ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน "นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา"

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน "นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา"

งานวันนักเขียนปีนี้รวบจัดงานไว้ในงานเดียวกัน มอบทั้งรางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ รางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง และรางวัลศรีบูรพา ลองดูว่า นักเขียนคนไหนได้รางวัลอะไรบ้าง

งานวันนักเขียน จัดขึ้นเพื่อย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่มีอาชีพเป็น “นักเขียน” นำความสามารถในการใช้ภาษาไทยมาสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานได้อย่างหลากหลาย

เป็นอีกวันที่นักเขียนได้มาพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในปีนี้มีธีมงานว่า “มิตรน้ำหมึกผนึกสัมพันธ์”

ในปีนี้ 2565 ยังคงอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 การมอบรางวัลด้านวรรณกรรมไม่สามารถจัดได้เป็นปกติ จึงรวบมาจัดงานในครั้งเดียว

ได้แก่ รางวัล นราธิปพงศ์ประพันธ์ ปี 2563-2564, รางวัล วรรณกรรมแม่น้ำโขง ปี 2563-2564 และ รางวัล ศรีบูรพา ปี 2565 ในวันนักเขียน 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องวิสุทธิกษัตริย์ โรงแรมตรัง กรุงเทพฯ

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

  • รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปี 2563-2564

รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ นักเขียน นักแปล กวี นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการอาวุโส ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นที่ยกย่องกว้างขวาง

ก่อตั้งขึ้นในปี 2544 วาระที่ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ครบรอบ 30 ปี และครบรอบ 110 พรรษา ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2435-2539)

และครบรอบ 10 ปีองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม

ประภัสสร เสวิกุล นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในขณะนั้น จึงดำริให้มีการมอบรางวัล “นราธิปพงศ์ประพันธ์” โดยความเห็นชอบของ ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์วิวรรณ วรวรรณ เศรษฐบุตร ทายาทของพระองค์ในการเชิญพระนาม มาเป็นชื่อรางวัล

ในปี 2563 มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 15 ท่าน ได้แก่

คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์, รศ.นภาลัย สุวรรณธาดา, ไพบูลย์ สำราญภูติ, มังกร แพ่งต่าย, เวทิน ศันสนียเวทย์,ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี, เกษม อัชฌาศัย, จงกลณี สุวรรณทรรภ, รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล, ชานนท์ ภาคศิริ, โชติ ศรีสุวรรณ, ไพบูลย์ พันธ์เมือง, รำไพพรรณ ศรีโสภาค, วรรณา สวัสดิ์ศรี, ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\" ในปี 2564 ครบรอบ 20 ปี มีผู้ได้รับรางวัล 20 ท่าน ได้แก่

กิติกร มีทรัพย์, ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, ปองพล อดิเรกสาร (Paul Adirex), พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สมพจน์ สิงห์สุวรรณ, สันติ เศวตวิมล (แม่ช้อยนางรำ), สุภา สิริสิงห (โบตั๋น), สุวัฒน์ ไวจรรยา, อรุณ เวชสุวรรณ, ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ (วินนี่ เดอะ ปุ๊),

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย, นิเวศน์ กันไทยราษฎร์, บำรุง บุญปัญญา, ไพบูลย์ แพงเงิน, มนันยา ธนะภูมิ (มนันยา), ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว, วินัย เพ็ชรอุไร (วิน วนาดร), ศุภลักษณ์ สนธิชัย, อดุล จันทรศักดิ์ (อัคนี หฤทัย), อนุช อาภาภิรม

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

  • รางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง (MERLA) ปี 2563-2564

รางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง หรือ รางวัลแม่น้ำโขงอวอร์ด (Mekong River Literature Award : MERLA) เป็นรางวัลระดับนานาชาติ จัดขึ้นโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ก่อตั้งโดยกองทุนวรรณกรรมลุ่มน้ำโขง เมื่อปี 2550 มีหลายประเทศเข้าร่วม ได้แก่ เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, เมียนมาร์, จีน (ยูนนาน) และไทย

รางวัลนี้เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีและมิตรภาพทางวรรณกรรมเพื่อหารือแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมของสมาคมนักเขียนทุกประเทศในลุ่มน้ำโขง

ในปี 2563-2564  มีผู้ได้รับรางวัล ได้แก่

ศิริวร แก้วกาญจน์, สุวิชานนท์ รัตนภิมล, จเด็จ กำจรเดช, เกริกศิษฎ์ พละมาตร์ (พลัง เพียงพิรุฬห์)

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

  • รางวัลศรีบูรพา ปี 2565

รางวัลศรีบูรพา เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ ศิลปิน, นักคิดนักเขียน, นักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า มีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง เป็นส่วนหนึ่งของกองทุนศรีบูรพา

ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกเผยแพร่เกียรติประวัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา (31 มีนาคม พ.ศ. 2448-16 มิถุนายน พ.ศ. 2517) นักประชาธิปไตย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก

ผู้มีงานเขียนหลากหลายทั้งในรูปแบบนวนิยาย, เรื่องสั้น, สารคดี, บทความ, กวีนิพนธ์ เรื่องแปล ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

พิธีมอบรางวัลศรีบูรพา จะจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นงานวันนักเขียน ที่จัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

ในปี 2565 นี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลศรีบูรพา ได้แก่

ประกิต หลิมสกุล เจ้าของนามปากกา “กิเลน ประลองเชิง” เจ้าของคอลัมน์ “ชักธงรบ” หน้า 3 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นับเป็นนักเขียนรางวัลศรีบูรพา คนที่ 31 ประจำปี 2565

ประกิต หลิมสกุล (กิเลน ประลองเชิง) ขึ้นกล่าวปาฐกถาว่า ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ของดีก็ต้องเป็นของดีอยู่วันยังค่ำ

“การเปลี่ยนผ่านสู่โลกแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าไปกลัว ไม่ว่าสนามจะเปลี่ยนเป็นอะไร ของดีก็ยังต้องดี อยากให้นักเขียนรุ่นใหม่ หันมาอ่านงานเขียนรุ่นเก่าที่ทรงคุณค่า เพราะงานเขียนคุณภาพ ไม่มีกาลเวลา ยิ่งเก่ายิ่งดี อ่านมาก ๆ จะทำให้ก้าวหน้าสู่การเป็นนักเขียนที่ดีได้”

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

และได้มีการประกาศเชิดชูเกียรติ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปีพุทธศักราช 2565

แด่ นาย ประกิต หลิมสกุล (กิเลน ประลองเชิง)

สุภาพบุรุษนักหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้วิชารู้จักมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง

นาย ประกิต หลิมสกุล นามปากกา กิเลน ประลองเชิง เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ที่มีประสบการณ์ชีวิตเข้มข้น ผ่านวิริยะบากบั่นสามารถเรียนรู้ และกลั่นกรองประสบการณ์เหล่านั้นเป็นงานเขียน เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นและสังคมได้อย่างงดงาม

เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านริมคลองบางเรือหัก ตำบลท้ายหาด หมู่ที่ 7 อำเภอเมือง สมุทรสงคราม เป็นบุตรชายคนเดียว ลำดับที่ห้า เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนนิพัทธหริณสูตร์ (วัดประทุมคณาวาส) สมุทรสงคราม

ต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร สมุทรสงครามได้สองปี ลาออกไปบวชเณรที่วัดเขาย้อย เพชรบุรี หลังจากนั้นไปอยู่วัดดาวดึงษ์ บางยี่ขัน ธนบุรี ได้ศึกษาต่อที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร สอบได้นักธรรมเอกเมื่อ พ.ศ. 2507 ต่อมา พ.ศ.2531 ศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\"

พ.ศ. 2509-2513 เป็นลูกเรือและนายท้ายเรือในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ปลายปี พ.ศ. 2513 เริ่มงานนักข่าวภูธร ส่งข่าวให้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พ.ศ. 2518 ได้ประจำการเป็นนักข่าวเดลินิวส์ ทำข่าวทั่วประเทศ และ มีประสบการณ์เขียนคอลัมน์จิปาถะ พ.ศ. 2522 ย้ายมาอยู่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เขียนคอลัมน์ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลนักเขียนบทความดีเด่น ประจำปี จากกองทุน ม.ร.ว.อายุมงคล โสณกุล พ.ศ. 2535 ใช้นามปากกา “เหยี่ยวพญา” เขียนข่าวสังคม ต่อมาหลังการตายของนักข่าวภูมิภาคไทยรัฐ ได้ลาออกไปร่วมงานกับ นสพ. อีกหลายฉบับ

อาทิ ผู้จัดการ สยามโพสต์ แนวหน้า สยามรัฐ ไทยไฟแนนเชียล จากนั้นกลับ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สังกัดเดิม รับงานหัวหน้า “สกู๊ปข่าวหน้าหนึ่ง” ต่อมา พ.ศ.2541 ใช้นามปากกา “กิเลน ประลองเชิง” เขียนคอลัมน์ “ชักธงรบ” มาจนถึงทุกวันนี้

ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน \"นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา\" ประกิตเป็นนักหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นทั้งนักข่าวและคอลัมนิสต์หลากหลาย มีประสบการณ์ชีวิต การทำข่าวและการอ่านหนังสือ ทำให้กอปรด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

1.เป็นผู้มีวิชารู้จักมนุษย์ เพราะเหตุที่เคยผ่านวิกฤติชีวิตทั้งในวัยเยาว์และในยามเป็นนักหนังสือพิมพ์ ทำให้เขาเรียนรู้ความเป็นมนุษย์จากตัวเองเป็นเบื้องต้น และจากประสบการณ์ในการทำงานเป็นประการต่อมา จนสามารถเข้าใจและเขียนถึงมนุษย์ทั้งตนเองและคนอื่นได้อย่างลึกซึ้งและได้ประเด็นคิด

2.เป็นสุภาพบุรุษนักหนังสือพิมพ์ ทำงานในฐานะนักหนังสือพิมพ์มายาว นานกว่า 50 ปี คงความเป็นกลาง และความเป็น “สุภาพบุรุษ” คือการทำเพื่อคนอื่น ตามแบบกุหลาบ สายประดิษฐ์ ไว้ได้โดยตลอด

3.เป็นผู้สามารถในการใช้ภาษา การเขียนคอลัมน์ “ชักธงรบ” ในนาม “กิเลน ประลองเชิง” ทุกวันมายาวนานกว่า ๒๐ ปี สะท้อนให้เห็นว่า ศักยภาพในการคิด เขียน และการใช้ภาษารวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอย่างสมบูรณ์

..............

อ้างอิง : Nanthaphorn Waisayasuwan, กล่อง อาคุงกล่อง