7 สาเหตุการลาออก ก่อนจะเป็นเศรษฐีในวันนี้!

7 สาเหตุการลาออก ก่อนจะเป็นเศรษฐีในวันนี้!

ส่องสาเหตุการลาออกของเหล่า “เศรษฐี” หลายร้อยคนที่เคยให้สัมภาษณ์กับ ทอม คอร์ลีย์ นักบัญชี นักวางแผนการเงิน ย้อนกลับไปตอนที่ตัดสินใจ “ลาออก” จากงาน ก่อนสร้างความสำเร็จในชีวิต

ถ้าไม่ได้ลาออก คงไม่ได้เป็นเศรษฐี! ย้อนดูประสบการณ์ของเหล่ามหาเศรษฐีก่อนร่ำรวยแบบทุกวันนี้ จากปากคำของ ทอม คอร์ลีย์ นักบัญชี นักวางแผนการเงิน ผู้สัมภาษณ์เหล่ามหาเศรษฐีทั่วโลก 223 คนเพื่อศึกษาวิธีคิดและนิสัยของคนเหล่านั้น 

คอร์ลีย์พบว่า แม้เศรษฐีเหล่านี้จะประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน ทั้งเป็นเจ้าของธุรกิจ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือแม้แต่ยังทำงานเต็มเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือ เมื่อถึงจุดสูงสุดในตำแหน่งหน้าที่การงานแล้ว พวกเขาจะลาออกจากงาน เพื่อไปสร้างความมั่นคง และแสวงหาความสำเร็จในชีวิต บางคนลาออกไปเพื่อทำธุรกิจของตนเอง บางคนได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าจากบริษัทอื่น 

เมื่อเจาะไปที่ “สัญญาณเตือน” ให้พวกเขารู้ว่า ถึงเวลาต้องไป “เติบโต” ที่อื่นแล้วมีด้วยกันหลายข้อดังนี้

 

  • ได้งานที่ไม่ได้แสดงฝีมือ

หนึ่งในปัญหาหลักในการทำงานของเหล่าเศรษฐีเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์เงินเดือน คือ พวกเขารู้สึกว่า งานที่ทำอยู่นั้นไม่มีความท้าทาย ซ้ำซาก น่าเบื่อ เหมือนเป็นซอมบี้ตายซาก แถมไม่ได้ใช้สกิลที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่มีอะไรให้พิสูจน์ฝีมือ

คอร์ลีย์เล่าว่า มีหนึ่งในมหาเศรษฐีเคยทำงานให้กับบริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ แต่เขารู้สึกว่าเขาได้งานน้อยเกินไป ท้ายที่สุดเขาก็ลาออกจากงานและไปเปิดบริษัทใหม่กับเพื่อน ปัจจุบันเขากลายเป็นผู้บริหารของบริษัทขนส่งคอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในสหรัฐ

  • มีเจ้านาย Toxic 

เจ้านายที่ เห็นแก่ตัว หยิ่งผยอง ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล รวมถึงประเภทที่เดาใจไม่ถูก รับมือได้ยาก สามวันดีสี่วันเพี้ยน ทำอะไรก็ผิดไปเสียหมด ตลอดจนหัวหน้าที่ดีแต่เล่นเกมการเมืองในบริษัท และเลือกที่รักมักที่ชัง พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่เข้าข่าย “Toxic” เต็มไปด้วยพิษทั้งสิ้น

เศรษฐีคนหนึ่งกล่าวว่า เขาเบื่อหน่ายกับหัวหน้าที่เอาแต่วิจารณ์งานของเขา แทนที่จะให้ข้อเสนอแนะในทางสร้างสรรค์ จึงลาออกจากบริษัท พร้อมพาพนักงานที่คิดเหมือนกับเขาไปออกมาด้วย แล้วมาตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ทำรายได้มหาศาล

 

  • ไม่อินกับวัฒนธรรมองค์กร

การนินทาล้วนเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ทุกที่ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งไม่น่ารื่นรมย์สำหรับผู้ที่โดนติฉินนินทา เพราะสามารถบ่อนทำลายความรู้สึก และทำให้เกิดความวิตกกังวลในการทำงานแต่ละวันว่าจะเป็นหัวข้อในวงซุบซิบกอสสิปหรือไม่ ทำให้การเข้าออฟฟิศไม่ใช่เรื่องน่าพิสมัยอีกต่อไป

หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้เคยเป็นผู้จัดการในสำนักงานบัญชี เขาเล่าให้คอร์ลีย์ฟังว่า เขาไม่สามารถทนกับวัฒนธรรมการนินทาในออฟฟิศได้ จึงเริ่มสมัครงานที่อื่น และสุดท้ายก็ได้รับข้อเสนอจากบริษัทคู่แข่งซึ่งไม่มีวัฒนธรรมนี้ ทำให้หน้าที่การงานของเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนสุดท้ายกลายเป็นหุ้นส่วนของบริษัท

  • ค่าจ้างที่ไม่คุ้มค่า

เหล่าเศรษฐีส่วนใหญ่ที่คอร์ลีย์ให้สัมภาษณ์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สัญญาณที่ชัดที่สุดว่าถึงเวลาต้องหางานใหม่แล้ว ก็คือ เงินเดือนไม่เพียงต่อค่าใช้จ่าย หรือ ไม่พอสำหรับการออกไปใช้ชีวิต รวมถึงไม่มีเงินเก็บสำรอง

อดีตตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ตัดสินใจลาออกจากงาน เพราะเงินเดือนไม่คุ้มค่าเหนื่อย แล้วหันมาเปิดบริษัทจำหน่ายรถยนต์เป็นของตนเองด้วยเงินลงทุนจากครอบครัวและเพื่อน ๆ ในปัจจุบันบริษัทของเขาทำรายได้มากมาย และขยายสาขาไปทั่วสหรัฐ

 

  • เหนื่อยกับการเดินทาง

เศรษฐินีคนหนึ่งที่เคยให้สัมภาษณ์กับคอร์ลีย์ ​​เธอต้องเดินทางจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ บ้านของเธอ เพื่อไปทำงานที่นิวยอร์กซิตี้เป็นประจำ ซึ่งการเดินทางหลายชั่วโมงนี้ทำให้เธอเหนื่อยล้าและมีความเครียดสะสม เธอจึงตัดสินใจมาทำงานกับบริษัทยาแห่งหนึ่งในนิวเจอร์ซีย์แทน แล้วก็ได้เลื่อนตำแหน่งจนขึ้นมาเป็นพนักงานระดับสูง และเกษียณอายุก่อนกำหนด พร้อมได้ค่าตอบแทนเป็นหุ้นของบริษัท

 

  • บริษัทไม่มั่นคง

คอร์ลีย์เคยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีคนหนึ่งที่ตัดสินใจลาออกจากบริษัทการผลิตที่อยู่ในภาวะไม่สู้ดีนัก แล้วมาทำงานกับบริษัทบริการนายหน้าออนไลน์แทน แม้ว่าในเวลานั้นจะเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหม่ แต่เขาก็คิดว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยง เพราะเมื่อบริษัทประสบผลสำเร็จ พนักงานเองก็ได้ผลพลอยได้นี้ด้วยเช่นกัน

นี่จึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีแก่คุณว่าทักษะที่คุณมีสามารถนำไปใช้ในงานด้านอื่น ๆ ได้มากกว่าที่คุณคิด และอย่ากลัวที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่พึ่งเริ่มตั้งไข่ ทั้งที่คุณเองก็อยากจะร่วมงานด้วย

จากทั้ง 7 ข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เหล่าเศรษฐีตัดสินใจลาออก นั้นเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของพวกเขาทั้งสิ้น แสดงว่าหากไม่มีความสุขในการทำงานแล้ว ย่อมไม่เกิดความสำเร็จและความก้าาวหน้าในหน้าที่การงานได้ ดังคำที่ว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก


ที่มา: CNBC