5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

ยุคปัจจุบันค่านิยมหลายๆ สิ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ผู้คนนิยมไม่มีลูกมากขึ้น ทั้งที่มีครอบครัว มีสามีภรรยา รวมถึงมีฐานะทางเศรษฐกิจที่สามารถเลี้ยงดูส่งเสียงลูกได้ ทำให้ "การลงทุนกับลูก" จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยลง

สหรัฐฯ มีงานวิจัยออกมาชิ้นหนึ่งของ Pew Research พบว่าคนเกินครึ่งระบุว่าไม่ได้มีเหตุผลอะไรพิเศษที่ไม่อยากมีลูก พูดง่าย ๆ คือไม่มีเพราะไม่อยากมี

ขณะที่  Christine Whelan ผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยด้านการเงินและความสัมพันธ์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน บอกว่างานวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากเดิมที่ผู้คนมองว่าการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในเงื่อนไขของความสำเร็จในชีวิต (รวมถึงการมีบ้าน มีรถ มีธุรกิจ)

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

การบอกว่าไม่อยากมีลูกหากย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อนอาจเป็นเรื่องที่สังคมยากจะรับได้ มาทุกวันนี้ความสำเร็จในชีวิตไม่จำเป็นต้องผูกอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างที่สังคมสร้างขึ้น แต่แตกต่างออกไปแล้วแต่ชุดคุณค่าที่บุคคลให้ความสำคัญ

แต่นอกจากเหตุผลด้านวัฒนธรรม อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการเลือกไม่มีลูกคือ เรื่องเงินทอง ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ เพราะแม้คนกว่าครึ่งไม่มีลูกเพราะแค่ไม่อยากมี แต่ในงานวิจัยของ Pew Research ก็ได้ระบุว่าถ้าดูแค่กลุ่มคนที่บอกว่ามีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไม่อยากมีลูก คนเกือบ 1 ใน 5 บอกว่าการเงินคือปัจจัย  การลงทุนกับลูกจึงไม่มีความจำเป็น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เลี้ยงลูกปฐมวัยในยุค VUCA World เพิ่มการลงทุน เติมทักษะ 5H – Coding

หนุนเสริม เพิ่มคุณค่า พัฒนา ลงทุนกับเด็กปฐมวัยคุ้มค่ากว่าวัยอื่นถึง 7 เท่า

ทริคสอนการเงินลูก ‘ลงทุนหุ้นได้ ใช้เงินเป็น’ สไตล์ ‘เดอะ มันนี่โค้ช’

4 มาตรการช่วยคุณแม่ดูแลลูก หลังกลับไปเรียนในช่วงโควิด-19

 

  • การลงทุนกับลูก ต้องเริ่มต้นที่ตัวพ่อแม่เอง

วานนี้  (27 ต.ค.2565) ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ นักยุทธศาสตร์และที่ปรึกษาองค์กรระดับประเทศ กล่าวในหัวข้อ “พ่อแม่ยุคใหม่ ลงทุนกับลูกGen Alpha” ในงาน “Wealth of  Wisdom:WOW”  ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ  จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ และฐานเศรษฐกิจ ว่าประเทศไทยขาดการอบรมพ่อแม่  ซึ่งการลงทุนกับลูกต้องเริ่มลงทุนเรื่องเวลาทั้งในปัจจุบันและอนาคต

“โดยสิ่งที่ต้องลงทุน คือ ตัวพ่อแม่และตัวของลูกเอง ต้องฝึกวิชาพ่อแม่ ดูแลลูกของตัวเองให้ได้ก่อน ส่วนตัวลูกต่อให้เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ขอให้เลี้ยงตามความเป็นจริง อย่าสร้างลูกเป็นพนักงานเงินเดือน”ดร.วรภัทร์ กล่าว

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

  • เทคนิคพ่อแม่ลงทุนกับลูกต้องทำอย่างไรบ้าง?

การจะลงทุนกับลูก เริ่มต้นที่พ่อแม่เองก่อน ดังนี้

1.เห็นแก่ตัวเองหรือไม่ เพราะถ้าพ่อแม่เห็นตัวเองประสบความสำเร็จ เด็กก็จะประสบความสำเร็จ โดยต้องเลือกว่าใครจะทำหน้าที่อะไร ถ้าผู้หญิงเลือกเป็นCEOที่เก่ง คุณอาจเป็นแม่ที่ไม่ได้เรื่อง และถ้าไม่เป็นCEO คุณต้องทำหน้าที่แม่ให้ดี ซึ่งผู้ชายก็เช่นเดียวกัน

2.Mindfulness การควบคุมอารมณ์

3.ดูแลสุขภาพปู่ ยา ตายาย

4.มีเงินสำรอง

5.Connection and Friendship สอนลูกให้มีทักษะโซเซียลและมีเครือข่าย

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรเข้าอบรมพ่อแม่ จัดการตัวเองให้ได้ก่อน ฝึกสติ เข้าใจตัวเอง คุมอารมณ์ มีความสุขให้ลูกเห็น เลี้ยงด้วยหัวใจ สะท้อนความรู้สึก ชม ฟัง ถาม สะท้อน  เป็น Facilitator เพราะลูกคือแบบฝึกหัดให้กับเรา เลี้ยงลูกได้ก็จะเลี้ยงลูกน้องได้

 

  •  คนกลุ่มNew Gen คุยกับ Old Gen  ไม่รู้เรื่อง

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น กล่าว “Sustainability With Moral”   ว่าความห่วงใยที่ทุกคนมองให้ ทุกคนอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ แต่การหย่าร้างมากขึ้น และพร้อมบวกกันมากขึ้น เป็นเรื่องที่แปลก ทุกคนเมื่ออยู่ด้วยกันมากขึ้น กลับอยู่ด้วยกันไม่ได้

ช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมหลายๆ ที่ ซึ่งพบว่าประเทศญี่ปุ่น ต้องการสร้างจากการได้ไปรวมประชุมหลายๆ ที่ญี่ปุ่นจะสร้างโรบอทโซไซตี้ มนุษย์อาจเป็นส่วนเกิดของประเทศ ทำให้เกิดความฉุกคิดว่ามนุษย์ดีกว่าหุ่นยนต์อย่างไร และเมื่อได้ไปร่วมประชุมที่ประเทศจีน มีการนำเสนอย้ายโลกลงทะเล  แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก และเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงให้เห็นชัดว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะเกิดขึ้นได้จริงและไม่ได้จริง

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

 

  • คาเรกเตอร์เด็กอัลฟ่า ที่ผู้ใหญ่ต้องรู้

ขณะนี้ประเทศไทย New Gen คุยกับ Old Gen ไม่รู้เรื่อง ซึ่งเด็กเจนเนอเรชันอัลฟ่าจะมีคุณลักษณะเด่นอยู่ 7 ประการ คือ

1.ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว (Individualism)

2.เชี่ยวชาญเทคโนโลยี (Robust Education Technology Savvy)

3.อาชีพผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Generation)

4.ขาดการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Less of Human Contact or Relationship)

5.ได้ความรักท่วมท้น (Extreme Coddle)

6.ขาดความยืดหยุ่น (Less of Resilience)

7.คุณธรรมและจิตวิญญาณลดลง (Moral and Spiritual Weakness)

ทั้งนี้ จากคาเรกเตอร์ของเจนเนอเรชันอัลฟ่าที่กล่าว จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะที่น่าเป็นห่วงของเด็กและเยาวชนในยุคเจนเนอเรชันอัลฟ่านั้น ได้แก่การใช้ชีวิตคนเดียว การขาดการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การได้รับความรักที่ท่วมท้นมากจนเกินไป การขาดความยืดหยุ่น และการที่ระดับคุณธรรมและจิตวิญญาณลดลง ซึ่งทั้งหมดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

“สู้ๆ ลูก เป็นคีย์เวิร์ดที่ไม่ควรใช้ ยิ่งในกลุ่มเด็กที่มีภาวะเครียดหรือซึมเศร้า เพราะวันที่เด็กจิตตก ภาวะซึมเศร้า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เขาจะบอกตัวเองว่าทำได้ หากทำได้จริงๆ คงไม่มีกรณีเด็กฆ่าตัวตาย และไม่ง่ายที่เด็กบ้าพลังในวันที่ประสบความสำเร็จ พูดว่าความสุขจะอยู่กับเราอีกไม่นาน” รศ.นพ.สุริยเดว กล่าว

  • คุณธรรมวัดได้ คนไทยขาดความมีระเบียบวินัย

คุณธรรมนิยามใหม่ คือ พฤติกรรมที่ดีและกลายเป็นพฤตินิสัยที่ใครๆ ก็สัมผัสได้ ต่อให้แม้เจอสิ่งย้อท่อ หรืออุปสรรค ก็ทำให้เป็นพฤตินิสัยได้ ต้องมีคุณธรรม 5 ด้าน คือ

1.พอเพียง  มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน

2. วินัยรับผิดชอบ การยอมรับและปฎิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม การควบคุมตนเอง การตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ การยอมรับผลการกระทำของตน  

3. สุจริต การละลายต่อการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การไม่เอาเปรียบและไม่แสวงหาผลประโยชน์ การยืนหยัดในความถูกต้อง

4.จิตสาธารณะ จิตอาสา สำนึกสาธารณะเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

5.กตัญญู การมีสำนึกในความดี การเคารพความดี การตอบแทนความดี

สำรวจสถานการณ์กลุ่มคนช่วงวัย 25-40ปี ประมาณ 8,000 คนทั่วประเทศไทย พบว่า คนไทยมีคุณธรรมด้านความกตัญญูมากที่สุด รองลงมา คือ สุจริต สาธารณะ และความพอเพียง ส่วนคุณธรรมที่มีความหย่อนยานมากสุด คือ ความมีวินัยรับผิดชอบ  

นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน 12 ปีของไทย ในปี 2564 พบว่า ประชาชนภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร กำลังวิกฤตคุณธรรมทั้ง 5 ด้าน โดยในพลังบวกเด็กไทย พบว่า พลังตัวตนของเด็กมีเพิ่มมากขึ้น แต่พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา และพลังเพื่อนกิจกรรมลงลง ขณะที่พลังชุมชนน้อยที่สุด

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

  • ระบบนิเวศเด็กแย่ พ่อแม่ไม่ฟังเสียงลูก

ผู้ใหญ่มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทแรกผู้ใหญ่ที่พร้อมรับฟังเสียงของเด็ก กับผู้ใหญ่ที่ไม่รับฟังเสียงเด็ก ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ไม่รู้ตัวมองว่าลูกคือปัญหา แต่จริงๆ อาจเป็นผู้ใหญ่ และพ่อแม่ที่มีปัญหา อย่างกรณีที่พ่อแม่พาลูกวัยรุ่นเข้ามารักษากับ “รศ.นพ.สุริยเดว” พบว่า  50% จะรักษาพ่อแม่ที่พาวัยรุ่นมาพบแพทย์ และอีก 25% ต้องซ่อมทัศนคติครู  

รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวต่อไปว่าระบบนิเวศของเด็กในปัจจุบันแย่กว่าตัวเด็กเอง ซึ่ง 3ใน 4 ของเด็กที่มีปัญหามาจากระบบนิเวศ  เพราะผู้ใหญ่ไม่เคยฟังเสียงเด็ก เมื่อผู้ใหญ่ไม่ฟังเด็กจึงอยู่ด้วยกันยาก เนื่องจากผู้ใหญ่ไม่ได้ยินหัวใจเด็ก ขณะที่โรงเรียนในประเทศไทยมีชั่วโมง Homeroom แต่ไม่มีการพูดคุยกับเด็ก  

  • 5 เรื่องที่หากผู้ใหญ่ลงทุนกับลูกแล้วจะไม่มีปัญหา

1. รัก อบอุ่น และไว้วางใจ โดยรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ใช่รักแบบไม่ลืมหูลืมตาบ้านต้องมีปฎิสัมพันธ์ที่ดี

2.เปลี่ยนจากผู้พูดมาเป็นผู้ฟัง พ่อแม่อย่าพูดว่าตัวเองอาบน้ำร้อนมาก่อน และการฟัง ให้ฟังแบบ 3 อย่าง คือ ฟังอย่างเดียว ฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ดี และฟังแล้วถาม ถามว่าลูกรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร และเห็นปัญหาแล้วจะแก้อย่างไร

 3.บ้านต้องมีวินัยโดยการตกลงร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูก

4.ควบคุมอารมณ์ตนเอง

5 เด็กไม่ใช่ผ้าขาว เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเปิดใจยอมรับ อย่าเลี้ยงลูกเหมือนกัน

ทั้งนี้ ปัจจุบันพ่อแม่รักลูกตนเองจนขาดการลืมหูลืมตา และอย่าพูดคำว่าปลูกฝังกับเด็ก แต่ให้ใช้คำว่าวิถีชีวิต ความดีที่อยากทำ ปัญหาที่อยากแก้ ให้เริ่มต้นที่พ่อแม่ก่อน  โดยพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก  และอย่านำวิธีการท่องจำมาพัฒนาคุณธรรม แต่ต้องทำให้เกิดการปฎิบัติ เป็นวิธีชีวิตของเด็ก ถือเป็นการลงทุนกับลูกที่คุ้มค่า 

5 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ การลงทุนกับลูก อย่างไร?ให้ประสบความสำเร็จ

ขณะที่ การเรียนการสอนในโรงเรียนต้องสนใจกระบวนการที่ทำให้เด็กมีคุณธรรม อยู่ร่วมกันได้ อย่าไปมองที่ผลลัพธ์ของการเรียนอย่างเดียว รวมถึงครูต้องสร้างระบบนิเวศให้แก่เด็กเมื่อเด็กทำไม่ได้ หรือพบเจอปัญหา ทำให้ผู้แพ้ยืนได้ในสังคม