'ภาวะสมองล้า' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

'ภาวะสมองล้า' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

ความเสื่อมของร่างกายย่อมเป็นไปตามช่วงอายุ ยิ่งอายุมาก หรือคนวัยทำงานที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก ไม่พักไม่ผ่อน ทำงานหนัก มีความเครียดสะสม อาจส่งผลให้อวัยวะสำคัญอย่างสมองเกิดภาวะสมองล้าได้

Keypoint:

  • ‘ภาวะสมองล้า’ เป็นภาวะที่เกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนวัยทำงาน  ยิ่งปัจจุบันผู้คนต้องแข่งขันกันมากขึ้น การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ทำให้มีโอกาสดูแลสุขภาพน้อยลง บ่อยครั้งที่วัยทำงานเผชิญความเจ็บป่วย รบกวนทั้งการใช้ชีวิต อาชีพ และการเข้าสังคม
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การนอนหลับที่ไม่ดี พักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การได้รับยาบางชนิด ไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นต้น
  • การบำรุงสมองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากรู้จักการทำงาน ใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ในเวลาที่พอดีแล้ว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด การเลือกทานอาหาร หรือวิตามินบำรุงสมอง ป้องกันภาวะสมองล้า

หากไม่นับความเจ็บป่วยทางกายยังมีความเจ็บป่วยทางใจ และระบบประสาท โดยเฉพาะปัญหาด้านความจำที่แย่ลงที่ปกติควรพบในวัยสูงอายุแต่มาพบในวัยทำงาน ทำให้สร้างความกังวลว่าตัวเราจะกลายเป็นโรคสมองเสื่อมตั้งแต่อายุน้อยหรือเปล่าภาวะนี้เรียกว่า ‘ภาวะสมองล้า’ หรือ Brain fog

'ภาวะสมองล้า' เป็นกลุ่มอาการที่มักจะประกอบไปด้วยปัญหาด้านความจำระยะสั้นแย่ลง สมาธิถดถอยไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้ยาวนานจนมักส่งผลให้ทักษะการทำงานและการวางแผนลดลง ทำให้ภาวะนี้มักพบได้ชัดเจนในคนวัยทำงาน ซึ่งต้องใช้ทักษะความคิดและความจำค่อนข้างมาก

เมื่อเริ่มมีอาการมากขึ้นส่งผลให้ความจำและการทำงานของสมองลดลง ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อมก่อนวัย อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว เพราะฉะนั้นควรใส่ใจดูแลบำรุงสมองตั้งแต่วันนี้ก่อนสายเกินแก้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อย่าขี้เกียจแปรงฟัน! วิจัยพบ 'โรคเหงือก' เชื่อมโยงต่อ 'ภาวะสมองเสื่อม'

เช็ก ตัวเร่ง ตัวร้าย มีผลต่อสมอง รู้ไว้ ห่างไกล 'สมองเสื่อม'

 

รู้จักภาวะสมองล้า โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิต

ภาวะสมองล้า (Brain Fog) คือ ภาวะที่สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง เพราะสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อมูล หรือส่งสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทเสียสมดุล ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง มีการเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนมีหมอกลงในสมองทำให้ไม่สดใส Brain Fog Syndrome หากเกิดบ่อยครั้งจะกลายเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคกระเพาะ, โรคอ้วน, ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ, โรคเบาหวาน ฯลฯ

ภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากความเร่งรีบที่จะทำงานให้เสร็จ การพักผ่อนน้อย หรือการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป 

\'ภาวะสมองล้า\' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุของภาวะสมองล้า

  • ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่มีส่วนสำคัญที่ทำให้โอกาสเกิดภาวะสมองล้าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
  • คลื่นแม่เหล็ก จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บแล็ตมากเกินไป รบกวนการหลั่งสารสื่อประสาทในสมอง
  • ความเครียด ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง เกิดอาการมึนงง ความจำแย่ลง
  • นอนดึก นอนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย
  • ขาดสารอาหาร อาทิ กรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  • สารพิษในชีวิตประจำวัน เช่น มลภาวะ สารเคมี โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในอากาศ น้ำ และอาหาร

 

เช็กร่างกายมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Burnout Syndromeหรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน จนคุกคามชีวิต ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และมีผลต่อการลาออกของพนักงาน แต่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Brain Fog หรือภาวะสมองล้า ซึ่งเกิดจากสมองทำงานหนักมากเนื่องจาก

  • พักผ่อนน้อย จนมีอาการอ่อนล้า
  • นอนไม่หลับ นอนหลับยาก  นอนหลับไม่สนิท
  • ขาดการดูแลด้านโภชนาการที่ดี
  • มีการสะสมของสารพิษโลหะหนัก สารพิษจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
  • ความเครียดสะสม
  • อนุมูลอิสระในร่างกาย
  • การอักเสบซ่อนเร้น
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ
  • ขาดน้ำหรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • มีอาการทางจิตประสาทหรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ร่วมด้วย
  • สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • อารมณ์แปรปรวน

สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของร่างกายถดถอย ต่อมหมวกไตจึงทำงานหนักขึ้น สารสื่อประสาทในสมองเริ่มแปรปรวน  การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเริ่มลดลง จึงมักจะรู้สึกหัวตื้อ มึนงง ปวดหัว คิดช้า จำเรื่องราวหรือสิ่งที่เพิ่งจะทำลงไปไม่ได้ เหนื่อยล้าทางจิตใจง่าย อารมณ์แปรปรวน หากปล่อยไว้อาจมีโอกาสเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยได้

\'ภาวะสมองล้า\' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงภาวะสมองล้า

  • จัดลำดับงานที่สำคัญจากมากไปน้อย 
  • หยุดเล่นโทรศัพท์สักพักหรือหยุดเสพติดข่าวหรือสื่อที่ทำให้เครียดในช่วงที่กำลังเครียดจากงาน
  • มองโลกในแง่บวก และหาเวลาทำกิจกรรมโปรด เพื่อปรับอารมณ์และผ่อนคลาย
  • นอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเช้า 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ ในช่วงที่มีความเครียด เพราะยิ่งทำให้สมองล้า
  • ฝึกสมาธิ

รักษาสมองไม่ให้ล้า

การรักษาภาวะสมองล้าจำเป็นที่จะต้องปรับวิธีการใช้ชีวิต ทั้งในด้านพฤติกรรม อาหาร จิตใจ การออกกำลังกาย รวมถึงการล้างสารพิษ ได้แก่

  • ควบคุมการใช้เทคโนโลยีในเวลาที่เหมาะสม ไม่นานจนเกินไปหรือตลอดทั้งวัน ควรหยุดพักบ้างเป็นระยะ
  • คิดบวก มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ไม่เครียด
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสมอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 – 8 ชั่วโมง และควรนอนในเวลา 4 ทุ่มไม่เกินเที่ยงคืน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้สุขภาพสมองแข็งแรง
  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และไม่ดื่มกาแฟในช่วงเย็นเพราะอาจรบกวนการนอนหลับ
  • ท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อผ่อนคลายและได้สูดออกซิเจนให้เต็มปอด ช่วยเติมพลังชีวิตได้ดี

\'ภาวะสมองล้า\' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

สารอาหารบำรุงสมอง ป้องกันภาวะสมองล้า

สารอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ประกอบไปด้วย

  • น้ำมันปลา (Fish Oil)

ประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ซึ่งมีมากในปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ช่วยป้องกันโรคเสื่อมต่าง ๆ มีความสำคัญทั้งด้านความจำของสมอง ทักษะการทำงานด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Motor Skill) และระบบการมองเห็นของจอประสาทตา (Retina) เป็นต้น

สารสกัดจากแปะก๊วย (Ginkgo Biloba Extract) ช่วยในการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น ป้องกันภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน เพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นแก่ผนังหลอดเลือด เพิ่มพลังงานแก่เซลล์สมองโดยตรง ช่วยให้สมองมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และมีความจำที่ดี มีสารต้านอนุมูลอิสระจำพวกกลุ่มฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

  • โคลีน (Choline Bitartrate)

คือ สารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท รวมทั้งไลโปโปรตีน (Lipoprotein) อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาทของสมอง การรับสารโคลีนเพียงพอต่อวัน จะช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้

  • สารสกัดจมูกข้าว (Gamma Oryzanol)

มีบทบาทสําคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (Inhibitor) โดยทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย

  • ธีอะนีน (L – Theanine) เพิ่มสารซีโรโทนิน (Serotonin), โดพามีน (Dopamine) และกาบา (GABA)

ทำให้เกิดความผ่อนคลาย (Relaxation) และลดความเครียดได้ เสริมให้จิตใจสงบ มีสมาธิมากขึ้น ไม่หงุดหงิดง่าย ช่วยให้ลำดับความคิดเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น นอนหลับสนิทและเต็มอิ่ม

  • ฟอสฟาติดิลซีรีน (Phosphatidylserine)

ไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งไม่สามารถรับได้จากอาหารทั่วไป แต่ร่างกายสามารถผลิตได้เองเพื่อปกป้องเซลล์สมองให้มีสุขภาพที่ดี ป้องกันหรือชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมอง ช่วยรักษาความจำที่บกพร่อง โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ โรคสมองเสื่อม Dementia ช่วยซ่อมแซมความเสียหายของสมอง คงสภาพระบบประสาทการรับรู้ในผู้สูงอายุ กระตุ้นการทำงานของสมองของเอนไซม์ต่าง ๆ สารสื่อประสาท และอาจช่วยปรับปรุงความทรงจำ เพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้ในทุกช่วงวัย ลดอาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD) ลดความเครียด  ลดความอ่อนล้าของสมอง ให้เกิดความสมดุลทางอารมณ์ โดยกระบวนการผลิตสารชนิดนี้จะลดลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น

  • อิโนซิทอล (Inositol)

สารชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีที่มีบทบาทสำคัญในระบบประสาทและระบบการกำจัดไขมันในร่างกาย อุดมไปด้วย Colostrums สารอาหารในน้ำนมแม่ระยะ 4 -5 วันแรก มีประโยชน์ในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) โดยเฉพาะเยื่อหุ้มระบบประสาท (Myelin Sheath) เซลล์รากผมที่ทำหน้าที่สร้างผม และเซลล์ไขกระดูกให้มีความแข็งแรงสมบรูณ์

  • สารสกัดจากโสม (Ginseng Extract)

พืชสมุนไพรที่นิยมมากกว่า 5,000 ปี มีความเชื่อกันว่า รากโสมสามารถรักษาได้สารพัดโรค สารสกัดจากโสมมีสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด ช่วยต้านความเครียด ช่วยฟื้นฟูและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยชะลอความแก่

  • ซอยเลซิทิน (Soy Lecithin)

มี Phosphaticylcholine ให้สารโคลีน ช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones) ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม

  • แอลคาร์นิทีน แอลทาร์เทรต (L-Carnitine L-Tartrate)

มีบทบาทสำคัญในส่วนของการผลิตอะซิติลโคลีน (Acetylcholine) สารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสมอง และเซลล์ประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม (Dementia) โดยสามารถทานควบคู่กับยาที่ใช้ในการรักษา เพราะกรดอะมิโนนี้มีความสามารถในการซึมผ่านเส้นเลือดฝอยขนาดจิ๋วในสมอง หรือที่เรียกกันว่า Blood Brain Barrier (BBB) ได้ นอกจากช่วยเสริมสร้างสารสื่อประส่าทในสมองยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น กำจัดอนุมูลอิสระในสมองและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองอันเนื่องมาจากความชราได้

  • วิตามินซี Vitamin C (Calcium Ascorbate)

มีความสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมสารโปรตีนที่ใช้ยึดเซลล์ในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันในร่างกาย ได้แก่ เนื้อเยื่อหลอดเลือดฝอย กระดูก ฟันและพังผืด การรักษาบาดแผลในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ร่างกายได้รับเข้าไป และมีส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

  • วิตามินเอ (Vitamin A Acetate)

เป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น เสริมสร้างให้กระดูก ฟัน และเล็บแข็งแรง นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจและระบบปัสสาวะ ผิวและผมแข็งแรง ช่วยบรรเทาโรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์ได้

  • วิตามินอี (Vitamin E DL – Alpha – Tocopheryl Acetate)

สารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ดี ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงภาวะผนังหลอดเลือดแข็งตัว, โรคหัวใจ, ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะปวดอักเสบข้อ, ความแก่ หรือภาวะมะเร็งตามมาได้ในระยะยาว

  • วิตามินบี (Vitamin B Complex)

มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยในการผลิตกรดอะมิโน เสริมสร้างร่างกายที่สึกหรอ ช่วยรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ Vitamin B1 ช่วยลดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า Vitamin B2 ช่วยเร่งขบวนการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรตและไขมัน Vitamin B3 ทำให้ร่างกายสดชื่นได้อย่างรวดเร็ว Vitamin B5 ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น บำรุงผิวหนังและระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น Vitamin B6 จำเป็นในขบวนการสร้างฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย ลดอาการสมองเสื่อมและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย Vitamin B12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็กและระบบการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเร่งขบวนการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ให้เกิดเป็นพลังงาน

 อย่างไรก็ตาม  การบำรุงสมองให้แข็งแรงอยู่เสมอคือสิ่งสำคัญ นอกจากรู้จักใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ในเวลาที่พอดี พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด การเลือกทานอาหารเสริมบำรุงสมองที่ปรุงและวิจัยโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญมาตรฐานโรงพยาบาลเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ยิ่งถ้ามีส่วนผสมของน้ำมันปลา ธีอะนีน ฟอสฟาติดิลซีรีน สารสกัดจากแปะก๊วย โคลีน อิโนซิทอล โสม สารสกัดจมูกข้าว ซอยเลซิทิน แอลคาร์นิทีน แอลทาร์เทรต และวิตามินทั้งเอ บี ซี และอี ย่อมช่วยเสริมความจำ ลดความอ่อนล้าของสมอง ลดความเครียด ปรับสมดุลอารมณ์ ช่วยให้สมองแข็งแรงไม่เสื่อมก่อนวัย

\'ภาวะสมองล้า\' โรคใกล้ตัววัยทำงาน เช็กสัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม

การตรวจวินิฉัย ภาวะสมองล้า

ปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพในกลุ่มที่เริ่มมีภาวะสมองล้า เพื่อป้องกันความเสื่อมของสมองก่อนที่จะเกิดโรค ซึ่งจะมีการตรวจดังนี้ 

  • ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4) เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยทำให้สมองทำงานได้ปกติ กระฉับกระเฉง และกระตุ้นระดับการเผาผลาญในร่างกาย
  • ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA: Dehydroepiandrosterone) หรือฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกาย ผู้ที่มีความเครียดสะสมนานๆ ระดับฮอร์โมนตัวนี้จะลดลง
  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด หากมีมากจนเกินไปจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
  • การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic) เป็นการตรวจการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยมีรายการตรวจดังนี้
  • ระบบการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต, กรดไขมัน, วิตามินบี, โปรตีน
  • สมดุลสารสื่อประสาทในสมอง
  • สมดุลแบคทีเรียในลำไส้
  • การสัมผัสสารพิษในร่างกายและการดีท็อกซ์
  • การตรวจสารพิษโลหะหนักสะสมในปัสสาวะ (Toxic Heavy Metal) เพราะอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า จนมีอาการสับสน และสูญเสียความจำ เกิดจากสารพิษโลหะหนักที่สะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น สมอง ดังนั้นการหาสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย จึงต้องอาศัยการตรวจจากปัสสาวะ

อ้างอิง :โรงพยาบาลกรุงเทพ ,โรงพยาบาลศิครินทร์ ,โรงพยาบาลสมิติเวช , กรมการแพทย์