‘อับแซ็งธ์’ เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

เหล้ากลั่นสมุนไพร ‘อับแซ็งธ์’ นิยมมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาศิลปิน กวี นักประพันธ์ดนตรี จนได้ฉายาว่า ‘ปีศาจเขียว’, ภูตเขียว แต่บางคนก็เรียกว่า ‘นางฟ้าสีเขียว’

อับแซ็งธ์ (แอบซินธ์) หรือ Absinthe เป็นเหล้าที่กลั่นจากสมุนไพรหลายชนิด เช่น ดอกและใบของวอร์มวู้ด หรือโกฐจุฬาลัมพา (พืชในสกุล Artemisia), เมล็ดเทียนสัตตบุษย์, เมล็ดยี่หร่าฝรั่ง และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาหรือทำอาหาร เดิมมีสีเขียวตามธรรมชาติ (แต่อาจไม่มีสีก็ได้)

 

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

   อับแซ็งธ์ ภูตเขียวหรือนางฟ้าสีเขียว (Cr.tastingtable.com)

 อับแซ็งธ์ มีต้นกำเนิดในรัฐเนอชาแตลของสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปรากฏตามลายลักษณ์อักษรว่าคิดค้นขึ้นโดย ปิแยร์ โอร์ดิแนร์ (Pierre Ordinaire) นายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ที่เปิดคลินิกอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะเปลี่ยนมือและนำไปกลั่นขายโดยนายทหารยศพันตรี โดยขายเป็นเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1805

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’      วิธีดื่มปีศาจสีเขียว (Cr.pixabay)

นักเขียนบทละครชาวไอริช ออสการ์ ไวลด์ นอกจากชอบดื่มแชมเปญเย็น ๆ แล้ว เขายังผูกพันกับนางฟ้าสีเขียวด้วย ดังคำกล่าวของเขาว่า

…"หลังกระดกอับแซ็งธ์แก้วแรก คุณยังเห็นสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่มันเป็น หลังแก้วสองจะเห็นต่างออกไป สุดท้ายแล้วจะกลับไปเห็นแบบที่มันเป็น และมันก็น่ากลัวเหลือเกิน"

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’         (Cr.raschvin.com)

วรรณคดีตะวันตกเรื่องต่าง ๆ มักเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า ภูตเขียว หรือ ปีศาจสีเขียว (La fée verte, The green fairy) บางคนบอกว่าเป็น นางฟ้าสีเขียว, เทพธิดาสีเขียว เพราะเป็นสุราสีเขียวที่งดงามแต่ซุกซ่อนความลึกลับชวนหลงใหล

เพียงจิบเดียวจะทำให้เคลิบเคลิ้ม จิบต่อ ๆ มาจะทำให้หลงเพ้อเหมือนมีเทพธิดาจำแลงมานั่งคุยอยู่ข้าง ๆ...

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

     เหล้ากลั่นดีกรีแรง (Cr.originalabsinthe)

วิธีดื่มแบบดั้งเดิมคือรินเหล้าใส่แก้ว แล้วเอาน้ำตาลทรายก้อนจุ่มเหล้ามาวางบนช้อนอับแซ็งธ์ เป็นช้อนเจาะรูฉลุลาย ที่วางบนแก้ว จากนั้นจุดไฟแล้วปล่อยให้เปลวไฟไหลผ่านรูของช้อนไปเผาเหล้า จากนั้นคนให้ละลาย จะดื่มโดยเติมน้ำเปล่าลงไปผสม หรือใส่น้ำแข็งตาม

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

    ชุดดื่มอับแซ็งธ์ (Cr.absintheonthenet.com)

อับแซ็งธ์ เป็นที่นิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในหมู่ศิลปิน กวี นักเขียน กลุ่มโบฮีเมียนในปารีส ส่วนหนึ่งเพราะสีมรกตงดงามดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะวิธีการดื่มซึ่งต้องหยดน้ำผ่านก้อนน้ำตาลลงในแก้วซึ่งอับแซ็งธ์รออยู่

 

 

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’     ช้อนฉลุลายเพื่อดื่มอับแซ็งธ์ (Cr.france.fr)

บรรดาศิลปินและนักประพันธ์ดนตรีหลายคน ต่างเป็นนักดื่มอับแซ็งธ์ เช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, เจมส์ จอยซ์, ชาร์ล โบดแลร์, ปอล แวร์แลน, อาร์ตูร์ แร็งโบ, อองรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อาเมเดโอ โมดิลยานี, ปาโบล ปีกัสโซ, วินเซนต์ แวน โกะห์, ฟัน โคค, ออสการ์ ไวลด์, มาร์แซล พรุสต์, แอลัสเตอร์ โครว์ลีย์, เอริก ซาตี, เอดการ์ แอลลัน โพ, ลอร์ด ไบรอน และอาลแฟรด ฌารี เป็นต้น

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’     ภาพแวนโกะห์ตัดหูตัวเอง

สมัยก่อนมีเรื่องเล่ากันว่าสาเหตุที่แวนโกะห์ (Vincent Willem van Gogh) ศิลปินเอกของโลกชาวเนเธอร์แลนด์ เฉือนหูซ้ายของตัวเอง เป็นผลมาจากเครื่องดื่มชนิดนี้ ต่อมามีการพิสูจน์ออกมาว่าที่เขาตัดหูนั้น ไม่เกี่ยวกับ อับแซ็งธ์ แต่อย่างใด

คำว่า Absinthe เป็นคำยืมมาจากภาษาละตินว่า Absinthium ซึ่งแผลงมาจากภาษากรีก Apsínthion แปลว่า ไม่สามารถดื่มได้ และยังมีความหมายถึงต้น วอร์มวู้ด (Wormwood)

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

     สมุนไพรวอร์มวู้ด

ยุคนั้นการใช้วอร์มวู้ดทำเครื่องดื่ม ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในบทกวีชื่อ De Rerum Natura ของลูเครเตียส นักปรัชญาและนักกวีชาวโรมันในยุคก่อนคริสตกาล

ในบทกวีกล่าวว่า “เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของวอร์มวู้ดนั้นใช้เป็นยาสำหรับเด็ก ใส่ในถ้วยที่มีน้ำผึ้งทาอยู่บนขอบเพื่อให้สามารถดื่มได้ง่าย”

ดังนั้นการเสิร์ฟ อับแซ็งธ์ จึงมีน้ำตาลกรวดเป็นส่วนประกอบด้วย

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’      การดื่มนางฟ้าสีเขียว

ดีกรีความแรงของอับแซ็งธ์อยู่ระหว่าง 50–75 ดีกรี แต่ส่วนมากจะกลั่นที่ 60 ดีกรี ประกอบกับมีสารธูโจน (Thujone) ที่สกัดมาจากสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีรสขม มีฤทธิ์ต่อระบบสมองและประสาท จนได้รับการพรรณนาว่าเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสารก่อประสาทหลอนที่มีอันตรายมาก

เมื่อถึงปี 1915 อับแซ็งธ์ถือเป็นของต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปรวมถึงฝรั่งเศส, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย-ฮังการี

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

แม้ว่าปีศาจเขียวจะถูกกล่าวหาเช่นนั้น แต่ก็ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ามีอันตรายมากกว่าเหล้าธรรมดาแต่อย่างใด ประกอบกับผลการวิจัยในยุคหลังแสดงให้เห็นว่าในอับแซ็งธ์มีสารธูโจนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของอับแซ็งธ์ (นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์) ก็นำมาขยายให้เกินความจริง

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

การฟื้นฟูการผลิตอับแซ็งธ์เริ่มต้นในทศวรรษ 1990 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายอาหารและเครื่องดื่มของสหภาพยุโรป ซึ่งกำจัดอุปสรรคที่มีมายาวนานต่อการผลิตและการจำหน่าย ทำให้ต้นศตวรรษที่ 21 มีอับแซ็งธ์เกือบ 200 ยี่ห้อถผลิตในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 12 ประเทศ ที่เด่นที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส,  สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สเปน และเช็ก

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

ที่สร้างความฮือฮาคือเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา บริษัท Lollyphile เจ้าแห่งลูกอมรสชาติพิลึกกึกกือ แห่งซานฟรานซิสโก ได้ผลิตลูกอมรสชาติอับแซ็งธ์ (Absinthe) ทำจาก Absinthe ล้วน ๆ

‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’    ลูกอมอับแซ็งธ์

แต่ไม่ต้องกลัวว่าอมและดูดแล้วจะเหมือนดื่มเหล้า Absinthe เพราะแอลกอฮอล์บางส่วนสลายไปในช่วงกระบวนการผลิต เหลือแต่สารธูโจนที่ถือเป็นเสน่ห์ของ Absinthe ซึ่งมีไม่เกิน 10 มิลลิกรัมตามมาตรฐาน อย.สหรัฐ เรียกว่าอมและดูดแล้วเพียงเคลิ้ม ๆ เท่านั้น

] ‘อับแซ็งธ์’  เหล้ากลั่นสมุนไพร ฉายา ‘ปีศาจเขียว’

     ชุดดื่มอับแซ็งธ์ (Cr.absintheonthenet.com)

อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งมวลนี้ จุดประสงค์เพื่อการศึกษาหาความรู้ มิได้มีเจตนาชักชวนให้ดื่ม ประการสำคัญยิ่งแอลกอฮอล์แรง ๆ ยิ่งต้องระวัง