คลิก! "ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

คลิก! "ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

ปัจจุบันผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกมีการประเมินว่ามีจำนวนกว่า 5% ของประชากรปกติ

KEY

POINTS

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2564 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน
  • ตรวจสุขภาพใจ-ภาวะซึมเศร้า ครบวงจร  DMIND เพิ่มช่องทางผ่าน line สปสช. ประเมินซึมเศร้ามให้ได้รักษาอย่างรวดเร็ว
  • พัฒนา AI ช่วยพัฒนาบริการทางการแพทย์ยุคใหม่ ที่มีคุณภาพสูง เข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

ปัจจุบันผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกมีการประเมินว่ามีจำนวนกว่า 5% ของประชากรปกติ

ปัจจุบันผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกมีการประเมินว่ามีจำนวนกว่า 5% ของประชากรปกติ

ขณะที่การศึกษาของสหรัฐอเมริกา หรือยุโรปพบว่าสูงถึง 10% ส่วนอัตราของไทยอยู่ที่ 1-2% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่ทราบว่าตนเองมีอาการป่วยแล้วมาหาแพทย์เพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการป่วยน้อยลง เพราะเข้าถึงการบำบัดรักษาเร็ว

ข้อมูลจากศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า โดยเฉลี่ยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวน 100 คน จะเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย แต่เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า และผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2564 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก พยากรณ์ไว้ใน Provisional agenda item 6-2 ว่า ตั้งแต่ปี 2554 ในปี 2572 นั้นโรคซึมเศร้า จะขึ้นมาเป็นสาเหตุของภาระโรคในระดับโลก และการเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายอันดับ 2 ในกลุ่มคนอายุ 15-29 ปี ซึ่งเป็นวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังหลักให้กับประเทศชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Smiling Depression ภาวะหน้าชื่นอกตรม 'รอยยิ้ม' ที่อาจปิดบังความรู้สึก

คุณมี ความสุข ครั้งล่าสุดเมื่อไร? สำรวจ 'ภาวะสิ้นยินดี' เร่งฟื้นใจให้ฟู

ภาวะซึมเศร้า คืออะไร ?

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องโรคซึมเศร้ามาบ้าง ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะเป็นช่วงที่มีข่าวนักดนตรีท่านหนึ่งได้เสียชีวิตลงจากการกระโดดคอนโดมิเนียม ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากการเสียใจเรื่องของความรักและมีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

จากข่าวนั้นทำให้หลายๆ คนในประเทศเราเริ่มให้ความสนใจโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น รวมถึงเพื่อนๆ ของผู้เสียชีวิตก็ช่วยกันออกมารณรงค์เรื่องการรับฟังเพื่อนหรือคนใกล้ตัวให้มากขึ้น เพราะนี่คือโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างใส่ใจและจริงจัง

คลิก! \"ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า\"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

โรคซึมเศร้านั้น คือ โรค อาการที่เกิดจากความรู้สึกผิดหวัง เสียใจอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนหรือเจอกับความเครียดความกดดันเป็นเวลานาน ทำให้ความผิดหวังเสียใจหรือความต้องการโต้แย้งนั้นเป็นยาวนานกว่าอารมณ์ปกติ

ส่งผลให้มีอาการทางร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หมดความสนใจโลกภายนอก มองโลกแง่ร้าย ขาดความมั่นใจ หรือจนกระทั่งไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา เพื่อให้คนป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติให้ได้

เช็กสาเหตุของโรคซึมเศร้า

เกิดได้จากหลายปัจจัยหลักเหล่านี้ คือ

1.พันธุกรรม จากการวิจัยพบว่าคนที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีอาการเป็นซ้ำๆ หลายครั้ง

2.สารเคมีในสมอง เปลี่ยนไปจากปกติไม่สมดุลย์ ซึ่งก็คือสาร ซีโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดต่ำลง และความบกพร่องของการทำงานร่วมกันของทั้งสารรับและส่งสื่อประสาท

3.ลักษณะนิสัย คนที่มองโลกแง่ร้าย มองทุกอย่างไม่ดีรวมถึงตัวเองด้วย ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ตัวเองซึมเศร้าได้

4. สภาพแวดล้อม เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น การผิดหวังอย่างรุนแรง การเลี้ยงดูลูกแบบที่ไม่เคยได้รับการปฏิเสธมาก่อนเลยในชีวิต ได้รับความกดดันในชีวิตแล้วไม่สามารถรับมือได้ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าเหลืออยู่ 

คลิก! \"ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า\"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

 

DMIND “AI คัดกรองภาวะซึมเศร้า”

DMIND เป็นแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ช่วยให้ประชาชนประเมินความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าจากลักษณะการแสดงออกทางหน้าตา น้ำเสียง และข้อความ สามารถประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นได้อัตโนมัติ มีความถูกต้อง แม่นยำ ช่วยลดขั้นตอนในการวินิจฉัยของแพทย์

DMIND เป็นโครงการที่พัฒนาร่วมกันระหว่างคณะ แพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์วิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม(UTC) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มา วิเคราะห์ ใบหน้า น้ำเสียง และข้อความ เพื่อวิเคราะห์ ความเสี่ยง โรค ซึมเศร้า โปรเจค DMIND ได้ถูกวิจัย และพัฒนามากกว่า 3 ปี จึงสามารถมั่นใจได้กับความ แม่นยำ

แบบทดสอบสุขภาพใจ กับคุณหมอพอดี

หมอพอดีคือใคร? หมอพอดีเป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกออก แบบมาเป็นเพื่อนที่พร้อมรับฟังทุกความรู้สึก ของคุณ และสามารถประเมินระดับความซึมเศร้าของ คุณได้ พัฒนาขึ้นโดย DMIND

หมอพอดี ต่างจากแบบประเมินซึมเศร้าทั่วไปยังไง? มากกว่าแบบประเมินทั่วไปหมอพอดีสามารถวิเคราะห์น้ำเสียงและการแสดงสีหน้าของคุณได้ ในรูปแบบของ การพูดคุย ทำให้รู้สึกเหมือน ได้ระบายกับคนจริง ๆ

ปรึกษาหมอพอดีตอนไหนดี? สามารถปรึกษาได้ตลอด หากคุณรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกเศร้าคุยกับหมอพอดี เพื่อ ประเมินระดับความเสี่ยง โดยทำแบบทดสอบ โรคซึมเศร้า ก่อนปรึกษานักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ ก็ได้เหมือนกัน

จะคุยกับหมอพอดียังไง สามารถคุยกับหมอพอดีได้ ผ่านลิงก์ด้านล่าง หรือ ช่องทางแอปพลิเคชั่นหมอ พร้อม และไลน์ แอด “หมอพร้อม”

เพียงเลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ” ก็จะพบกับแบบ ประเมินสั้น ๆ และหมอพอดีที่รอคอยจะรับฟังเรื่องราว ของคุณ พร้อมประเมินระดับความซึมเศร้าให้คุณได้

คลิก! \"ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า\"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

เพิ่มช่องทางประเมินสุขภาพใจผ่าน @ line สปสช.

นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตร่วมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ DMIND โดยการใช้ข้อมูลบริการสายด่วนสุขภาพจิต ว่าน้ำเสียงของเคสซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตายมีลักษณะอย่างไร รวมทั้งมีจิตแพทย์ร่วมพัฒนา เพื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของการประเมินด้วยปัญญาประดิษฐ์ DMIND ให้ถูกต้องเมื่อเทียบกับการประเมินของจิตแพทย์ให้ได้มากที่สุด

เมื่อถูกประเมินจากปัญญาประดิษฐ์ DMIND แล้วพบว่าเป็นเคสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตาย และยินดีให้บุคลากรสาธารณสุขดูแล นักจิตวิทยาจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 จะติดต่อไปยังข้อมูลที่เคสเสี่ยงให้ไว้ เพื่อทำการประเมินและให้บริการให้การปรึกษา ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย จะส่งต่อไปยังปฏิบัติการดูแลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

ความร่วมมือในวันนี้เป็นอีกก้าวสำคัญ ที่จะเป็นอีกก้าวของการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการ การประเมินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เคสซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ได้รับบริการการดูแล อย่างรวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สปสช. ได้สนับสนุนกรมสุขภาพจิตในการจัดบริการ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ผ่านทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง ภายใต้สิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่ให้การดูแลคนไทยทุกคน 

ทุกสิทธิ ไม่จำกัดอายุ ซึ่งการให้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 แต่ละครั้ง การดูแลและให้คำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะต้องใช้เวลา ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับบริการได้ ขณะที่ปัญหาทางจิตใจและสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า บางครั้งอาจต้องได้รับการประเมินและดูแลโดยเร็ว

จากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแอปพลิเคชัน DMIND เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้รับบริการ สปสช. จึงได้สนับสนุนการเข้าถึงบริการ โดยเพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการผ่าน “ไลน์ สปสช.” ที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งประชาชนไทยทุกคนทุกสิทธิรักษาพยาบาล สามารถกด Click ที่รายการ “ตรวจสุขภาพใจ กับ DMIND” ด้านล่างขวามือ และทำตามขั้นตอนแนะนำง่ายๆ ที่แอบให้คำแนะนำ และจะได้รับการคัดกรองผ่านระบบ AI

โดยในกรณีเป็นผู้มีความเสี่ยง ระบบจะติดต่อกลับโดยนักจิตวิทยาสำหรับผลจากการตรวจคัดกรองนี้ กรณีผู้ใช้สิทธิบัตรทอง หากพบว่าท่านเป็นผู้ที่มีเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าจำเป็นต้องทำการรักษา สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำของท่านได้ โดยแพทย์ที่หน่วยบริการประจำหลังทำการประเมินแล้วท่านมีภาวะที่จำเป็นต้องได้พบจิตแพทย์ ก็จะมีการส่งต่อเพื่อรับการดูแลต่อไป โดยใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ดูแลตรวจสุขภาพใจครบวงจร 

 รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เล็งเห็นว่าการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาช่วยแก้ปัญหาจะทำให้กระบวนการเข้าถึงผู้ป่วยทำได้รวดเร็วขึ้นส่งต่อให้ผู้ให้บริการทางสุขภาพ

จากหน่วยงานต่างๆได้อย่างเป็นระบบด้วยประสิทธิภาพที่ดีซึ่งความก้าวหน้าทางปัญญาประดิษฐ์นทางคณะแพทยศาสตร์ได้มีโอกาสพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยนวัตกรรมและกำลังคน ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มาหลายโครงการในเวลาหลายปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชัน DMIND ถือเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมที่เราได้มีการระดมสมองตั้งแต่ได้รับโจทย์จากกรมสุขภาพจิตที่ต้องการเครื่องมือช่วยคัดกรองภาวะซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพสามารถจัดแบ่งความรุนแรงได้ตรงเพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลที่เหมาะสมกับแต่ละคน

คลิก! \"ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า\"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

ศ. ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนำ AI มาช่วยในการพัฒนาบริการทางการแพทย์ยุคใหม่ ถือเป็นแนวโน้มที่สำคัญแห่งอนาคต เพื่อที่จะสร้างบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูง เข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การที่จะนำ AI มาใช้งานจริงในด้านการแพทย์ อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันขององค์กรต่างๆเพื่อให้เกิดระบบนิเวศ หรือ ecosystems ที่ครบวงจร

  • ตั้งแต่ในส่วนต้นน้ำคือการทำงานร่วมกันระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ และทีมวิจัยด้าน AI
  • ในส่วนกลางน้ำคือทีมพัฒนาและสนับสนุนระบบงาน และในส่วนปลายน้ำคือหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่นำระบบ AI ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการดูแลคนไทยที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ รวมไปถึง หน่วยงานที่ดูแลคนไทยในด้านสิทธิการเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งกิจกรรมนี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแม่นยำในการประเมิน รวมไปถึงการรองรับผู้ใช้จำนวนมาก 
  • แล้วส่งต่อให้เกิดการนำไปสู่การใช้งานจริงของส่วนปลายน้ำ โดยทีมสายด่วนของกรมสุขภาพจิต และ Hope Task Force มีการสนับสนุนสิทธิรักษาพยาบาลจากทาง สปสช. จะเห็นได้ว่า ถ้าเราไม่มี ecosystems ที่ต่อเนื่องและครบถ้วนแบบนี้ DMIND จะไม่สามารถสร้างคุณค่าที่เกิดประโยชน์ให้กับสังคมในวงกว้างได้อย่างเต็มที่

ขั้นตอนการรักษา "ภาวะซึมเศร้า" เป็นอย่างไร

ส่วนมากแล้วผู้ป่วยต้องอาศัยความกล้าหาญเพื่อผ่านขั้นตอนการแรก คือ การยอมรับว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและรับการรักษาก่อน แล้วถึงมาสู่ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาที่จะได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งขั้นตอนการซักถามนี้สำคัญมากที่จะต้องเล่ารายละเอียด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้คุณหมอทราบและวินิจฉัยให้ตรงกับระยะของอาการที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด เพียงแต่อาจต้องระวังว่าอาการซึมเศร้านี้ไม่ได้มีสาเหตุจากโรคทางกายจริงๆ เพราะถ้ามีสาเหตุจากโรคทางกายจะสามารถรักษาที่ต้นเหตุได้โดยตรง เช่น อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคสมองอับเสบ โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น

1. ซักถามอาการที่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ครั้งแรกที่มีอาการจนถึงปัจจุบัน ยิ่งเล่าได้ละเอียดเท่าไหร่แพทย์จะยิ่งเข้าใจอาการของคุณได้มากเท่านั้น ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคโดยตรง

2.ซักถามประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว ยาที่กินเป็นประจำ เพื่อหาสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า

3.ถามประวัติความเจ็บป่วยจากเครือญาติ เพื่อดูสาเหตุทางพันธุกรรม

4.ตรวจร่างกาย ส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น เพื่อหาสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

5.ซักประวัติญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพื่อให้ทราบอาการและเรื่องราวที่ชัดเจนมากขึ้น

การรักษาโรคซึมเศร้าจึงต้องไปพบแพทย์ เพราะบางครั้งอาการที่เราเป็นอาจจะยังไม่ใช่โรคซึมเศร้าแต่อาจเป็นสาเหตุของโรคทางกายดังกล่าวข้างต้น หรืออาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการปรับตัวไม่ได้จากปัญหาก็เป็นได้

คลิก! \"ตรวจสุขภาพใจ ซึมเศร้า\"ง่ายๆ ผ่าน DMIND และ ไลน์สปสช.

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า

การรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถทำได้หลายวิธี จากข้อมูลของ American Psychiatric Association, Oct 2020 ได้ระบุไว้ 3 วิธี คือ

1.   การรักษาด้วยการทานยา (Medication)

โดยปกติแล้วการได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้านั้น เพื่อการค่อยๆ ปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ในผู้ป่วยที่อาการไม่มากยิ่งสามารถรักษาได้หายขาดจากการกินยา โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์และจะไม่ได้ดีขึ้นโดยทันที  เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์จะให้ทานยาต่อเนื่องไปอีก 4-6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดปริมาณยาลงในอีก 2-3 เดือนต่อมาจบหยุดยาในที่สุดเพื่อป้องกันการกลับมาป่วยซ้ำ

แต่ในผู้ป่วยที่ปรากฎอาการป่วยซ้ำ 2-3 ครั้ง ร่วมกับมีพันธุกรรมจากญาติผู้ป่วย หรือกลับมาเป็นซ้ำใน 1 ปี หรือเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือมีอาการรุนแรง และอันตราย  2 ครั้งใน 3 ปีแพทย์จะจ่ายยาป้องกันในระยะยาวเพิ่มให้ด้วย

ยารักษาโรคซึมเศร้าทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยต่างกันในแต่ละชนิด แพทย์ผู้รักษาจะใช้ความเชี่ยวชาญในการเลือกยาและปรับปริมาณให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นควรทานยาให้ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อผลในการปรับยาให้คงที่และเหมาะกับการรักษาของเรา ซึ่งด่านทานยารักษาโรคซึมเศร้านี้ คือด่านที่ยากที่สุดในการรักษา เพราะผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถอดทนผลข้างเคียงจากยาหรือเข้าใจเองว่ายาทำให้ร่างกายแย่ลง แล้วหยุดกินยาเอง ลดปริมาณยาเอง หรือแม้กระทั่งหยุดการรักษาเองทำให้อาการของโรคกลับมาอีกต้องเข้าสู่การรักษาใหม่อีกครั้ง

กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษา คือ SSRI (serotonin reuptake inhibitor) ซึ่งกลไกสำคัญคือจะไปยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนินกลับเข้าเซลล์ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท ปัจจุบันใช้ยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้แก่ยา Fluoxetine และ Sertraline ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ กระวนกระวาย และนอนหลับยาก หรือในบางคนอาจเกิดอาการปวดหัวที่มักจะเกิดไม่นานร่วมด้วยก็ได้

2. การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy), CBT (Cognitive Behavioral Therapy) และ Satir

การรักษาด้วยจิตบำบัดนั้น ใช้วิธีการสื่อสารทางคำพูด การสื่อสารด้วยภาษาร่างกายต่างๆ และความไว้วางใจระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเช้าใจตัวเอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปัญหาหรือปรับสภาพจิตใจของผู้ป่วย มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น

  • จิตบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆ ที่สะสมไว้ออกมาได้แบบอิสระ ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีนักจิตวิทยาที่จะช่วยดูแลให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย
  • จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นการปรับความคิดความเข้าใจ จากความรู้สึกด้านลบต่างๆ ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยซึมเศร้า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นความคิดด้านลบของตัวเองและรู้วิธีที่จะจัดการวิธีคิดในทางที่เหมาะสมได้
  • จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสร้างแรงจูงใจจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากโรคซึมเศร้าให้กลับมามีสมาธิอยู่กับปัจจุบันได้ ด้วยการสร้างเป้าหมายที่ขัดเจน การทำตามแผนที่วางไว้ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และฝึกการเข้าสังคม

การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาจากอาการปัจจุบันและปัจจัยทีทำให้เกิดปัญหา เพื่อปรับความคิดให้ผู้ป่วยมีกลับมามีความคิดที่สมเหตุผล ออกจากความคิดด้านลบ มองปัญหาให้ออก เข้าใจปัญหา เพื่อให้สามารถหาข้อสรุปให้กับปัญหาอาการซึมเศร้าของตัวเองได้ และช่วยป้องกันการซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้วยการใช้เทคนิคเหล่านี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • การบอกอารมณ์ของตัวเองได้ว่ารู้สึกอย่างไร
  • ประเมินระดับอารมณ์ของตัวเองได้ เพื่อดูระดับความรุนแรงและการขึ้นลงของอารมณ์
  • อธิบายความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติได้
  • รู้จักรูปแบบความคิดที่บิดเบือน
  • ประเมินความคิดตัวเองได้
  • การปรับความคิด

CBT จะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด ยังไม่มีอาการไบโพล่า และไม่ม่ีความบกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการรักษา

ส่วน Satir model หรือทฤษฎีชาเทียร์ คือ ศาสตร์ของจิตบำบัดในรูปแบบของการเข้าใจความเชื่อของตัวเองแล้วเปลี่ยนชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเปรียบเทียบจิตใจของคนเป็นชั้นต่างๆ ในรูปแบบของภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้มองเห็นภาพได้ผ่าน 3 ขั้นตอนหลัก คือ

  • การตั้งเป้าหมาย หรือการหาข้อดีของตัวเราเอง
  • เรียนรู้ทฤษฎี Satir Iceberge และการนำไปใช้
  • การรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อให้ได้เป้าหมายทั้ง 3 ด้านคือ สุขภาพดีทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ มีความสุข และมีความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า หรือ ECT (Electroconvulsive Therapy)

ECT เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ด้วยการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยมักจะได้รับ ECT 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาทั้งหมดถึง 12 ครั้งโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เช่น จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์ ECT

การดูแลร่างกายผู้ป่วย

  • ให้ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือโดนแสงแดดอ่อนๆ เช่น เดิน วิ่ง หรือ ว่ายน้ำ โดยเฉพาะการออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น จะช่วยเพิ่มการเข้าสังคมด้วย
  • อย่าตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไป ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป แล้วรอดูผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแทนดีกว่า
  •  เลือกทำกิจกรรมที่เราชอบหรือรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำ โดยเฉพาะที่ได้ทำร่วมกับคนอื่น
  • ที่สำคัญที่สุด อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อชีวิตในช่วงนี้
  • จัดลำดับความสำคัญเรื่องต่างๆ แยกออกมาเป็นหัวข้อย่อยที่เราสามารถทำได้ จะได้ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป

คำแนะนำญาติผู้ป่วย

  •  ทำความเข้าใจก่อนว่า เค้าคือผู้ป่วยจากโรค ไม่ใช่อาการท้อแท้ไม่ต่อสู้ปัญหา
  •  ทำตัวปกติ อย่าต่อว่าใดๆ คอยสอบถามชวนคุยเล็กๆ น้อยๆ อย่างใจเย็น ให้ผู้ป่วยค่อยๆ พูดคุยระบายความรู้สึกไม่เครียด
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องการรับฟังผู้ป่วย และการใช้คำพูดต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลใกล้ชิด
  • ดูแลเรื่องการทานยาอย่างเคร่งครัด เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
  • ถ้ามีคำพูดหรือการกระทำแสดงการไม่อยากมีชีวิตอยู่ อย่าตื่นตระหนก ค่อยๆ พูดคุยให้ผู้ป่วยแสดงความคิดเห็นออกมาเพื่อลดความเครียด แล้วพูดแสดงให้เห็นคุณค่าของของผู้ป่วย แต่ถ้าผู้ป่วยยังเครียดมาก ควรพาไปพบแพทย์
  • หากลุ่มพูดคุยสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อให้ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นแบบง่ายๆ และให้ผู้ป่วยมีเพื่อน

สำหรับใครที่กำลังกังวลใจ หรือสงสัยว่าตนเอง หรือคนใกล้ตัวอาจเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถคัดกรองเบื้องต้น โดยทำแบบทดสอบซึมเศร้า ตรวจสุขภาพใจ กับคุณหมอพอดี ได้ที่นี่หรือ ปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ้างอิง: กรมสุขภาพจิต ,agnoshealth ,สปสช.