'ซีอีโอ'รุ่นใหม่เปิดแนวคิด การทำงานดั้งเดิม’ล้าสมัย’ใช้ไม่ได้กับยุคนี้

'ซีอีโอ'รุ่นใหม่เปิดแนวคิด การทำงานดั้งเดิม’ล้าสมัย’ใช้ไม่ได้กับยุคนี้

เจาะเบื้องหลังความสำเร็จของบริษัท’ฟินเทค’ไทย ของ’บิทาซซ่า’สไตล์การทำงานบริษัทยุคใหม่ ที่ต้องสะท้อนมายเซทตั้งแต่รูปแบบการทำงานสู่’ภาพลักษณ์’องค์กร

“Work life balance” ที่เป็นภาพเก่าในยุคก่อน หลายคนต่างตั้งคำถามและหาคำนิยามให้กับคำคำนี้ มันอาจไม่ได้สำคัญมาตั้งแต่แรก เพราะการทำงานในยุคนี้ควรเป็น “น้ำหนึ่งเดียวกัน” และควรเข้าใจความหมายของ “work life integration” การปรับการใช้ชีวิตและการทำงานเข้ามาหากัน เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ด้วย

“วัฒนธรรมองค์กร” เป็นเรื่องสำคัญ ในการสะท้อนวิสัยทัศน์ขององค์กรตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก นั่นคือภาพลักษณ์ของบริษัท ทำให้การทงานแบบเดิมๆอาจใช้ไม่ได้กับยุคนี้ 

 อาร์ท-กวิน พงษ์พันธ์เดชา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทาซซ่า จำกัด หรือ Bitazza บริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย หนึ่งใน “สตาร์ตอัปฟินเทค” สัญชาติไทย เผยรูปแบบการทำงานขององค์กรเล็กๆที่ขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่สู่ความสำเร็จในฐานนะผู้ที่อยู่รอดในตลาด”คริปโท

“ผมเชื่อเรื่องของ Freedom begin here อิสรภาพเริ่มต้นที่นี่ คือสิ่งที่บริษัทยึดถือไว้หรับการทำธุรกิจในโลกเทคโนโลยี”

  • ประตูบานแรกในการสื่อสารกับลูกค้า

การจะก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกเว็บ 3.0 ได้ สู่การบริการและผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น ระบบการทำงานภายในองค์กรจึงเป็น “ประตูบานแรก” ในการสื่อสารวิสัยทัศน์จากภายในองค์กรสู่ภายนอกองค์กรที่เป็นภาพลักษณ์ให้แก่ลูกค้า

นอกเหนือจากการมองเห็นลูกค้ามีความสุขกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้นำเสนอแล้ว Stakeholders ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนบริษัท คือกำลังคนในการทำงานเพื่อตอบโจทย์ และเป้าหมายของบริษัท 

ดึงดูดคนเก่งด้วยอะไร?

ดังนั้นผมในฐานะซีอีโอจะต้องเรียนรู้พฤติกรรมและเข้าใจพนักงานว่าควรจะต้องปรับองค์กรให้เข้ากับหลายสไตล์ของคนทำงานรุ่นใหม่อย่างไร จึงจะสามารถดึงดูด”คนเก่ง”เข้ามาทำงานในบริษัทได้ โดยที่คนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศก็ได้เช่นกัน และเปิดโอกาสสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปในอนาคตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีได้ 

ย้อนไปในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา รูปแบบการทำงานของบริษัทเปลี่ยนไปจากการเข้าออฟฟิศสู่การwork from home หรือ work from anywhere ทำให้คิดต่อหลังจากนั้นว่า จะทำอย่างไรหากหมดยุคโคดวืดแล้วเนื่องจากบริษัทไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวันและสนับสนุนการทำงานแบบเวิร์คฟอร์มแอนนี่แวร์

“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าสังเกต”พฤติกรรม”ของคนในองค์กร ท่ามกลางการแพร่ระบาดที่ต้องทำงานที่บ้าน ในขณะเดียวกันคนในที่ทำงานต่างจับกลุ่มออกมาพูดคุยตามความชอบ เช่น นัดกันไป co-working spaces กินกาแฟ ออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ 

จึงมีการสร้างพื้นที่ตรงกลางขึ้นมา เรียกว่า “คลับเฮ้าส์” เป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ถูกใช้งานจากคนภายในมากกว่าที่คิดมีการอำนวยความสะดวกอาหารเครื่องดื่ม และกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นการผ่อนคลายและให้ทุกๆคนใช้เวลาร่วมกัน

รวมทั้งการต่อยอดสร้างคลับเฮ้าส์ในต่างประเทศในขณะที่ธุรกิจเริ่มขยายสู่ต่างประเทศ มีการRotation program ไปทำงานตามคลับเฮ้าส์ในต่างประเทศ เพื่อสร้างรูปแบบการทำงานที่แปลกใหม่ ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งให้กับพนักงานในการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศสักครั้งในชีวิต

จุดเริ่มต้นที่ไม่เหมือนใครตั้งแต่วันแรกในการเริ่มทำธุรกิจ บิทาซซ่ายื่นขอใบอนุญาติในฉบับภาษาอังกฤษ รวมถึงไวท์เปเปอร์ผลิตภัณฑ์ด้วย เพราะเชื่อว่าการจะโกอินเตอร์ ต้องพูดภาษาอินเตอร์ให้ได้ก่อน ภายในองค์กรส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักและใช้เป็นภาษาหลักในการสื่อสารภายในทั้งในเวลาประชุมเพื่อสโคปความเข้าใจทุกคนให้ตรงกัน 

วันหยุดก็ยังอยากทำงาน

เมื่อบริษัทเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้ากับหลายสไตล์ของคนมากขึ้น สังเกตได้ว่าคนที่ทำงานให้กับบริษัทเต็มที่มากขึ้น โดยไม่ได้แยกเรื่องส่วนตัวออกจากการทำงาน เป็นการใช้ชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสังคม มีความสุขในการทำงานที่จะส่งพลังบวกมากที่สุด สังเกตจากพนักงานบางคนก็ยังทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ 

“อย่างตัวผมเองในฐานะ ซีอีโอที่พึ่งเป็นคุณพ่อมือใหม่ การทำงานแบบนี้ทำให้ผมสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งการทำงานในองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายของธุรกิจได้และการทำงานในหน้าที่ของผู้ปกครองในช่วงเวลาที่เด็กคนนึงกำลังเติบโต ถือเป็นการตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ “ กวิน กล่าวทิ้งท้าย