'Photon-counting CT' เทคโนโลยีวินิจฉัยโรคระยะเริ่มต้น

'Photon-counting CT'  เทคโนโลยีวินิจฉัยโรคระยะเริ่มต้น

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำนวัตกรรม Photon-counting CT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสีตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น

KEY

POINTS

  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำเทคโนโลยี  Photon-counting CT เข้ามาใช้ถือเป็นก้าวสำคัญของการแพทย์แม่นยำ 
  • ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในเรื่องความทันสมัย ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ช่วยลดปริมาณรังสี ได้ประมาณ 30-40%
  • นวัตกรรมที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำนวัตกรรม Photon-counting CT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสีตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น เสริมสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วย และการรักษาเฉพาะบุคคลช่วยให้ตรวจพบโรคได้เร็วขึ้น และวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นพ.วิทย์ วราวิทย์  หัวหน้าหน่วย Body Imaging แผนกรังสีวิทยา,รังสีแพทย์  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวในงานแถลงข่าว“Unlock the Future of Screening & Diagnostics with Photon Counting CT Technology” เมื่อเร็วๆนี้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เสริมสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วย เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย และส่งเสริมการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น

การนำเทคโนโลยี  Photon-counting CT เข้ามาใช้จึงถือเป็นก้าวสำคัญของการแพทย์แม่นยำ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในเรื่องความทันสมัย ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ช่วยลดปริมาณรังสี ได้ประมาณ 30-40%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'กินดีอยู่ดี สุขภาพดี' ทำไม?เป็นมะเร็งได้

หญิงไทย 17 ล้านคนเผชิญโรค เช็ก! 'สุขภาพผู้หญิง' ก่อนเกิดโรคร้าย

รู้จักPhoton-counting CT เทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยโรค

สำหรับ Photon-counting CT เป็นเทคโนโลยีของ ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส (Siemens Healthineers) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครื่องมือ,โซลูชัน และบริการด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการจำลองระบบภายในร่างกายของผู้ป่วย (Patient Twinning),การแพทย์แม่นยำ (Precision Therapy)ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวิเคราะห์และมุ่งแก้ไขปัญหาโรคร้ายแรงที่คุกคามชีวิต เช่น โรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาท รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ภายในงานมีการเสวนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ โดยแพทย์เฉพาะทางในด้านรังสีวิทยา ประสาทวิทยา โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และเวชศาสตร์พันธุกรรม รวมถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี Photon-counting CTมาใช้ในแต่ละสาขา ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องตรวจคัดกรองบ่อยครั้ง เช่น โรคมะเร็งปอด ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหลอดเลือดโป่งพอง รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยเด็ก

\'Photon-counting CT\'  เทคโนโลยีวินิจฉัยโรคระยะเริ่มต้น

เสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น

จากสถิติในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี (ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ) โดยสถาบันประสาทวิทยา ระบุว่า ปี 2566 อัตราตายจากโรคหลอดเลือดในสมองแตกมีมากถึง 21.13% ส่วน ปี 2567 ตัวเลขสูงถึง 20.77%  เทคโนโลยีจะช่วยให้การสแกนภาพสมองรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น สามารถตรวจพบโรคหลอดเลือดสมองได้เร็วขึ้น และเริ่มการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทำให้ผลลัพธ์การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความเสียหายของสมองและเพิ่มศักยภาพในการฟื้นตัว 

รวมทั้งการตรวจพบโรคปอดในระยะเริ่มต้นสามารถระบุก้อนเนื้อขนาดเล็กในปอด  เครื่องนี้ก็สามารถแยกจุดแตกได้โดยละเอียด และ scan ได้อย่างรวดเร็วนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 2.5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1.8 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมะเร็งปอดพบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ 17,222 คน เฉลี่ยวันละ 48 คน เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 40 คน 

เช่นเดียวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด  ข้อมูลจากสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation, WHF) ระบุว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 20.5 ล้านคนต่อปี และร้อยละ 85 ของการเสียชีวิตเกิดจากอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง 

สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2566 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยสะสมด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2.5 แสนราย และเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 4 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 5 คน 

"การนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น การรักษาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อส่งมอบผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีในระยะยาว และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วยอย่างยั่งยืนได้"