MP Group ดันไทยสู่ 'Wellness Ecosystem' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

MP Group ดันไทยสู่ 'Wellness  Ecosystem' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

ด้วยเศรษฐกิจไทยเปราะบาง เติบโตอย่างเชื่องช้า  ขาดการลงทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขาดเครื่องจักรใหม่ที่จะขับเคลื่อน ขณะที่ประเทศไทยประกาศอย่างชัดเจนว่าจะฟื้นฟูการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

Keypoint:

  • รัฐบาลตั้งเป้าฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ ททท. ตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวปี 2566 ไว้ 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน สร้างรายได้  1.5 ล้านล้านบาท
  • MP Group เดินหน้าดันไทยสู่  Wellness Ecosystem ศูนย์กลางของภูมิภาค  ระบุเบอร์1Wellness Tourism อย่างเดียวไม่เพียงพอ 
  • เสนอแพคเกจ ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ ควบคู่แพคเกจทัวร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ  

ข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าปี 2565 ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยใช้เวลาเพียง 17 ปี ในการเปลี่ยนจากสังคมสูงวัยไปเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในอีก 9 ปีถัดจากนั้   คือในปี 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด)

ใน พ.ศ. 2564 มีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี ประมาณ 13 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งประเทศ และมีการประเมินว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2575 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุดคือมีคนอายุเกิน 60 ปี สูงถึง 28% ทำให้กระแสการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ Wellness Tourism กลายเป็นธุรกิจมาแรง

ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้ารายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2566 ไว้ 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน สร้างรายได้  1.5 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวชาวไทย 135 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 880,000 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจ Wellness คึกคักมากยิ่งขึ้น

MP Group ดันไทยสู่ \'Wellness  Ecosystem\' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'MP Group' กับภารกิจ Health guard ช่วยคนไทยสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

เทียบสิทธิที่ได้-สิทธิที่ต้องการ คนมีลูก ยังสวนทาง

 

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างจากเดิม สนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น

'ธุรกิจ Wellness' ถือเป็น Mega Trend ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 กระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น เทรนด์การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันมาแทนที่การรักษารง ทำให้อัตราการเติบโตของ Wellness ก้าวกระโดด

วันนี้ (4 ตุลาคม 2566) ครบรอบ 36 ปี กรุงเทพธุรกิจ เปิดเวที  'Thailand Economic Outlook 2024 Change the Future Today 'เปลี่ยน' อนาคตเศรษฐกิจไทยต้องเริ่มวันนี้' โดยมี 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถา ' The Big Change: Empowering Thailand’s Economy'  รวมด้วย นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ นักวิชาการเข้าร่วม 

‘นทพร บุญบุบผา' ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวในงานเสวนา ‘พลังเอกชน ปักธง Thailand… Global Destination’ ดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก เคลื่อนเศรษฐกิจไทย ว่าขณะนี้ประเทศไทยมีการเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งภาคเอกชน เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาต้องมีสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว

MP Group ดันไทยสู่ \'Wellness  Ecosystem\' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

โดยปัจจุบัน พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากเดิม พวกเขาไม่ได้มาเพื่อเที่ยวเท่านั้น แต่มาด้วยหลายปัจจัยทั้งการดูแลสุขภาพ อย่าง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) อีกทั้งหลายคนมีการซื้อแพคเกจสุขภาพร่วมด้วย 

ถ้าประเทศไทยจะแข่งขันเรื่องของการท่องเที่ยว จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรม Wellness  พบว่า แตกต่างจาก Medical Tourism  เพราะ Wellness หมายถึงองค์รวมการดูแลสุขภาพทั้งหมด เพื่อตอบสนองการฟื้นฟูสุขภาพ

 

ดันไทยสู่ Wellness Hub ส่งเสริมแพคเกจสุขภาพแก่นักท่องเที่ยว

นทพร กล่าวต่อว่า MP Group เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และป้องกันการเกิดโรคก่อนจะเข้าสู่การรักษาโรค เพราะการรักษาโรคราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น เมื่อประเทศต้องการฟื้นฟูการท่องเที่ยวอันนำไปสู่การกระตุ้นทางเศรษฐกิจ อยากให้มีการส่งเสริมดูแลเรื่องสุขภาพ เป็นแพคเกจเสริมให้แก่นักท่องเที่ยว เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทย ถือเป็นเบอร์1 เรื่องแต่เราจะนำสินค้าได้ มาเชื่อมโยงกะน ให้ Wellness Hub 

สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI)  รายงานว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพของทั้งโลกคาดการณ์ไว้ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 230 ล้านล้านบาท

ขณะที่ปี 2563 เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพของทั้งโลก มีมูลค่าสูงถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 145 ล้านล้านบาท   แบ่งเป็นมูลค่าจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 14 ล้านล้านบาท ธุรกิจสปา 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท

MP Group ดันไทยสู่ \'Wellness  Ecosystem\' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

โดยผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ เช่น วิตามิน การออกกำลังกาย การนวด สปา ฯลฯ ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะคนอยากสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากชีวิตประสบปัญหามากมาย ทั้ง ภาวะตกงาน หมดไฟในการทำงาน หรือวิตกกังวลมากขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น 

"Wellness เป็นการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงกับทุกเรื่อง ทั้งกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งประเทศไทยเป็นเบอร์ 1 ในเรื่อง Medical Tourism ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยว จนถึงอยากมาอยู่ที่ประเทศไทย ฉะนั้น การเป็นเบอร์ 1 Medical Tourism อาจไม่เพียงพอ จะต้องสร้าง Ecosystem  และทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำ Wellness Tourism ที่ไม่ได้พูดเพียงการดูแลสุขภาพร่างกาย แต่ต้องดูไปถึงจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก และการใช้ชีวิตในสังคม" นทพร กล่าว 

Wellness Ecosystem สร้างสุขภาพดีคนไทย-นักท่องเที่ยว 

'MP Group' ถือเป็นหน่วยธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อส่งเสริมดูแลให้ผู้บริโภค ลูกค้ามีสุขภาพชีวิตที่สมดุล อันนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

นทพร กล่าวต่อไปว่า การรักษาราคาสูงมากกว่าการดูแลป้องกัน และเทรนด์การดูแลป้องกันสุขภาพกำลังมาแรง วันนี้หากประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Wellness คนจะเที่ยวพร้อมกับการดูแลสุขภาพ ทำให้หลายๆ ธุรกิจ กิจกรรมมีการเติบโตมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ การมาเที่ยวและมาตรวจสุขภาพในประเทศไทย ที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในราคาที่จับต้องได้ 

หลายคนกังวลว่าตัวเอง จะเจ็บป่วยหรือรู้สึกเหมือนตัวเองจะเจ็บป่วย หรือมีอาการแพ้อะไรสักอย่าง  MP Group มีการตรวจ Genetic Testing Laboratory หรือตรวจยีนผ่านพันธุกรรม เป็นการแพทย์แบบเชิงป้องกัน หรือการแพทย์แม่นยำส่วนบุคคล ตรวจยีนว่ามีระเบิดเวลาในยีนหรือไม่ และจะแสดงออกมาเมื่อใด เพื่อให้ได้เห็นว่ามีความเสี่ยงด้านไหนบ้างที่กำลังจะเจ็บป่วย

MP Group ดันไทยสู่ \'Wellness  Ecosystem\' เสนอแพคเกจสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว

การตรวจ Genetic Testing เป็นขั้นสูงมากกว่าการตรวจเลือด เป็นการแพทย์แบบเชิงป้องกัน วางแผนสุขภาพเชิงป้องกันแบบเฉพาะบุคคลในรูปแบบ Personalized Precision Medicine  ที่เรียกว่า สแกนกรรม เพราะการตรวจยีน เป็นการถ่ายทอดจากพันธุกรรม จากรุ่นสู่รุ่น 

เช่น การตรวจหายีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 เมื่อตรวจเจอสามารถวินิจฉัยได้ว่า 70-80 % สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้หรือไม่ หลังตรวจยีน สแกนกรรมแล้ว คุณหมอสามารถให้คำแนะนำได้ว่าควรทำอย่างไรนำไปสู่การรักษาในอนาคต บริษัทยาสามารถพัฒนายามาซ่อมในระดับยีน และจะทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น

"เรื่องธุรกิจสุขภาพ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับคนนั้นๆ มากขึ้น  และหน้าที่ของภาคธุรกิจ ต้องทำอย่างไรให้คนไทย และนักท่องเที่ยว ผู้บริโภคปลอดภัย ดูแลสุขภาพ มาเที่ยวไทยแล้วไม่มีโรค รวมถึงอาจจะมีแพคเกจทัวร์ควบคู่กับการขายผลิตภัณฑ์ และบริการ สกิลแคร์  หรือโปรแกรมตรวจสุขภาพให้แก่นักท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาประเทศไทย และการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Wellness Ecosystem" นทพร กล่าวทิ้งท้าย