'กายภาพ' บำบัดออฟฟิศซินโดรม ลดปวดคอบ่าไหล่

'กายภาพ' บำบัดออฟฟิศซินโดรม ลดปวดคอบ่าไหล่

ออฟฟิศซินโดรม ถือเป็นปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะคนทำงาน ที่ต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดได้ตั้งแต่ปวดหัว คอ บ่า ไหล่ ร้าวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

Key Point :

  • ออฟฟิศซินโดรม มักเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย โดยเฉพาะในคนทำงาน หรือ มนุษย์ออฟฟิศ นั่งนาน อยู่ในท่าเดิมนานๆ 
  • ออฟฟิศซินโดรมเรียกว่ากระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะส่งผลต่ออาการ ปวดคอบ่าไหล่ หรือในบางรายที่เป็นมาก อาจมีอาการปวดร้าวไปยังส่วนอื่นๆ
  • การกายภาพบำบัด ซึ่งแต่เดิมหลายคนอาจจะมองว่าเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว สามรถ 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข พบว่า แต่เดิมออฟฟิศซินโดรมในประเทศไทย มักจะเกิดกับมนุษย์ออฟฟิศตั้งแต่ 30-40 ปี แต่ปัจจุบัน เริ่มเจอในเด็กอายุน้อยกว่า 20 ปี เนื่องจากพฤติกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ขยับตัวน้อยลง อยู่กับที่นานๆ มากขึ้น การอยู่ในท่าเดิมๆ ส่งเสริมให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้

 

ฐานพงศ์ ธนาวิสิฐพล กรรมการผู้จัดการบริษัท รีบาลานซ์ จำกัด กล่าวในช่วง เสวนา ‘การจัดการกลุ่มอาการปวดออฟฟิศซินโดรม โดยการทำกายภาพบำบัด’ ภายในงาน Health & Wealth Expo 2023 จัดโดย เนชั่น กรุ๊ป โดยระบุว่า อาการของ ออฟฟิศซินโดรม ที่มักจะเจอ คือ ปวดตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ร้าวในจุดต่างๆ เช่น ปวดคอร้าวไปที่แขน ปวดข้อมือ ปวดหลังร้าวไปจนถึงสะโพกหลังขา หรือมีอาการชาเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รบกวนชีวิตประจำวัน เป็นสัญญาณเตือนว่า ต้องดูแลตัวเองเพราะร่างกายฟ้องแล้วว่าจะทำงานต่อไปได้ลำบาก หากไม่ดูแลตัวเอง

 

\'กายภาพ\' บำบัดออฟฟิศซินโดรม ลดปวดคอบ่าไหล่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

"อาการของออฟฟิศซินโดรม อาจจะรู้สึกปวดกล้ามเนื้อเป็นจุดๆ หรือ เรื้อรัง เช่น เป็นทุก 1 สัปดาห์ หรือ 1 สัปดาห์จะมีอาการวันพุธ ต่อเนื่องมาวันศุกร์จะเป็นมากขึ้น เนื่องจากมีกิจกรรมนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน บางคนมีอาการปวดหัวเหมือนไมเกรน แต่ตึงที่ต้นคอร่วมด้วย ปวดกระบอกตา ปวดร่วมกับอาการปวดหัว ในบางรายอาจจะมีอาการปวดหลังระหว่างขยับตัวจากท่านั่งเป็นท่ายืน ในรายที่เป็นหนักมากขึ้น ก็อาจจะมีอาการร้าวไปที่ขา มีความตึงที่น่อง หรือชาไปจนถึงส้นเท้าได้ ในรายที่ใช้คอมพิวเตอร์เยอะๆ อาจจะมีอาการชาที่ข้อมือหรือปวดข้อมือได้เช่นกัน" 

 

ปัจจัยเสริมอาการปวด

ฐานพงศ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัจจัยที่เสริมอาการปวด เกิดจากสิ่งที่มนุษย์ออฟฟิศต้องเจอ คือ ความเครียด ความกลัว หรือบางคนที่เป็นเยอะขึ้นเพราะพยายามปฏิเสธอาการปวด บางคนมีอาการปวดเล็กน้อยแต่ไม่คำนึงว่าเป็นปัญหา ปล่อยทิ้งไว้ทำให้อาการหนักขึ้น หรือคนที่นอนไม่ค่อยหลับจะมีอาการปวดร่วมด้วย รวมไปถึง ปัญหาการเข้าสังคมทำให้เครียด บุคลิกภาพ บางคนชอบยืนนาน นั่งนาน เป็นปัจจัยจากพฤติกรรมต่างๆ ส่วนในเรื่องของชีวภาพ เกี่ยวข้องกับ อายุ เพศ พันธุกรรม ที่สามารถส่งเสริมทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

 

"จากผลสำรวจอาการปวดคอจากออฟฟิศซินโดรม พบว่า อายุประมาณ 40 – 69 ปี จะพบอาการปวดคอค่อนข้างเยอะ แต่ไม่ได้หมายความว่าอายุน้อยไม่เป็น เพราะพบตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ในปัจจุบันเด็กจะมีอาการปวดคอมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะลูกหลานอยู่หน้ามือถือ คอมพิวเตอร์ หน้าทีวี ขยับตัวน้อยลง ทำให้เกิดอาการเหล่านี้มากขึ้น ขณะที่ ผู้หญิงมีอัตราการปวดต้นคอมากกว่าผู้ชาย อาจจะเพราะความแข็งแรงทางกล้ามเนื้อหรือการใช้ชีวิตประจำวันที่ผู้หญิงอาจจะมีกิจกรรมน้อยกว่าผู้ชาย"

 

\'กายภาพ\' บำบัดออฟฟิศซินโดรม ลดปวดคอบ่าไหล่

 

ปวดคอบ่าไหล่ สูญค่าใช้จ่ายในการรักษา

ในปี 2013 มีงานวิจัยในประเทศไทย พบว่า คนทำงาน 7.7 ล้านคน กว่า 42% มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ มากที่สุด รองลงมา คือ บั้นเอว และ หลังส่วนบน สิ่งนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษา 48,000 ล้านบาทต่อปี และขณะนี้ผ่านมา 10 ปี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพราะเทคโนโลยีต่างๆ มีมากขึ้น

 

"คนที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เชื่อมโยงกับนายจ้างบริษัทต่างๆ เพราะเวลาปวดหลัง ปวดคอ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการลางาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ในการเข้าสังคมอาจจะอารมณ์เสียได้ง่ายเพราะมีอาการปวด หรือกลับไปที่บ้านเกิดความหงุดหงิด ซึ่งมีผลจากอาการปวดที่เกิดขึ้น"

 

นอกจากนี้ยัง พบว่า หากมีการออกกำลังกาย เกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ราว 5 – 10 นาที ประมาณ 3 ครั้งต่อวัน สามารถลดอาการปวดคอได้กว่า 60% ลดอาการปวดหลัง 66% และหลังล่างราว 60% แปลว่า หากยังออกกำลังกาย มีการขยับตัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้อาการปวดลดลง

 

กายภาพบำบัด บรรเทาอาการปวด

 

ทั้งนี้ การกายภาพบำบัด สมัยก่อนคนจะมองว่าเป็นการฝึกเดิน ฝึกนั่ง ฝึกนอนสำหรับผู้ป่วย แต่ความจริงคอนเซปต์ของกายภาพ คือ การดูแลความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด และออกกำลังกาย ช่วยให้อาการดีขึ้น

 

ฐานพงศ์ กล่าวต่อไปว่า อาการปวด เป็นสาเหตุเหนึ่งที่ทำให้การเคลื่อนไหวทำได้ไม่ดี เช่น หากเรานอนตกหมอน ปวดต้นคอก็ขยับคอได้ยาก หรือ ปวดเข่า เดินขึ้นลงบันไดก็ลำบาก ดังนั้น เป็นความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว และกายภาพจะมาดูแลในส่วนนี้ โดยการดูเรื่องของการปรับการเคลื่อนไหวให้ถูกต้อง หรือ มีข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ดีก็มีการปรับขยับข้อต่อ ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดให้อาการดีขึ้น และ การออกกำลังกาย ที่จำเป็นต่อการทำให้อาการปวดหาย และสามารถช่วยให้อาการปวดกลับมาช้าลง

 

"งานวิจัยบอกว่า คนไข้ที่เลือกไปหานักกายภาพที่คลินิก สามารถประหยัดเงินได้มากกว่าเวลาที่ไปสถานพยาบาลที่มีการส่งต่อเป็นทอดๆ เพราะการพบนักกายภาพโดยตรงสามารถดูแลได้ทันที การปรับ ขยับข้อต่อ สามารถทำให้อาการปวดต่างๆ ลดลง" 

 

การรักษาทางกายภาพบำบัดมีอะไรบ้าง

ในงานวิจัยยังบอกอีกว่า การปรับ ขยับข้อต่อ ช่วยในเรื่องของการลดอาการปวดลง ไม่ใช่แค่การนวดกล้ามเนื้อ แต่ดูในเรื่องของข้อต่อ การขยับของข้อต่อปกติเป็นอย่างไรและควรแก้ด้วยวิธีไหน การใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์ส่งความร้อนลึกลงไปเพื่อให้ถึงจุดที่ความร้อนไม่ถึง ในเรื่องของการกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยปรับการเคลื่อนไหวให้กล้ามเนื้อ เส้นประสาททำงานได้ดีขึ้น

 

"การใช้ความร้อนความเย็น เช่น เวลาปวดประคบร้อนเพื่อให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น หรือใช้ความเย็นเวลาเกิดบาดเจ็บประทันหันเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บมาก และสุดท้าย คือ การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง การเข้ายิมอาจจะช่วยเรื่องออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง แต่หากจะให้ครอบคลุมต้องเป็นการออกกำลังกายเพื่อการรักษา" 

 

ออกกำลังกายเพื่อการรักษา

สำหรับ รีบาลานซ์ ซึ่งมีคลินิกกายภาพบำบัด ทั้งหมด 17 สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในบางสาขามี พิลาทิส ช่วยคอนโทรลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากขึ้น โดยให้นักกายภาพบำบัดที่จบพิลาทิสเข้ามาดูแล เพื่อดูแลปัญหาของคนไข้ได้อย่างถูกต้อง หรือในเรื่องของการดีไซน์การออกกำลังกาย โดยมีทฤษฎีที่สมองมีการสั่งงาน เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการทำงาน

 

หากคนที่มีอาการและรู้สึกว่ารบกวนชีวิตประจำวัน สามารถขอรับคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดของ รีบาลานซ์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rebalancebangkok.com