หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง 'อัลไซเมอร์' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง 'อัลไซเมอร์' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

วิวัฒนาการและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ขณะที่ผู้คนให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลตัวเองมากขึ้น แถมเทรนด์สุขภาพ ที่ถูกพูดถึงมากในปัจจุบันคือ การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน หรือ Self-Care มากกว่าการรักษาโรค ล้วนส่งผลให้ผู้คนมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

Keypoint:

  • เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของคนเราก็ค่อยๆ เสื่อมไปตามช่วงวัย ร่วมถึงสุขภาพของสมอง ในกลุ่มสูงวัยจึงมักพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์
  • 'อัลไซเมอร์' ไม่ใช่เพียงอาการหลงๆ ลืมๆ แต่จะมีปัญหาการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และบางคนอารมณ์รุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ควรเช็กสัญญาณเตือนอาการของโรค
  • การป้องกันอัลไซเมอร์ ต้องดูแลสุขภาพสมองตั้งแต่อายุน้อยๆ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง งดสูบบุหรี่ ลดเลิกดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย คิดบวก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และเช็กหู หากหูมีปัญหาอาจเสี่ยงเกิดโรค

ปี 2566 สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี จำนวนมากเกือบ 20% ของประชากรทั้งหมด และที่น่าสนใจ คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นหลายพันคน

ข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ ระบุว่าสิ้นปี 2565 ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวน 12,698,362 คน หรือคิดเป็นจำนวน 19.21% ของประชากรทั้งหมด 66,090,475 คน และในจำนวนผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคนนี้ เป็นชาย 5,622,074 คน และหญิง 7,076,288 คน โดยกลุ่มที่มากที่สุดประมาณครึ่งหนึ่งคือกลุ่มอายุ 60-69 ปี

นอกจากนั้น ข้อมูลประชากรของกรมการปกครอง เมื่อเดือนมี.ค.2566 พบว่า มีกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 36,986 คน เป็นชาย 18,456 คน หญิง 18,530 คน

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เช็ก 10 สัญญาณเตือน 'อัลไซเมอร์ 'เนื่องใน 'วันอัลไซเมอร์โลก'

ทำไม? 'แสง'ส่งผลต่อการนอน ฟื้นฟูสุขภาพ ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้

 

ดูแลสุขภาพสมอง ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์

โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ มีระยะเวลาในการก่อโรคนาน 15 – 20 ปี กว่าจะแสดงออกถึงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน เดิมพบว่าคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 10% ส่วนคนที่อายุ 85 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 40 – 50%

จากการศึกษาพบว่าโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ จะเริ่มมีอาการเริ่มต้น คือความจำถดถอยก่อน ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการยากในการวินิจฉัย จากภาวะความจำถดถอยตามอายุ จากภาวะความจำถดถอยที่เป็นการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

นอกจากนั้น สถิติของผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกถึงเกือบ 50 ล้านคน และในเมืองไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลา ใน 10 ปีข้างหน้า

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

ศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวหัวข้อ : How to Improve Brain Health and Dementia Prevention  ในงานประชุมเชิงวิชาการประจำปี 2566 ภายใต้ชื่อ BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2023 ในคอนเซปต์ A Road to Lifelong Well-Being  โดย บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS  ว่าด้วยชีวิตของคนเราจะยืนยาวมากขึ้น  อายุเฉลี่ยจะอยู่ถึง 80 ปี

สิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การดูแลสุขภาพสมองของกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากขณะนี้ มีสัดส่วนผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง(สโตรก) และอัลไซเมอร์ จำนวนมาก  ซึ่งการดูแลสุขภาพสมอง Brain Health ให้ดีนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กๆ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม

Global Dementia Observatory จากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO โรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมได้กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิต 10 อันดับแรกของคนทั่วโลกแล้ว และในขณะที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีก การเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะของโรคนี้ในหลายๆ ประเทศกลับเป็นสิ่งตรงกันข้าม

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีในปัจจุบันประมาณ 55 ล้านคนจะพุ่งสูงขึ้นถึง 78 ล้านคนภายในอีก 9 ปีข้างหน้านี้ (ค.ศ. 2030) และจะเพิ่มเป็น 139 ล้านคนภายในปีค.ศ. 2050 และจากการคาดการณ์ในตัวเลขนี้ยังสามารถประมาณค่าใช้จ่ายในการใช้ต่อสู้กับโรคสมองเสื่อมทั่วโลกจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีค.ศ. 2030 (จากในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์)

“โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในกลุ่มของผู้สูงอายุ และส่วนใหญ่เกิดก่อนแล้วถึงจะมารักษา เพราะการจะดูแลสุขภาพสมองให้ดี ตั้งเริ่มตั้งแต่เด็ก และคนไข้บางคนรู้สึกว่าตัวไม่ปกติ เมื่อตรวจสภาพสมองก็จะมองว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่นั้นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้น เพราะหากตรวจสมองครั้งต่อไป ตัวเลขลดลง ต้องมีการติดตามอาการอยู่เสมอ”ศ.นพ.ก้องเกียรติ กล่าว

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคทางสมอง
  • ผู้ที่มียีน (genetics) ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาทิ การสูบบุหรี่ การบาดเจ็บที่ศีรษะ การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย
  • มีปัญหาสุขภาพใจ

สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์

ศ.นพ.ก้องเกียรติ  กล่าวต่อว่า โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ มีความซับซ้อน ซึ่งหากเป็นเรื่องยีนส์ คงไม่สามารถแก้ไขได้  แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดการสูบบุหรี่  ลดการดื่มแอลกอฮอล์  และหากมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคนี้ ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้

“หากไม่อยากเป็นโรคสมองเสื่อม ต้องทำความเข้าใจ และให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บสะสมความสามารถของสมอง ซึ่งความฉลาดของคนเราจะแยกได้เป็นก้อนๆ จะมีองค์ความรู้ที่เราสามารถหยิบใช้ได้ทันที เช่น ภาษา หรือความทรงจำ ที่เมื่ออายุผ่านไปมากขนาดไหน ก็ยังสามารถจำได้ พูดได้ หรือการคิดคำนวณ การตัดสินใจ ยังทำได้ดีอยู่ ไม่ได้ลดลงตามวัน แสดงให้เห็นว่าสมองยังทำงานได้ดี แต่ถ้าความสามารถเหล่านี้ลดลง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมได้” ศ.นพ.ก้องเกียรติ กล่าว

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

สำหรับอาการอัลไซเมอร์ จะแบ่งออกเป็น 3ระยะ  ได้แก่

1.ระยะแรก

  • ถามคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ
  • สับสนทิศทาง
  • ลังเล ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ได้
  • อารมณ์แปรปวน เครียด และซึมเศร้า

2.ระยะกลาง

  • ความจำแย่ลงจากเดิม
  • มีปัญหาการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน
  • เดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย
  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น  จากคนใจเย็นเป็นคนอารมณ์ร้อน

3.ระยะท้าย

  • ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
  • ร่างกายทรุดโทรม
  • สมองเริ่มเสื่อมเป็นวงกว้าง
  • ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย

เก็บสะสมสุขภาพสมองดีตั้งแต่เด็ก

ศ.นพ.ก้องเกียรติ กล่าวต่อว่า การเก็บสมรรถภาพสมอง ทำให้สุขภาพสมองของเราดี ต้องเริ่มตั้งแต่อายุน้อยๆ  เพราะมีผลการศึกษาในต่างประเทศ โดยให้คนวัยกลางคนอายุ 35-64 ปี กลุ่มหนึ่งทำกิจกรรม เช่น เดิน ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่  และอีกกลุ่มใช้ชีวิตปกติ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีความป่วยของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วน  พบว่า ความเสี่ยงไม่ได้แตกต่างกัน แต่กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตปกติ ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 10%

ขณะเดียวกัน ปัญหาเรื่องของหู การที่ผู้สูงอายุหูไม่ดี ทำให้ไม่สามารถรับความรู้ หรือสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้

รวมถึง การนอน หากสุขภาพการนอนไม่ดี นอนหลับไม่สนิม นอนแล้วฝัน หยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง และนอนมากเกิน 9 ชั่วโมง จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์ ได้มากขึ้น

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ

ส่วนการรับประทานวิตามินนั้น พบว่า ภาพรวมของคนทานวิตามิน ทั้ง วิตามินบีรวม วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี โอเมก้า 3 โฟเลต และอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงสมอง หรือป้องกันโรคสมองเสื่อมนั้น ในความเป็นจริง อาจช่วยได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะหาศึกษาจริงๆ ส่วนใหญ่จะเท่าทุนกับสิ่งที่ร่างกายมีอยู่แล้ว อาจจะมีเพียงบางวิตามิน เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี หรือวิตามินบีรวม ที่ช่วยได้ ส่วนกลุ่มวิตามินต้านอนุมูลอิสระ ส่วนใหญ่จะเท่าเดิมที่เรามีอยู่แล้ว

เปลี่ยนพฤติกรรมช่วยลดเสี่ยง ‘อัลไซเมอร์’

  • คิดบวก มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ไม่เครียด
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสมอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 – 8 ชั่วโมง และควรนอนในเวลา 4 ทุ่มไม่เกินเที่ยงคืน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้สุขภาพสมองแข็งแรง
  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และไม่ดื่มกาแฟในช่วงเย็นเพราะอาจรบกวนการนอนหลับ

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษาที่ดี มีครอบครัวที่ดี มีอาชีพที่ดี มีไลฟ์สไตล์ที่ดี  มีหูที่ดี อารมณ์ที่ดี สังคมที่ดี และการนอนหลับที่ดี  ก็จะช่วยให้สุขภาพสมองดีขึ้นได้

หูไม่ดี นอนน้อย-มากเกินไป เสี่ยง \'อัลไซเมอร์\' โรคที่ไม่ใช่หลงๆลืมๆ