'โรคตา'ที่คาดไม่ถึง ปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวกับดวงตา

'โรคตา'ที่คาดไม่ถึง ปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวกับดวงตา

มีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรครึ่งโลกจะมีสายตาสั้น  และหลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า การปวดหัวแบบไมเกรน มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลมาจากค่าสายตา รวมถึงปัญหาดวงตาสามารถเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิด

Keypoints:

  • คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรครึ่งโลกจะมีสายตาสั้น  และอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีผู้ที่สูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นอีก 600 ล้านคน เป็น 1.7 พันล้านคน
  • โรคเกี่ยวกับตาที่คนทั่วไปอาจคาดไม่ถึง เช่น การปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวข้องกับค่าสายตา หรือปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่สามารถเกิดได้ในเด็กแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด  และสายตาสั้นในเด็ก
  • ความเสี่ยงของการเกิดโรคตาของผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นเกิน -5.00  และคำแนะนำในการดูแลถนอมดวงตา

รู้จักดวงตา

  • เปลือกตา ปกป้องดวงตา
  • ท่อน้ำตา อยู่ภายในเปลือกตาบนและล่าง ระบายน้ำตา
  • กล้ามเนื้อตา ทำให้ปลอกตาไปมาได้
  • เลนส์แก้วตา หักเหแสงทำให้มองเห็น
  • วุ้นตา ทางผ่านแสงไปสู่จอตาเพื่อให้มองเห็นภาพ
  • ขั้วประสาทตา จุดเริ่มต้นของเส้นประสาทตาที่เชื่อมไปสู่สมอง 
  • เยื่อบุตา  ผลิตเมือง น้ำตาเพื่อช่วยหล่อลื่น ป้องกันเชื้อโรค
  • กระจกตา  หักเหแสงทำให้มองเห็น ปกป้องส่วนต่างๆของดวงตา 
  • ม่านตา ปรับขนาดรูท่านตาให้แสงผ่านเข้าไปในตา
  • จอตา  รับแลกแปลสัญญาณแสงเป็นสัญญาณประสาท ส่งไปแปลผลที่สมอง ทำให้มองเห็นภาพเส้นประสาทตา รับภาพจากจอตาไปแปลผลที่สมองส่วนควบคุมการมองเห็นที่อยู่บริเวณท้ายทอย 

\'โรคตา\'ที่คาดไม่ถึง ปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวกับดวงตา

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าทั่วโลกพบประชากร 2.2พันล้านคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 50%เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้หรือยังไม่ได้รับการแก้ไข

     ขณะที่ในปี 2563 มีประชากร 1.1 พันล้านคนสูญเสียการมองเห็น โดยคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีผู้ที่สูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นอีก 600 ล้านคน เป็น 1.7 พันล้านคน
      คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรครึ่งโลกจะมีสายตาสั้น 

สายตาสั้นในเด็กเสี่ยงโรคตา

    พญ.ณัฐธิดาวงศ์วีระวัฒน์ จักษุแพทย์เฉพาะทางโรคกล้ามเนื้อตาและโรคตาในเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  กล่าวว่า  กรณีที่คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวลูก ไม่ถึง 1,500 กรัมเด็กในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงที่การเจริญเติบโตของเส้นประสาทและเส้นเลือดในจอประสาทตาเกิดเป็นเส้นเลือดที่ผิดปกติ อาจทำให้มีเลือดออกที่จอประสาทตาหรือจอประสาทตาหลุดลอก หรือเป็นพังผืดได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาในช่วงเวลาที่กำหนดก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร 

       แนวทางการรักษาในกรณีทารกมีโรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอดก่อนกำหนดมีหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ การฉีดยาเข้าไปยับยั้งการเจริญผิดปกติของเส้นเลือดในจอประสาทตาและการผ่าตัดจอประสาทตา นอกจากนี้ เด็กกลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะสายตาสั้น ตาเขตาเหล่ตามมาภายหลังได้มากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด 

 ‘โรคสายตาสั้นในเด็ก’ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงเร็วและพบในอายุที่น้อยลงเด็กบางรายสายตาสั้นตั้งแต่ขวบกว่า ส่วนหนึ่งมาจากเด็กที่คลอดก่อนกำหนดและมีเด็กหลายรายที่สายตาทั้งสองข้างสั้นไม่เท่ากันและมีค่าสายตาต่างกันมาก และมีความเสี่ยงโรคสายตาขี้เกียจ

         ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นเกิน -5.00 มีความเสี่ยงและโอกาสสูงที่จะมีโรคตาเมื่ออายุมากขึ้น เช่น 

  • โรคต้อหิน มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีสายตาสั้นน้อยถึง 50 %
  • โรคต้อกระจก มีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัดต้อกระจกมากกว่าผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลาง 17%
  •  โรคจอประสาทตาหลุดลอก มีโอกาสเกิดได้มากกว่าคนสายตาปกติ 21.5 เท่า 
  •  โรคจอประสาทตาเสื่อม มีโอกาสเกิดได้มากกกว่าคนสายตาปกติ 40 เท่า 
    \'โรคตา\'ที่คาดไม่ถึง ปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวกับดวงตา

           จักษุแพทย์โรคตาเด็กที่จะให้การรักษาและแนะนำการยับยั้งหรือชะลอไม่ให้ค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็วตามแนวทางการแพทย์สากลในปัจจุบัน เพราะการที่สายตาสั้นไม่ใช่เพียงรอการแก้ไขด้วยเลสิค     แต่สายตาสั้นที่มากขึ้นจะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงภายในตาและความเสี่ยงของโรคตาโดยเฉพาะโรคจอตาที่มากขึ้น 

         ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญและพาบุตรหลานมาตรวจเช็คสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหาแนวทางการป้องกันและรักษาเพื่อชะลอภาวะสายตาสั้นได้

          การรักษาและการป้องกันโดยอ้างอิงจากงานวิจัยสากลเรื่องสายตาสั้นที่มีทั่วโลกในขณะนี้ เช่น การรักษาด้วยยา low- dose atropine eyedrops เลนส์แว่นตาและคอนแทคเลนส์พิเศษเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยชะลอสายตาสั้นในเด็ก  การแก้ไขภาวะสาตาบกพร่องและประเมินความเสี่ยง การปรับไลฟ์สไตล์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สายต่สั้นเพิ่มเร็มขึ้น  โดยจักษุแพทย์ตาเด็กจะเป็นผู้ตรวจให้ข้อมูลแนะนำในแต่ละรายซึ่งมีความแตกต่างกันไป 
ปวดหัวแบบไมเกรนพบปัญหาดวงตา

    พญ.ฐาริณี กุลกำม์ธร จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้มีคนไข้หลายรายที่มาด้วยปัญหาสายตาสั้นและสายตาเอียงและต้องการแก้ไขด้วยรีเล็กสมายส์ (ReLEx SMILE) ซึ่งคนไข้มักจะคิดว่ามาตรวจแล้วสามารถรักษาได้ในวันเดียวกันแต่อันที่จริงการรักษามีความละเอียดอ่อนมากกว่านั้น

        แพทย์ต้องประเมินอาการหรือสาเหตุของปัญหาที่อาจเกิดร่วมกันได้บางรายมีความซับซ้อนมาก แพทย์ต้องประสานและปรึกษาร่วมกับแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงค่อยทำ ReLEx SMILEเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นสิ่งสำคัญ

           ยกตัวอย่าง คนไข้มาด้วยอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนมาเป็นเวลานานมาก ตรวจพบค่าสายตาสั้นและเอียง 1 ข้างสายตายาวและเอียงอีก 1 ข้าง ซึ่งค่าแตกต่างกันมาก และพบตาเหล่อีกเล็กน้อยรายนี้ต้องปรึกษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางด้านกล้ามเนื้อตาเพื่อยืนยันมุมตาที่เหล่ร่วมกับการคำนวณค่าสายตาในการยิงค่าเลเซอร์ให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับคนไข้ทั้งด้านการมองเห็นและไม่เกิดการกระตุ้นให้ตาเหล่เพิ่มขึ้น

ผ่าตัดตาโปนผู้ป่วยไทรอยด์

           นพ.ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง ด้านเปลือกตา ท่อน้ำตาและเบ้าตา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างด้วยโดยแพทย์จะดูแลรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเบ้าตาและศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา อาทิ ไทรอยด์ขึ้นตา ตาโปนท่อน้ำตาอุดตัน หนังตาตก หนังตาม้วนเข้าใน/ม้วนออกนอก รวมถึงอุบัติเหตุทางตา เป็นต้น

            ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยไทรอยด์ในผู้ใหญ่มีปัญหาตาโปนมากจนตาใกล้จะบอด ทำให้ต้องรับการผ่าตัดแก้ไขเบ้าตา เปลือกตา ซึ่งต้องปรึกษา แพทย์ชำนาญการที่เกี่ยวข้อง อาทิ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านต่อมไร้ท่อ, จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการถึง 3 ด้าน (กล้ามเนื้อ,เส้นประสาทตา และแก้ไขเบ้าตา เปลือกตา),แพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีวิทยาเพื่อการฉายแสงและการให้ยาชีววัตถุร่วมด้วย จะช่วยให้ตาที่โปนยุบได้ซึ่งผู้ป่วยไทรอยด์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีจนกว่าโรคจะสงบ

\'โรคตา\'ที่คาดไม่ถึง ปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวกับดวงตา
วิธีดูแลถนอมดวงตา

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนมีจิตใจแจ่มใส
  2. ปก ป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องอยู่กลางแดดจ้า ลดพัดแรงที่มีฝุ่นละออง โดยเฉพาะชาวนา ชาวสวน และผู้ที่ต้องขับขี่รถจักรยานยนต์
  3. สวม ใส่แว่นตาหรือเครื่องมือป้องกันทุกครั้ง เมื่อปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง เช่น การเจียรเหล็ก ตอกตะปู เครื่องเชื่อม น้ำยาสารเคมี กรด ด่าง ฯลฯ
  4. ดูโทรทัศน์ในที่ ที่มีแสงสว่างอย่างน้อย 20 แรงเทียน และอยู่ห่างจากจอเป็น 5 เท่าของขนาดความกว้างของจอภาพ
  5. งดดื่มของมึนเมา สุรา และบุหรี่
  6. ควรระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการสวมหมวกกันน็อคเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ รัดเข็มขัดนิรภัยเมื่อขับขี่รถยนต์ หรือสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง เช่น ฟันดาบ มวย เบสบอล กอล์ฟ ฯลฯ
  7. ควร ทดสอบสายตาตนเอง โดยการปิดตาทีละข้าง หรือพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเด็กๆ และควรนำยาหยอดตาที่ใช้อยู่ติดตัวมาด้วยเมื่อพบแพทย์
  8. ควรตรวจเช็คสุขภาพกายอื่นๆ ด้วย เพราะโรคทางกายบางโรคมีผลต่อระบบการมองเห็น เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
  9. ไม่ควรใช้สายตาติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่พักสายตา
  10. ไม่ควรซื้อยาหยอดตาใช้เอง เพราะยาบางตัวมีส่วนผสมของเสตียรอยด์ อาจทำให้เป็นโรคต้อหินได้
  11. ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจทำให้กระจกตาเป็นแผล หรือตาติดเชื้อได้จากมือสกปรก
  12. ไม่ซื้อน้ำยามาล้างตาเองโดยไม่จำเป็น เพราะอาจเกิดภาวะตาแห้งระคายเคืองได้
  13. ผู้ ที่เริ่มสนใจการใส่เลนส์สัมผัส (คอนแทคเลนส์) ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องต่อไป

ทำอย่างไร เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

  • เคืองตา ปวดตา ตาแดง มีขี้ตา น้ำตาไหล ควรมาพบจักษุแพทย์ ไม่ควรซื้อยาใช้เอง
  • ฝุ่น ละออง หยากไย่ ใบไม้ ทราย ฯลฯ เข้าตา ห้ามขยี้ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด หากยังติดอยู่ที่เปลือกตาด้านล่าง ใช้ไม้พันสำลีสะอาดเขี่ยออก ห้ามไม่ให้โดนตาดำ ถ้าไม่สำเร็จให้ปิดตา และควรมาพบจักษุแพทย์
  • สารเคมี กรด ด่าง เข้าตา ล้างออกด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ ทันที เพื่อลดความรุนแรงก่อนส่งพบจักษุแพทย์
  • เกิดอุบัติเหตุของแหลมทิ่มแทงลูกตา ห้ามล้างตา ห้ามขยี้ตา ควรปิดตาส่งพบจักษุแพทย์ทันที
  • ตามัวลงเฉียบพลัน ควรพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
  • เด็ก คลอดก่อนกำหนด มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 1,500 กรัม ควรส่งพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติและแก้ไขต่อไป
  • สังเกต บุตรหลานของท่านมีสายตาผิดปกติ ดูทีวีเพ่งเวลา ใช้สายตา สงสัยมีตาเข ตาเหล่ ควรส่งพบจักษุแพทย์เพื่อป้องกันภาวะสายตาขี้เกียจ ก่อนที่เด็กจะโตเกินกว่าที่จะแก้ไขได้


อ้างอิง:
ศูนย์จักษุ รพ.บำรุงราษฎร์ 

รพ.เมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข