มอบรางวัล "ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565

มอบรางวัล "ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565

ทุกวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ จะมีการคัดเลือกมอบรางวัลให้แก่ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เพื่อดำรงไว้ซึ่งการใช้ภาษาไทยที่ดีสืบไป

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ได้มีการจัดงาน มอบรางวัลเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

โดยมี อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี กล่าวแสดงความยินดีและมอบรางวัล

โดย ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวรายงานฯ ว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างค่านิยมและส่งเสริมประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย รักภาษาไทยและใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

"รวมถึงยกย่องผู้มีผลงานการใช้ภาษาไทยหรือภาษาไทยถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์ พร้อมยกย่องบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทส่งเสริมและสร้างคุณประโยชน์ต่อวงการภาษาไทยหรือภาษาถิ่นอย่างต่อเนื่องให้เป็นที่ประจักษ์"

มอบรางวัล \"ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย\" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 Cr. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ผลรางวัล

1)ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ 

ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุจฉายา 

มอบรางวัล \"ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย\" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 Cr. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

2)รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ได้แก่

พระวิสุทธิพงษ์เมธี

รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา ปานเกตุ

นางรพีพรรณ เพชรอนันต์กุล

รองศาสตราจารย์สมเกียรติ รักษ์มณี

นายสัญญลักษณ์ เจริญเปี่ยม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวต่างประเทศ ได้แก่ นายหลิน อี้ฟาน (Mr. Lin Yifan)

มอบรางวัล \"ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย\" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 Cr. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

3)ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่

นายเดช ทะลือ

นายประดิษฐ์ เป็งเรือน

รองศาสตราจารย์พิเชฐ แสงทอง

นางสาคร พรมไชยา

มอบรางวัล \"ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย\" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 Cr. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

4)ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ได้แก่

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

มอบรางวัล \"ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย\" ในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 Cr. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

รางวัลเด็กและเยาวชน ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พุทธศักราช 2565 มีดังนี้ 

1)ระดับประถมศึกษา (อายุไม่เกิน 13 ปี) ได้แก่

เด็กหญิงกุลธิดา คารี โรงเรียนบ้านหารเทา (จรุงราษฎร์ดำเนิน) จังหวัดพัทลุง

เด็กหญิงพิชามา ลาบุตร  โรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เด็กชายสุภัทรนันท์ ชราโรจ โรงเรียนนางามวิทยา จังหวัดกาฬสินธุ์

2)ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุไม่เกิน 16 ปี) ได้แก่

เด็กหญิงณัฐธยาน์ ยินดี โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก

นางสาวธนพร โชคศรีเจริญ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

เด็กหญิงปิ่นปินัทธ์ สืบมา โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร

3)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (อายุไม่เกิน 19 ปี) ได้แก่

นางสาวโชติกา แอนโก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

นายภูวดล ลีลาเกียรติวณิช โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

นางสาววิชญาพร ทาริยะชัย โรงเรียนตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

4)ระดับอุดมศึกษาหรือบุคคลทั่วไป (อายุไม่เกิน 25 ปี) ได้แก่

นายณัฐพล คำวัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายธิติพัทธ์ ขันธเนตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายวรโชติ ต๊ะนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์