โรงงานผลิตเซลล์บำบัด เพิ่มโอกาสผู้ป่วย 'มะเร็ง-พันธุกรรม'

โรงงานผลิตเซลล์บำบัด  เพิ่มโอกาสผู้ป่วย 'มะเร็ง-พันธุกรรม'

ตามสถิติของโลกระหว่างปี 2006 – 2011 อุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดนี้จะพบที่ 38 ราย ใน 1 ล้านคน และในจำนวนนี้ ผู้ป่วย 28 รายหรือราวๆ 83.5% จะมีอาการเฉียบพลันจากเซลล์ชนิดบี (B Cell) ร่วมด้วย

Keypoint:

  • เซลล์บำบัด ใช้เพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่งกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูร่างกาย การรักษาในรูปแบบนี้มักใช้รักษาโรคมะเร็ง และโรคทางพันธุกรรม
  • Cytiva และGenepeutic Bio ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตเซลล์บำบัด ขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย มอบการรักษาในรูปแบบเซลล์บำบัดให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ทั่วประเทศ 
  • ช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มโอกาสรอดในการรักษาของผู้ป่วย พร้อมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย 

โรคดังกล่าว ยังพบได้มากในกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 2-5 ปี คิดเป็นประมาณ 75% ของผู้ป่วยทั้งหมด ในทวีปเอเชียเอง มีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 535,359 รายต่อปี และในจำนวนผู้ป่วยใหม่นี้ กว่า 38% ไม่ได้ใช้วิธีการรักษาแบบดั้งเดิม

'การรักษาด้วยเซลล์บำบัด' เป็นการรักษารูปแบบหนึ่งที่จะนำเซลล์และยีนออกมาดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรักษาและใส่กลับเข้าไปในตัวผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูของร่างกาย การรักษาในรูปแบบนี้มักใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เช่น กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับในสายพันธุกรรมทำให้การสร้างและส่งโปรตีนผิดพลาดจนทำให้เกิดโรค

ในช่วงเดือนเมษายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) TCELS, กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ประกาศร่วมกันจัดตั้งและยกระดับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้เป็นหนึ่งในเสาหลักของการเติบโตอันดับต้นๆของประเทศ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพที่มีมูลค่าในระดับสูง

โรงงานผลิตเซลล์บำบัด  เพิ่มโอกาสผู้ป่วย \'มะเร็ง-พันธุกรรม\'

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รู้จัก!เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell โอกาสของผู้ป่วยมะเร็ง

 

ตั้งรง.ผลิตเซลล์บำบัดดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

Genepeutic Bio  ได้ก่อตั้งโรงงานมาตรฐานระดับ GMP เพื่อผลิตเซลล์สำหรับใช้ในการบำบัดผู้ป่วยในพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตร โดยโรงงานตั้งอยู่ภายในอาคาร Innovation Cluster II อุทยาวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี นำเทคนิคการรักษาผู้ป่วยโดยวิธีเซลล์บำบัด (CAR T) เพื่อให้การรักษากับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL) ได้ในจำนวนหลายร้อยคน ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน

ดร.กิตติพงษ์ เอื้อสุนทราชุน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ (Chief Scientific Officer), Genepeutic Bio กล่าวว่า Genepeutic Bio เป็นบริษัทแรกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสำหรับการผลิตเซลล์บำบัดเพื่อการรักษาในประเทศไทย จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย มีแผนที่จะมอบการรักษาในรูปแบบเซลล์บำบัดให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (relapsed or refractory acute lymphoid leukemia (ALL)) ทั่วประเทศ 

โรงงานผลิตเซลล์บำบัด  เพิ่มโอกาสผู้ป่วย \'มะเร็ง-พันธุกรรม\'

ดังนั้น กลุ่มผู้ป่วยในประเทศไทยจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการรักษาจากต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาในประเทศไทยและยังช่วยให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนี้มากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยเองและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

ต่อยอดเทคโนโลยีรักษาโรคทางพันธุกรรม

ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีทางเลือกใหม่ๆ สำหรับโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การติดตั้งโรงงานผลิตเซลล์บำบัดที่ได้มาตรฐานนี้จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งโรงงานผลิตเซลล์บำบัดแห่งแรกในประเทศไทย

ภายในตัวโรงงานประกอบไปด้วย ห้องปลอดเชื้อสำหรับการผลิต มีอุปกรณ์สำหรับการดัดแปลงยีนและเซลล์ ห้องควบคุมคุณภาพโดยเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญ สำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ระหว่างการพัฒนาและก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย

สำหรับการรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัด ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศ ประเทศไทยได้มีการวางแผนที่จะส่งเสริมการรักษาแบบนี้อยู่แล้วและโรงงานนี้ก็ช่วยตอบโจทย์ อีกทั้งการบำบัดด้วยเซลล์และยีน เรียกว่าเป็นนวัตกรรมรุ่นใหม่ของการรักษามะเร็งและมีโอกาสสำเร็จสูง ทั่วโลกเริ่มกลับมาทำงานวิจัยในชั้นคลินิก และพรีคลินิกเกี่ยวกับแนวทางใหม่ๆ

“ประเทศไทยมีโอกาสที่จะต่อยอดด้านธุรกิจการแพทย์และนวัตกรรมการแพทย์อีกมาก การติดตั้งโรงงานนี้จึงไม่ใช่เพียงขยายธุรกิจ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสในการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการรักษาโรคทางพันธุกรรมในประเทศไทย อีกทั้งประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ขับเคลื่อนด้วยบุคลากรคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อนำประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของภูมิภาค จึงเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำความรู้มา พัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างการรับรู้ไปยังต่างประเทศ”ดร.กิตติพงษ์ กล่าว     

โรงงานผลิตเซลล์บำบัด  เพิ่มโอกาสผู้ป่วย \'มะเร็ง-พันธุกรรม\'

หนุนสตาร์ทอัพดันไทยศูนย์กลางการแพทย์

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีโครงการสนับสนุนการติดตั้งโรงงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางการแพทย์อยู่แล้ว เช่น สำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีนโยบายงดเว้นการเก็บภาษี มีโครงการ หน่วยบริการและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หรือโครงการ PMUC เพื่อการบริหารจัดการโรงงายและส่งเสริมการวิจัยทางคลินิก มีการจัดตั้งศูนย์ควาเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการสอบมาตรฐาน GMP และมาตรฐานอื่นๆ

“การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพก็ยังคงเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องด้วยตัวโครงการมีความเฉพาะและอาจจะยังขาดองค์ความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญ โรงงานดังกล่าวจะเป็นต้นแบบของการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในการช่วยสร้างความตระหนักรู้ และทำให้ธุรกิจอื่นๆ เล็งเห็นความเป็นไปได้ในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์”ดร.กิตติพงษ์ กล่าว

โรงงานผลิตเซลล์บำบัด  เพิ่มโอกาสผู้ป่วย \'มะเร็ง-พันธุกรรม\'

ยกระดับความก้าวหน้าชีววิทยาไทย

Mr.Premnath Mandalapu ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพาณิชย์ ภูมิภาคอาเซียน (Commercial General Manager) ASEAN, Cytiva กล่าวว่าจากข้อมูลของ Global Biopharma Resilience Index ในปี 2023 ชี้ให้เห็นว่า การที่บริษัทสามารถดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานจนผ่านมาตรฐาน GMP ในประเทศไทยได้

นั้นเป็นความท้าทายมากกว่าที่อื่นในโลกในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ควบรวมกับ Pall Life Sciences ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราได้ประโยชน์จากการผสานความเชี่ยวชาญ และขยายตลาดให้ครอบคลุมถึง 40 ประเทศ มีโรงงานผลิต 36 แห่งและศูนย์พัฒนาและวิจัย 20 แห่ง อีกทั้งยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพใหญ่ๆ ทั่วโลก