หมอยกเคส อาการสะอึกไม่หายอย่ามองข้าม สัญญาณโรคร้ายต้องระวัง

หมอยกเคส อาการสะอึกไม่หายอย่ามองข้าม สัญญาณโรคร้ายต้องระวัง

ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาท และสมอง โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ยกเคสคนไข้ที่มีอาการสะอึกไม่หาย สุดท้ายเมื่อส่งเอกซเรย์ปรากฏว่าเป็น "มะเร็งปอด" 

ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาทและสมอง โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ยกเคสคนไข้ที่มีอาการสะอึกไม่หาย สุดท้ายเมื่อส่งเอกซเรย์ปรากฏว่าเป็น "มะเร็งปอด

สะอึก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

ถ้าสะอึกไม่นาน หายใจในถุง กินข้าวกินน้ำ ให้กะบังลม กลับมาสัมพันธ์กับการหายใจแล้วหายสะอึกก็แล้วไป

แต่เคสคนไข้รายหนึ่ง เป็นเคสรีพอร์ต (case report) ขวามือ เป็นฝ้าก้อนมะเร็งปอด มีสะอึกอึ้กๆ ไม่หาย กินข้าวกินน้ำ ได้ยาลดสะอึกก็ไม่หาย สุดท้าย กว่าจะไปเอกซเรย์ก็ปาไปหลายวัน หมอบอกมีก้อนที่ปอดเป็นมะเร็ง ไม่นึกไม่ฝันกับแค่สะอึก

มะเร็งปอด บางทีมันอยู่ตรงกะบังลม ทำให้ระคาย และการหายใจไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวกะบังลมทำให้สะอึก โรคร้ายๆ บางทีก็มาด้วยอาการง่ายๆ แบบนี้

ปล.เอกซเรย์เป็นตัวอย่างเคสมีการนำเสนอในวารสารนานาชาติ Korean J Hosp Palliat Care (free access) ที่เราก็เจอได้ในชีวิตประจำวันของพวกเรานะครับ

 

หมอยกเคส อาการสะอึกไม่หายอย่ามองข้าม สัญญาณโรคร้ายต้องระวัง

รู้จักโรคมะเร็งปอด

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เคยกล่าวไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดระยะแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้น ก็จะมีอาการแต่ก็มักไม่จำเพาะจึงอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ล่าช้ามีผลต่อระยะของโรคที่ลุกลามหรือแพร่กระจายไปมาก ส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร และมีโอกาสการรักษาหายจากโรคน้อย

ปัจจุบัน การคัดกรองมะเร็งปอดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ดีที่สุดคือ การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด แต่เนื่องด้วยมีค่าใช้จ่ายที่สูงจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าได้ไม่ถึง จึงมีคำแนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปอดเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการเอกซเรย์ปอดเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละปีว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสงสัยจะเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การป้องกันมะเร็งปอดด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคลงได้

สัญญาณเตือนมะเร็งปอด 

อาการไอเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน , ไอมีเสมหะปนเลือด , หายใจลำบาก , เหนื่อยหอบง่ายมากกว่าปกติ , เจ็บแน่นหน้าอก , อ่อนเพลีย

การรักษามะเร็งปอด

ด้านการรักษามีวิธีหลักๆ ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการกระจายของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี 2562 กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข พบผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดเฉลี่ยวันละ 40 คน หรือ 14,586 คนต่อปี และข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถิติสาธารณสุขปี 2562 พบผู้ป่วยรายใหม่จากโรคมะเร็งปอดวันละ 47 คน หรือ 17,222 คนต่อปี

 

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก

เฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อาจารย์หมอสุรัตน์ , กรมการแพทย์

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์