"เจ้าจอมยี่สุ่น" ปมรื้อถอนเรือนโบราณสมัยร. 3 อัปเดต เจ้าอาวาสวัดประชุมโยธี ตอบแล้ว

ฮอตโซเชียล "เจ้าจอมยี่สุ่น" ปมรื้อถอนเรือนโบราณสมัยรัชกาล 3 อัปเดตคืบหน้า เจ้าอาวาสวัดประชุมโยธี ชี้แจง

ดราม่าโซเชียล ค้านวัดเตรียมรื้อถอนเรือนโบราณ "เจ้าจอมยี่สุ่น" สมัยรัชกาลที่ 3 ด้านเจ้าอาวาสยันยังไม่มีการรื้อถอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากเหตุการณ์ที่นายชัยณรงค์ ณ นคร เลขานุการกองทุนสามพระยาบริรักษ์ภูธร (อดีตเจ้าเมืองพังงา) ได้โพสต์ภาพเรือนโบราณอายุกว่า 100 ปี ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่วัดประชุมโยธี พระอารามหลวง ลงสื่อสังคมโซเชียล เฟซบุ๊ก พร้อมกับบรรยายว่า 

“ความหดหู่ในหัวใจ ขึ้นไปบนเรือนของอดีต ท่านคุณทวด ท่านเจ้าคุณ อ้น ณ ถลาง ที่เป็นผู้สืบทอดมรดก มาจากเจ้าจอมยี่สุ่น เคยเป็นเจ้าเมืองภูเก็ต เป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงยกย่อง ชมเชย เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อวัดประชุมโยธี ได้ถวายพระพุทธรูป รุ่นเชียงแสน อายุราว 1,000 ปี ให้แก่วัดประชุมโยธี ตั้งชื่อพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมงคลสำริดศากยมุนีศรีพังงา " เป็นพระประจำจังหวัดพังงา เป็นผู้อุปถัมภ์มาชั่วสายสกุล และสร้างวัดแห่งนี้ เรือนหลังนี้ ก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ของผู้คนหลายร้อยคน ที่ได้มาพักอาศัยเรือนแห่งนี้ อีกไม่นาน คำพูดของท่านเจ้าคุณอ้น ที่กล่าวว่าห้ามขาย อย่าทุบเรือน เก็บไว้ให้ลูกหลานได้อาศัย จะเป็นจริงหรือไหม รอผลตอบกลับ ในไม่ช้า” 

และบอกเล่าว่า “เรือนหลังนี้ มีประวัติยาวนาน มาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 ผ่านถึงรัชกาลที่ 5 กล่าวกันว่า เป็นเรือนของท่านเจ้าจอมยี่สุ่น พระสนมในรัชกาลที่ 3 และเจ้าจอมเป้า ผู้เป็นน้องสาว เป็นพระสนมรัชกาลที่ 4 และท่านทั้ง 2 เป็นผู้ร่วมกัน สร้างวัดควนหรือวัดประชุมโยธี พระอารามหลวงในปัจจุบัน 

หลายคนที่ไม่ทราบเรื่องราว ของเรือนหลังนี้ ทำการลบหลู่ ปรากฏว่า เจอดี ทุกราย แต่ถ้าเขารื้อได้สำเร็จ ก็ถือว่า เป็นความประสงค์ของเจ้าเรือน แต่เมื่อขณะที่รื้อ มีอาเพท ก็รับกรรมกันเอาเอง”

 ทำให้มีการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก ทั้งในสื่อออนไลน์ต่างๆ และประชาชาชนทั่วไป พร้อมกับแสดงความคิดเห็นต่างๆ ว่าไม่เห็นหากหากวัดจะทำการรื้อถอน บางคนก็บอกว่าเป็นวิศวกรพร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือซ่อมแซม บางคนบอกว่าพร้อมจะสมทบทุนบุรณะซ่อมแซม เรียกว่าเป็นประเด็นดราม่ากันในพื้นที่จังหวัดพังงาและภูเก็ตกันในช่วงนี้

\"เจ้าจอมยี่สุ่น\" ปมรื้อถอนเรือนโบราณสมัยร. 3 อัปเดต เจ้าอาวาสวัดประชุมโยธี ตอบแล้ว

ล่าสุดผู้สื่อข่าว ได้เข้าไปตรวจสอบเรือนโบราณหลังนี้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านข้างวัดประชุมโยธี พระอารามหลวง เขตเทศบาลเมืองพังงา ซึ่งทางวัดได้จัดซื้อที่ดินแปลงนี้มาจากภาคเอกชน พบว่ามีสภาพเป็นบ้านร้างลักษณะ 2 ชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ มีบันไดขึ้นชั้นบนทั้งซ้ายขวา มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เป็นอย่างมาก ทางวัดได้ติดป้ายชำรุด ห้ามเข้าภายในตัวบ้าน ขณะที่พบว่ามีคนเข้ามาเยี่ยมชมถ่ายภาพกันเป็นระยะและบอกว่าอยากให้อนุรักษ์เรือนโบราณหลังนี้เอาไว้ จะเสียดายมากมีการรื้อถอนออกไป

นายชัยณรงค์ ณ นคร เลขานุการกองทุนสามพระยาบริรักษ์ภูธร (อดีตเจ้าเมืองพังงา) เปิดเผยว่า เรือนโบราณหลังนี้เป็นของเจ้าจอมยี่สุ่น สมัยที่พระยาบริรักษ์ภูธรแสง มาปกครองเมืองพังงา จากนั้นก็ตกทอดมรดกมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นเหลน จากการศึกษาดูข้อมูลแล้ว บ้านหลังนี้มีอายุถึงเกือบ 200 ปี เมื่อได้ข่าวว่าทางวัดประชุมโยธีจะมีการรื้อถอน ก็เห็นว่าเรือนหลังนี้เป็นแหล่งโบราณสถานแห่งหนึ่งที่มีอายุยาวนาน การที่จะรื้อถอนโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 50 ปีนั้น จะต้องได้รับความชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ส่วนตัวเห็นว่าบ้านนี้เป็นบ้านที่มีความผูกพันกับคนพังงาจำนวนมากเป็นบ้านที่มีความหมายต่อเมืองพังงาบ่งบอกถึงรากเหง้าของเมืองพังงาได้ดีที่สุดเป็นสมบัติจึงอยากให้ชาวพังงาเห็นคุณค่าของความเป็นอัตลักษณ์เป็นรากเหง้าของเมือง ก็เลยอยากจะบอกพี่น้องชาวพังงาหรือว่าผู้ที่รักในเรื่องของสถาปัตยกรรมมาร่วมกันที่จะให้เรือนหลังนี้อยู่นานเท่านานได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพังงา

ด้านพระเทพปัญญาโมลี เจ้าอาวาสวัดประชุมโยธี พระอารามหลวง กล่าวว่า ขอยืนยันว่ายังไม่มีการรื้อถอนในขณะนี้ โดยข้อเท็จจริงเรื่องนี้ทางวัดประชุมโยธี ได้ขยายพื้นที่โดยซื้อที่ดินเอกชนแปลงหนึ่งซึ่งเป็นที่ของตระกูล ณ ถลาง โดยในพื้นที่แปลงนี้มีบ้านเก่าอยู่หลังหนึ่ง ทางวัดได้พัฒนาสร้างเสนาสนะบางอย่างก็ได้สร้างไปเกือบแล้วเสร็จแล้ว และจะทำพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมจัดสร้างเสนาสนะส่วนอื่นเพิ่มเติม และในวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้มีการประชุมของคณะสงฆ์สัญจรของจังหวัดพังงา ได้มีการทำพิธีสวดถอนพื้นที่ เพื่อว่าในพื้นที่ที่ที่วัดซื้อมานั้นน่ะในอดีตอาจจะมีอุโบสถเก่าหรือเจดีย์เก่าอยู่ 

\"เจ้าจอมยี่สุ่น\" ปมรื้อถอนเรือนโบราณสมัยร. 3 อัปเดต เจ้าอาวาสวัดประชุมโยธี ตอบแล้ว

จึงได้ทำพิธีสวดถอนถึงบ้านหลังนี้ก็อยู่ในพื้นที่นี้ด้วยและเมื่อมีการสวดถอนก็ถือว่าเราได้ทำถูกต้องแล้วเราจะสร้างเสนาสนะอย่างอื่นทำอย่างอื่นก็ทำได้โดยโดยกลัวว่าสิ่งที่ทำต่อไปในอนาคตอาจจะผิดพระวินัย ก็เลยเป็นประเด็นว่าเมื่อทำพิธีสวดถอนคนก็ไปแปลผิดว่าพระจะทำการรื้อถอนบ้านหลังนี้ ซึ่งความจริงแล้วการจะรื้อถอนบ้านหลังนี้ถ้าถามว่ามันก็มีสิทธิ์ทำได้เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่วัดอาจจะต้องพัฒนา แต่โดยความเป็นจริงไม่ใช่ เพราะว่าจะต้องดูองค์ประกอบว่าบ้านเนี้ยเป็นอย่างไรโดยช่างผู้ชำนาญการ ทางวัดได้ประสานทางโยธาธิการและผังเมืองเข้ามาตรวจสอบดูแล้วว่าโครงสร้างของบ้านยังมีความแข็งแรงพอที่จะรองรับทำการบูรณะได้ไหม ถ้าหากทำได้ที่จะต้องช่วยกันว่าการซ่อมใครเป็นผู้รับผิดชอบมีเงินทุนหรืองบประมาณส่วนไหนอย่างไร 

ทางกรมศิลปากรโดยผู้อำนวยการที่นครศรีธรรมราช ได้เคยเข้ามาตรวจสอบแล้วบอกว่าจะต้องใช้งบบูรณะไม่น้อยกว่า10ล้านบาท ซึ่งเกินกำลังของวัดที่จะบูรณะซ่อมแซม ถ้าหากว่าหาญาติโยมท่านใดเห็นควรที่จะอนุรักษ์เหมือนที่กล่าวในโซเชียล ก็ขอให้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันสละทรัพย์เพราะว่างบประมาณคงไม่น้อย บางคนที่บอกว่ามีวิศวะรับรองไม่กี่ตังค์ ก็ให้เข้ามาช่วยกันได้เลย และทราบว่าทางจังหวัดพังงาได้ตั้งคณะกรรมการ