รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ภายใต้กลุ่มศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ รพ.รามาฯ แถลงข่าว “ความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด 3 ราย ร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Rangueil University Hospital ประเทศฝรั่งเศส” ฟื้นตัวเร็ว แผลเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อน

KEY

POINTS

  • คนไทยปลูกถ่ายอวัยวะมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ “ไต” ที่มีผู้ป่วยรอปลูกถ่ายมากที่สุดกว่า 6,000 -7,000 รายต่อปี แต่ละปีสามารถปลูกถ่ายได้เพียง 10% หรือราว 700 รายเท่านั้น
  • การปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการรักษาทดแทนไตที่ดีที่สุด การผ่าตัดมีทั้งผ่าตัดแบบแผลเปิด , ผ่าตัดผ่านกล้อง และ "การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด" ซึ่งมีเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงประเทศเกาหลีใต้ แต่ยังไม่เคยมีการผ่าตัดวิธีนี้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน
  • ล่าสุด ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ภายใต้กลุ่มศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ รพ.รามาฯ แถลงข่าว “ความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด 3 ราย ร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Rangueil University Hospital ประเทศฝรั่งเศส” ฟื้นตัวเร็ว แผลเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อน

ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ภายใต้กลุ่มศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ รพ.รามาฯ แถลงข่าว “ความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด 3 ราย ร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Rangueil University Hospital ประเทศฝรั่งเศส” ฟื้นตัวเร็ว แผลเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อน

จากสถิติ พบว่า คนไทยปลูกถ่ายอวัยวะมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ “ไต” ที่มีผู้ป่วยรอปลูกถ่ายมากที่สุดกว่า 6,000 -7,000 รายต่อปี ระหว่างรอเสียชีวิต 10-15% แต่ละปีสามารถปลูกถ่ายได้เพียง 10% หรือราว 700 รายเท่านั้น ขณะที่ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต้องรอการฟอกไต กว่า 2 แสนคน

 

การปลูกถ่ายไตแบบเปิดแผลกว้าง เป็นวิธีปกติที่ใช้กันมานานกว่า 70 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการปลูกถ่ายไตครั้งแรกของโลก ขณะที่ ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้บริการปลูกถ่ายไตมากที่สุดในประเทศ โดยปลูกถ่ายไตสำเร็จมาแล้วกว่า 3,000 ราย และมีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตมากที่สุด ปัจจุบัน ให้การปลูกถ่ายไตกับคนไข้ทุกสิทธิไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม บัตรทอง และข้าราชการ

 

ล่าสุด ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ภายใต้ กลุ่มศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ แถลงข่าว “ความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด” (Robotic Assisted Kidney Transplantation) 3 ราย ครั้งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผสานความรู้ความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญของไทยและจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Rangueil University Hospital ประเทศฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

ปลูกถ่ายไต ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

ศ.นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคไตเป็นปัญหาสำคัญของไทย เนื่องจากคนไทยทานเค็มเกินกว่ามาตรฐานเกือบ 2 เท่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยเป็นโรคไต และลงท้ายด้วยการเป็นไตวายเรื้อรัง วิธีรักษา คือ ฟอกเลือด ฟอกไตที่หน้าท้อง และการปลูกถ่ายไต

 

การปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการรักษาทดแทนไตที่ดีที่สุด แต่ข้อจำกัด คือ ต้องมีผู้บริจาค ทั้งจากผู้เสียชีวิต และญาติพี่น้อง นับเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ รพ.รามาธิบดี เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ปลูกถ่ายไตเยอะที่สุดในประเทศไทย มีการจัดสรรงบประมาณซื้อหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Da Vinci Xi มาใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต รวมทั้ง ยังสามารถผ่าตัดมะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก และอวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น

 

“การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์มีมานานกว่า 10 กว่าปี แต่ยังไม่มีการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์มาก่อนในไทย คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ด้วยความสนับสนุนจาก Rangueil University Hospital นำเทคโนโลยีเข้ามาให้การปลูกถ่ายไต เพื่อให้ผู้รับไตไม่บอบช้ำเท่ากับการผ่าตัดใหญ่ และสามารถกลับบ้านได้เร็ว เป็นจุดเริ่มต้นให้การปลูกถ่ายไตด้วยเทคโนโลยีใหม่ถูกนำไปใช้และแพร่หลายมากขึ้น สามารถดูแลรักษาคนไข้ด้วยวิธีใหม่ๆ มากขึ้น”

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

สำหรับ การนำหุ่นยนต์มาใช้ช่วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เริ่มครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2553 โดยปัจจุบัน การปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ทั่วโลก มีจำนวนเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงประเทศเกาหลีใต้ แต่ยังไม่เคยมีการผ่าตัดวิธีนี้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน

 

นวัตกรรมการผ่าตัดปลูกถ่ายไตโดยใช้หุ่นยนต์ผ่านกล้อง ช่วยทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำทั้งในคนปกติและคนอ้วน โดยเฉพาะการผ่าตัดในบริเวณช่องท้องที่ลึก รวมทั้ง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว การผ่าตัดวิธีนี้ช่วยลดความเจ็บปวด ลดการเสียเลือด และลดโอกาสการเกิดน้ำเหลืองขังเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด และมีภาวะแทรกซ้อนจากแผลน้อยกว่า

 

รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล ศัลยแพทย์หลอดเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า การใช้หุ่นยนต์ช่วยปลูกถ่ายไตสามารถลดความจำเป็นของการใช้หลอดเลือดที่ยาวจากไตของผู้บริจาค ทำให้มีความปลอดภัยของผู้บริจาคไตมากขึ้น เนื่องจากการใช้หุ่นยนต์ช่วยทำให้ศัลยแพทย์ สามารถเย็บต่อหลอดเลือดในบริเวณลึกได้ดีขึ้น

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

อย่างไรก็ดี ศัลยแพทย์ต้องมีความชำนาญในการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทีมคณะแพทย์ รพ.รามาธิบดี จึงได้ทำการผ่าตัดร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Rangueil University Hospital ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ในผู้ป่วย 3 ราย เป็นการผ่าตัดจากผู้บริจาคที่มีชีวิต วันเฉลี่ยนอนโรงพยาบาลประมาณ 9 วัน โดยไตทำงานได้ดี มีค่าซีรั่มครีเอตินินเท่ากับคนปกติ

 

“การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ปัจจุบัน มี 3 แนวทาง คือ ผ่าตัดแบบแผลเปิด , ผ่าตัดผ่านกล้อง ข้อจำกัด คือ ต้องมีคนหนึ่งถือกล้อง และ การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ข้อดีคือ แพทย์บังคับเอง เครื่องมือกับกล้องไปด้วยกัน แผลอยู่เหนือสะดือ เล็กกว่าการผ่าตัดปกติซึ่งอยู่ที่ราว 15-40 ซม. เหลืออยู่ราว 7 ซม. เพื่อใส่ไตในช่องท้อง มีความแม่นยำ และไม่ต้องยืนผ่าตัด ซึ่งจากเดิมต้องยืนระยะเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง”

 

ทั้งนี้ “โครงการผ่าตัดปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ ฟรี” รพ.รามาธิบดี จะผ่าตัดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งหมด 35 ราย หลังจากนั้นจะเป็นการเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิการรักษา ในส่วนของค่าใช้จ่าย ณ ข้อมูลเบื้องต้นอยู่ที่ราว 200,000 บาทต่อเคส

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

ก้าวสำคัญ ปลูกถ่ายอวัยวะด้วยหุ่นยนต์

สำหรับ ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ รพ.รามาธิบดี ถือเป็นศูนย์ที่ให้บริการปลูกถ่ายไตมากที่สุด สำเร็จแล้วกว่า 3,000 ราย ทั้งสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และข้าราชการ รวมถึงเป็นสถาบันพี่เลี้ยงและฝึกอบรม ดูงานด้านการปลูกถ่ายไตให้กับโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ

 

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ หัวหน้าศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า รพ.รามาธิบดี มีการพัฒนาการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในผุ้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ปลูกถ่าย 2 ไตในคนไข้คนเดียว การผ่าตัดปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด การปลูกถ่ายตับอ่อนพร้อมไต และเป็นศูนย์ฝึกอบรมการปลูกถ่ายไตตับอ่อนให้แก่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

สำหรับในอนาคต การนำหุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในประเทศไทยจะมีบทบาทมากขึ้น ถึงแม้ค่าชุดเครื่องมือยังคงมีราคาสูง ทางมูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงตัดสินใจให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายการใช้หุ่นยนต์ในการช่วยผ่าตัดปลูกถ่ายไตแก่ผู้ป่วย ความสำเร็จของการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ รพ.รามาธิบดี นับเป็นก้าวย่างสำคัญของการปลูกถ่ายอวัยวะโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดในประเทศไทย

 

“การรักษาที่ดีที่สุด คือ การปลูกถ่ายไต “ไตใหม่ ชีวิตใหม่” ทำอย่างไรให้ ไตอยู่นานๆ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เรากำลังพัฒนา ทั้งการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว แผลเล็ก โรคแทรกซ้อนน้อย ขณะที่การป้องกันสำคัญที่สุด หากทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายดี ไม่กินหวาน เค็ม จะทำให้ห่างไกลโรค” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน

 

พัฒนาศักยภาพ การแพทย์สู่นานาชาติ

สำหรับ โครงการปลูกถ่ายไตจากพื้นฐานสู่ขั้นสูง (Basic to Advance in Kidney Transplantation) เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการดำเนินกิจกรรม

 

ภายใต้โครงการ MFA-MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์

 

นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากที่ได้รับองค์ความรู้และนำเทคนิควิธีการที่ทันสมัยไปขยายผล และถ่ายทอดให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ Medical Diplomacy ของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเกิดผลเป็นรูปธรรมในสาขาการแพทย์และการสาธารณสุข ที่มีความร่วมมือมาแล้ว 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564

 

ขณะเดียวกัน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ นับเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างความมุ่นคงของมนุษย์ 4 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาชีพ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และความมั่นคงด้านสาธารณสุข 

 

รพ.รามาฯ ปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์  แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน