านสอนทำผ้ามัดหมี่ ยากมาก ด้วยความกรุณาและความอดทนทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ และอยากแบ่งปันความรู้กับคนที่กรุงเทพฯ รวมทั้งคนที่บรูกลินด้วย 

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

กระทั่งตอนที่ตัวเองจะสร้างสรรค์ผลงานออกเป็นแบบไหน ก็พูดคุยกับแม่ๆ ที่ภาคเหนือ มีคำพูดที่ว่า ผ้ามีชีวิต ทำให้ดิฉันรู้ตัวตั้งแต่ตอนนั้น ว่าต้องการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากมือของมนุษย์ที่อาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นผ้าที่สัมผัสบ่งบอกและกระซิบเรื่องราวต่างๆ 

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายดูผลงานแล้ว จะเห็นและรู้สึกถึงน้ำตก ทุ่งนา ท้องทะเล ป่าดงพงไพร แม่ๆ บอกว่าจิตวิญญาณของพวกเราอยู่ในป่า แม่น้ำ และลวดลายบนผืนผ้าจึงเกิดมาจากสิ่งเหล่านี้ผ่านการถักทอเส้นด้ายล้านๆ เส้น จิตวิญญาณของชุมชนที่ทำให้เกิดเป็นผลงาน พบกับความรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ในผลงานชิ้นนี้"

นอกจากอแมนด้านำภูมิปัญญาของไทยจากทั่วภูมิภาคที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน รวมทั้งนำวัสดุเหลือทิ้งจากการผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นจากโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ มาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะแล้ว ยังนำการทำผ้าแบบโยโย่ควิลท์ เป็นเทคนิคแบบโบราณที่ก่อกำเนิดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปีค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463-2472) มาผสานเข้ากับผลงานขนาดใหญ่ ติดตั้งภายในหอศิลป์กทม.

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ทั้งนี้ การทำผ้าเทคนิคโยโย่ควิลท์ คือการนำผ้าชิ้นเล็กๆ ทรงกลมมาเนาตามเส้นรอบวง จากนั้นดึงเส้นด้ายเพื่อรูดขอบผ้าเข้าหากันจนแบน เกิดเป็นดอกกุหลาบทรงกลม ได้รับความนิยมในกลุ่มสตรีอเมริกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา เนื่องจากต้องการประหยัดเงินมักทำโยโย่จากเศษผ้า ผ้าผู้ที่นอนเก่า หรือผ้ากระสอบเหลือใช้ แล้วนำผ้าโยโย่ชิ้นเล็กๆ นี้ มาเย็บติดกันเป็นชิ้นงานสำหรับตกแต่งสิ่งต่างๆ อย่างน่าทึ่ง 

"ตอนสร้างผลงานนี้ แม่ๆ เหล่านั้น ทอผ้าให้อแมนด้าเห็น นึกถึงตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก ที่แม่ของดิฉันเคยสอนให้ทำ ซึ่งวัฒนธรรมของสองประเทศ เกิดการข้ามมหาสมุทร สามารถที่จะสื่อถึงการแบ่งปันกันได้อย่างไม่มีพรมแดน เกิดเป็นสิ่งสวยงามในผลงานนี้จากการใช้เทคนิคหลายๆ อย่าง แต่ทุกอย่างผสมผสานกันอย่างลงตัว" 

อแมนด้ากล่าวด้วยความภาคภูมิใจ ซึ่งในวันเปิดนิทรรศการดังกล่าว ตัวแทนจากกลุ่มสตรีทอผ้า 42 ชุมชน ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะจัดวาง เดินทางมาร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมทั้งร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการสำหรับสาธารณชน ซึ่งทุกคนปลาบปลื้มกับความสำเร็จในครั้งนี้    

เกี่ยวกับประวัติของอแมนด้า พึ่งโพธิปักขิยะ ศิลปินสาวลูกครึ่งเชื้อสายไทยอินโดนีเซีย กำเนิดในสหรัฐอเมริกา เคยมีผลงานจัดแสดงในนิวยอร์คและซานฟรานซิสโกผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ และมีผลงานอยู่ในคอลเลกชันถาวรที่พิพิธภัณฑ์ Museum of the City of New York พิพิธภัณฑ์ Goldwell Open Air Museum หอสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ พิพิธภัณฑ์ Museum of Chinese in America และพิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert Museum ในลอนดอน

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ในปี 2566 เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านศิลปะและมนุษยศาสตร์ของประธานาธิบดีไบเดน ในการให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีในการใช้ศิลปะส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน 

ที่ผ่านมา เธอเคยทำโครงการศิลปะร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยวาดภาพบนกำแพงสถานเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่นั่นเอง อแมนด้าพบกับเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทยในระหว่างช่วยกันสร้างสรรค์งานครั้งสำคัญ และพูดคุยถึงงานที่สะท้อนความเป็นสหรัฐฯ-ไทย

จึงเป็นที่มาของการจัดแสดงงานนิทรรศการ “Weaving Our Strries : สานสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย 190 ปี ในผลงานศิลปะจัดวาง ที่มีชื่อว่า ”Time Owes Us Remembrance กาลเวลาㆍคืนค่าㆍหวนรำลึก ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย เปรียบเสมือนผ้าที่ถักทอความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม การค้า การลงทุน ความมั่นคง ด้านสาธารณสุข สุขภาพ หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชน ในทางกลับกัน กลุ่มสตรีทอผ้าของไทยยังได้รับการยกย่องเชิดชู สร้างการรับรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าความเป็นศิลปินท้องถิ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถผ่านนิทรรศการดังกล่าวนี้  

ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "Weaving Our Stories : สานสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย 190 ปี ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2567 โดยสามารถเข้าชมวันอังคารถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) เวลา 10.00 น. - 20.00 น.

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย

ผ้าทอสานสัมพันธไมตรี 190 ปี สหรัฐฯ-ไทย