ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง 'ปวดคอบ่าไหล่' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง 'ปวดคอบ่าไหล่' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

'ปวดคอบ่าไหล่' ปัญหาสุขภาพที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องพบเจออยู่เสมอ ยิ่งอาการปวดคอ กลุ่มอาการที่พบบ่อยถึงร้อยละ 40 หาก ปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจจะเรื้อรัง เพิ่มความรุนแรงจนกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการทำงานได้

Keypoint:

  • 'ปวดคอบ่าไหล่' โรคที่มาพร้อมกับการทำงาน อาการยอดฮิตที่ไม่ควรมองข้ามของหนุ่ม-สาวออฟฟิศที่อยู่หน้าคอมเป็นเวลานาน
  • หากมีอาการปวดคอบ่าไหล่ ร้าวลงไปที่แขน มีอาการชา อ่อนแรง อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม กดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง
  • ปรับพฤติกรรม ปรับชีวิตประจำวัน ปรับอุปกรณ์การทำงาน ควรลุกออกจากโต๊ะทำงานทุกๆ 2 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการแบกของหนักและการสะพายกระเป๋าโดยไหล่ข้างเดียว ลดเสี่ยงปวดคอบ่าไหล่

 ในยุคนี้การ 'ปวดคอบ่าไหล่' ดูจะเป็นโรคที่มนุษย์เงินเดือน หรือคนที่ต้องนั่งจอคอมพิวเตอร์ ก้มมองโทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต เป็นเวลานานๆ ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่ค่อยเน้นการยืน เดิน เคลื่อนไหว หรือออกแรงเหมือนแต่ก่อน 

ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สะบัก และบริเวณหลัง เป็นอาการเริ่มต้นของออฟฟิศซินโดรม เริ่มแรกคือ รู้สึก การนวดอาจจะช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะกลับมาเป็นอีก และเป็นเรื้อรังมากขึ้น

หากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่มาตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา อาจลุกลามจนเป็นโรคไมเกรน หรืออาจเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรงขึ้นตามมาได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

5 เคล็ดลับหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม

'ดราม่า HIV' ระวังOne Night Stand ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรค

อย่าปล่อยไว้! 'รอยช้ำ รอยจ้ำแดง'ตามร่างกาย สัญญาณเตือนโรคร้าย

 

อาการปวดคอ บ่า ไหลที่ควรระวัง

  • การปวดคอ

คอ ประกอบไปด้วยกระดูกคอ 7 ชั้นเรียงต่อกัน หมอนรองกระดูก เอ็นยึดระหว่างกระดูก เส้นประสาท และกล้ามเนื้ออาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่มีการเคลื่อนไหวในส่วนของคอมาก อาจทำให้มีอาการปวดคอ โดยเฉพาะผู้ที่นั่งทำงานในสำนักงาน หรือออฟฟิศนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือพิมพ์แป้นพิมพ์ต่อเนื่องหลายชั่วโมง การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งถ้าดูแลรักษาและปฏิบัติตนไม่ถูกวิธี จะทำให้อาการปวดคอรุนแรงมากขึ้น 

  • การปวดบ่า

จะเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างคอกับไหล่ ซึ่งในส่วนนี้มักจะปวดเมื่อย ปวดเกร็ง ตึงๆบ่า จากลักษณะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียด การใช้งานกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องได้ ก็จะทำให้สามารถค่อยๆหายดีขึ้นได้

ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง \'ปวดคอบ่าไหล่\' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

  • การปวดไหล่

จะปวดบริเวณช่วงโค้งของไหล่ หรือการปวดส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างลำตัวกับแขน ซึ่งมักจะปวดเมื่อยไหล่ เจ็บแปลบ ขยับเขยื้อนไหล่ลำบาก มีอาการตึงๆไหล่ โดยอาจมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนักๆผิดท่า การเล่นกีฬาต่างๆ เป็นต้น

 

เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจเกิดจากอุบัติเหตุ การขยับคอผิดจังหวะอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ชิ้นส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังบางส่วนเคลื่อนหลุดออกมากดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังได้

โดยแบ่งอาการได้เป็น 2 กลุ่ม

1. อาการของการกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดต้นคอ ร้าวไปตามต้นแขน แขนหรือมือตามตำแหน่งที่เส้นประสาทเส้นใดถูกกด ผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้นอาจมีอาการอ่อนแรงแขนหรือมือได้

2. อาการของการกดไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการ ขาอ่อนแรง เดินลำบาก เวลาเดินจะมีอาการขาตึง ๆ ชาตามลำตัว และลามไปถึงขาทั้ง 2 ข้างได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการมืออ่อนแรงร่วมด้วย โดยที่ไม่มีอาการปวดตามขาหรือแขนที่อ่อนแรง ส่วนอาการปวดคออาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง \'ปวดคอบ่าไหล่\' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

ปรับพฤติกรรม ดูแลตัวเองเมื่อมีอาการปวด

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาจะเริ่มจากการให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยบางรายที่ปวดมากอาจจำเป็นต้องใช้เฝือกอ่อนพยุงคอ (soft collar) เพื่อช่วยลดการขยับคอ ซึ่งทำให้หายปวดได้เร็วขึ้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นมากหรือหายได้ แต่ถ้าหากอาการปวดยังไม่หายหลังจากการรักษา 6-8 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือมือร่วมด้วย แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท

ส่วนการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังที่คอกดทับไขสันหลัง เนื่องจากไขสันหลังที่ถูกกดเป็นเวลานานจนมีอาการอ่อนแรงของขา หรือในบางรายมีการอ่อนแรงของมือร่วมด้วย หากไม่ได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับ    ไขสันหลังออก ผู้ป่วยอาจมีภาวะพิการหรืออัมพาตถาวรได้

ดังนั้น ประสาทศัลยแพทย์จะแนะนำผ่าตัดเกือบทุกราย ส่วนการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทางด้านหน้า (ACDF) เป็นวิธีที่ประสาทศัลยแพทย์นิยมและได้ผลดีที่สุด โดยการเอาหมอนรองกระดูกที่เป็นกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังออก หลังจากนั้นประสาทศัลยแพทย์จะเสริมช่องว่างที่เกิดขึ้น โดยใช้ชิ้นกระดูก ที่ได้มาจากการตัดกระดูกบริเวณสะโพกของผู้ป่วย หรือใช้วัสดุค้ำแทนที่หมอนรองกระดูก เพื่อเชื่อมกระดูกชิ้นบนและล่างให้กลายเป็นกระดูกชิ้นเดียวกัน

ในกรณีที่มีปัญหาหลายระดับและจำเป็นต้องผ่าตัดมากกว่า 1-2 ช่อง จะมีการยึดบริเวณด้านหน้ากระดูกสันหลังด้วยแผ่นโลหะและสกรู เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุที่ใส่ไว้แต่ละช่องเกิดการเลื่อนหลุดออกมาหลังการผ่าตัด วัสดุที่ใส่ไว้ในแต่ละระดับจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 เดือน เพื่อเชื่อมต่อเป็นข้อเดียวกัน

ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง \'ปวดคอบ่าไหล่\' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ค้ำบริเวณช่องว่างกระดูกสันหลัง ด้วยวัสดุที่เลียนแบบธรรมชาติของหมอนรองกระดูกที่สามารถทำให้ขยับก้มเงย หมุนคอ และเอียงคอได้เหมือนธรรมชาติ เรียกว่า หมอนรองกระดูกเทียม (artificial disc replacement) ซึ่งประสาทศัลยแพทย์ ในประเทศไทยได้ทำการรักษามานานกว่า 10 ปี แต่ด้วยวัสดุมีราคาแพงจึงยังไม่เป็นที่นิยม

3 กลุ่มอาการปวดคอบ่าไหล่

นพ.พิษณุ สุนทรปิยะพนธ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า สำหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. กลุ่มอาการทั่วไป สาเหตุเกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น (คิดเป็นร้อยละ 80) เกิดจากกล้ามเนื้อมีความเมื่อยล้าจากการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
  2. กลุ่มอาการกดทับของเส้นประสาท พบไม่บ่อยมากแต่ลักษณะอาการรุนแรง มีอาการปวดรุนแรง ตึง ร้าวลงแขน หรือมีอาการชาร่วมด้วย
  3. อาการกดทับของไขสันหลัง รุนแรงที่สุดแต่พบน้อยมาก (ร้อยละ 1-2%)

สาเหตุของอาการปวด

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะอาการ

  • การปวดแบบเฉียบพลัน หรืออาการกล้ามเนื้อยอก เคล็ด อาการที่พบได้บ่อยๆ เช่น นอนตกหมอน ลักษณะของอาการคือกล้ามเนื้อมีการตึง เกร็ง หันคอได้ลำบาก เป็นต้น
  • ปวดแบบกึ่งเฉียบพลัน หรือกลุ่มเรื้อรัง เป็นกลุ่มคนไข้ที่มีประวัติของอาการปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อมาก่อน ลักษณะของอาการเกิดขึ้นแบบเป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักเป็นเวลานานๆ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ไม่เพียงพอ ทำให้กลับมาเป็นได้อีก พบมากในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ

แนวทางรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

กลุ่มที่มีสัญญาณอันตรายร่วม หรือกลุ่มเฉียบพลัน เช่น มีลักษณะอาการกดทับเส้นประสาท มีประวัติอุบัติเหตุ มีโรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็ง  โรคกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ และในกลุ่มเด็กหรือผู้สูงอายุ ซึ่งลักษณะอาการต่างจากคนทั่วไป ต้องให้แพทย์ทำจากตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มที่ไม่มีสัญญาณอันตรายร่วม แบ่งการรักษาเป็น 2 วิธี คือ

  • กลุ่มที่ปวดแบบเฉียบพลัน เช่นกล้ามเนื้อยอก กล้ามเนื้อเคล็ด รักษาโดยการให้พักผ่อนอย่างเหมาะสมร่วมด้วยกับการให้ยา และทำกายภาพบำบัด หรือรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม
  • การรักษาแบบประคับประคอง เป็นกลุ่มที่มีอาการปวดทั่วไป ไม่รุนแรง สามารถรักษาตามอาการ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น แต่หากถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเรื้อรังที่นานเกินกว่า 6 สัปดาห์ แพทย์อาจมีการพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray กระดูกคอ เพื่อดูว่ามีอาการเสื่อม เคลื่อน หรือหมอนรองกระดูกยุบหรือไม่?

กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง หรือกลุ่มที่ทำการรักษาด้วยวิธีปกติไม่หาย ต้องมีการทำกายภาพเพื่อลดความเจ็บปวด และเสริมสร้างกล้ามเนื้อเข้าร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายตามโปรแกรมฝึก การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด อย่างการใช้เครื่องประคบร้อน เครื่อง shock wave การใช้ Laser หรือการออกกำลังกายแกนกลางลำตัว และที่สำคัญเมื่ออาการปวดหายแล้วต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดกลับมาเป็นซ้ำได้

ยิ่งงานหนักยิ่งเสี่ยง \'ปวดคอบ่าไหล่\' ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

ทริกง่ายๆ ไม่อยากปวดคอ บ่า ไหล่ ป้องกันได้

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การปรับท่านอน การเดิน ท่านั่ง ให้เหมาะสม
  • ปรับเปลี่ยนความเหมาะสมของสถานที่ทำงาน เช่น โต๊ะทำงาน เก้าอี้นั่งควรมีพนักพิงและที่วางแขน หรือ ลักษณะท่านั่งทำงาน
  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การยืดกล้ามเนื้อคอเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ และเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งหรือว่ายน้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ความเครียดยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้อาการปวดเหล่านี้ไม่หาย อาจต้องมีการรักษาทางด้านอารมณ์ และจิตใจ ควบคู่ไปกันด้วยกับการรักษาทางร่างกาย

อ้างอิง: กรมการแพทย์ ,โรงพยาบาลพญาไท 2