PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด

PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในไทยยังหนา GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ไทยพบจุดความร้อนจำนวน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในไทยยังหนา จุดความร้อนยังทรงตัว พบมากในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 10 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนจำนวน 1,585 จุด ในขณะที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมายังนำโด่งจำนวน 7,239 จุด สปป.ลาว 3,358 จุด กัมพูชา 1,657 จุด เวียดนาม 811 จุด และมาเลเซีย 14 จุด

สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย มีดังนี้

  • พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 581 จุด
  • พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 444 จุด
  • พื้นที่เกษตร 249 จุด
  • พื้นที่เขต สปก. 177 จุด
  • พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 118 จุด
  • พื้นที่ริมทางหลวง 16 จุด
  • จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือ กาญจนบุรี 193 จุด

 

ค่าฝุ่น PM 2.5 เมื่อตรวจสอบจากแอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา พบว่าหลายพื้นที่ของประเทศอยู่ในระดับสีส้มและระดับสีแดง แสดงให้เห็นว่าเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด และมีผลต่อสุขภาพ อาทิ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง เลย แพร่ เป็นต้น ในขณะที่ทุกพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร อยู่ระดับปานกลางจนถึงเริ่มมีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ เขตบึงกุ่ม

สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม

ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้ GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่

 

PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนั้น ข้อมูลจากดาวเทียมฮิมาวาริ เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (11 มีนาคม 2566) พบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ของประเทศโดยจังหวัดที่มีค่า PM 2.5 สูงสุดอยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีผลต่อสุขภาพ

สำหรับข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมฮิมาวาริ จะแสดงผลเฉพาะค่าฝุ่น PM 2.5 เท่านั้น สำหรับแอปพลิเคชั่นทั่วไปที่มีการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศแบบ AQI จะเป็นการรายงานคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิดด้วยกัน คือ

1.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10)

2.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

3.ก๊าซโอโซน (O3)

4.ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ (CO)

5.ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์ (NO2)

6.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ตัวเลขที่สูงมากเป็นเพราะค่าระดับของก๊าซบางชนิดที่รวมอยู่ด้วย เช่น O3 NO2 SO2 เป็นต้น

ทั้งนี้ ก่อนออกจากบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจจะตามมา

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ gistda หรือ ติดตามข้อมูลจาก gistda/dashboard และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ผ่านแอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น"

 

PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด

 

PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด