งานหนังสือยังปัง 'หนังสือยังไม่ตาย' กำลังเป็นอุตสาหกรรม Soft Power ไทย

งานหนังสือยังปัง 'หนังสือยังไม่ตาย' กำลังเป็นอุตสาหกรรม Soft Power ไทย

งานหนังสือปัง หนึ่งข้อพิสูจน์หนังสือยังไม่ตายในยุคออนไลน์ และกำลังกลายเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ขับเคลื่อน Soft Power ไทย มูลค่ายอดขาย 15,000 ล้านบาท

Keypoints:

  •      ย้อนดูสถิติการอ่านของคนไทย ที่ก่อนหน้านี้พบว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำ บวกกับยุคออนไลน์ จนทำให้มีการระบุว่า ถึงกาลที่หนังสือจะต้องสูญหาย 
  •       งานหนังสือที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่มีแนวโน้มบูทผู้ประกอบการ จำนวนคนเข้าร่วมงาน และยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งตัวเลขที่บ่งบอกว่าหนังสือไม่ตาย 
  •       10 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนนโยบาย THACCA ที่จะเป็นSoft Power ของประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมหนังสือ

สถิติการอ่านคนไทย   

      จากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านเฉลี่ยวันละ 80 นาที

        เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านของเด็กเล็กในปี 2558 มี 60.2% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 61.2% ในปี 2561
           ปี 2561 การอ่านของประชากรในวัยเด็กและวัยสูงอายุมีอัตราการอ่านลดลงเล็กน้อย ในขณะที่วัยเยาวชนและวัยทำงานมีอัตราการอ่านที่เพิ่มขึ้นจากปี 2558

      สำหรับผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมดใช้เวลาอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน (80 นาที)
          กลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่านมากที่สุด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 49 นาทีต่อวัน (109 นาที) วัยเด็กและวัยทำงานใช้เวลาอ่านเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ชั่วโมงเล็กน้อย

       วัยสูงอายุใช้เวลาอ่านน้อยที่สุดเฉลี่ย 47 นาทีต่อวัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 พบว่า ทุกกลุ่มวัยใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้น โดยวัยเยาวชนใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 15 นาทีต่อวัน

งานหนังสือตัวเลขยังปัง
     หนึ่งในสิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกได้ว่า “หนังสือไม่ตาย” และคนไทยยังให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ คือ ตัวเลขต่างๆที่สะท้อนจากงานหนังสือ หรือสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติ โดยสถิติ 5 ปีย้อนหลัง (ยกเว้นปี 2563-2564 ที่ไม่มีการจัด) พบว่า 
1.จำนวนผู้ออกบูธ

ปี  2560  จำนวน 430 ราย ,ปี 2561 จำนวน 407 ราย ปี 2562 จำนวน 374 ราย,ปี  2565 จำนวน 208 ราย และปี 2566 จำนวร 331 ราย

2.จำนวนบูธ

ปี 2560 จำนวน 947 บูธ ปี 2561 จำนวน 941 บูธ  ปี 2562 จำนวน 924 บูธ  ปี 2565 จำนวน 584 บูธ ปี  2566 จำนวน 902 บูธ

3.จำนวนผู้ชมงาน
ปี 2560 จำนวน 1.67 ล้านคน  ปี 2561 จำนวน 1.39ล้านคน ปี 2562 จำนวน 1.41 ล้านคน ปี 2565 จำนวน 7.15 แสนคน  ปี  2566 จำนวน 1.14 ล้านคน 

4.ยอดขาย
ปี 2560 จำนวน 293 ล้านบาท  ปี 2561 จำนวน 363 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 352 ล้านบาท ปี 2565 จำนวน 199 ล้านบาท ปี  2566 จำนวน 350 ล้านบาท 
    สำหรับในส่วนของมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 (Book Expo Thailand 2023) ในระหว่างวันที่ 12 – 23 ตุลาคม 2566 รวม 12 วัน ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติ ผู้ประกอบการสำนักพิมพ์ออกบูธจำนวนกว่า 930 บูธ จากสำนักพิมพ์ชั้นนำ 340 ราย มีหนังสือให้เลือกกว่า 1 ล้านเล่ม และมีการเปิดตัวหนังสือใหม่อีกกว่า 3,000 ปก

หนังสือ 1 ใน 10 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
        เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ก้าวต่อไปของ วธ. จะขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลักวัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ พร้อมสืบสาน รักษา ต่อยอด ผ่านจุดเน้นหลักๆ คือการขับเคลื่อนนโยบายรองรับ THACCA (Thailand Creative Content Agency) และการขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยจะดำขับเคลื่อนผ่าน 10 ข้อดังนี้

1.สำรวจ รวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดใน 10 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และผลักดันนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวออร์

2.สำรวจและพัฒนาแรงงานด้านวัฒนธรรมให้มีทักษะสูง รองรับความต้องการของตลาด 3.บริหารจัดการพื้นที่และเครือข่ายทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และพลังทางวัฒนธรรม

4.ยกระดับงานวัฒนธรรมเดิมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

5.ส่งเสริมเทศกาลประเพณีของชาติและเทศกาลอื่นๆ ด้านวัฒนธรรม ให้เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

6.ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

งานหนังสือยังปัง \'หนังสือยังไม่ตาย\' กำลังเป็นอุตสาหกรรม Soft Power ไทย

7.สร้างโอกาสให้เข้าถึงแหล่งทุน และเพิ่มช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ จากการจำหน่ายสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม

8.นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการต่อยอดงานวัฒนธรรม

9.อนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมงานวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของชาติให้คงคุณค่าและเนื้อหาสาระของวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

10.เปิดพื้นที่สำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และแสดงออก นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์  
      ส่วนการขับเคลื่อน “Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก” ผ่าน 10 ข้อดังนี้ 1.ส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft Power 2.ผลักดันโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก 3.ผลักดัน Bangkok เมืองแฟชั่น 4.ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 5.สร้างสังคมรักการอ่าน 6.ผลักดันมวยไทยสู่สากลในทุกมิติ 7.ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ 8.ส่งเสริมให้นำวัฒนธรรมไทยไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เกม ภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่น แอนิเมชั่น เป็นต้น 9.เปิดพื้นที่และเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างสรรค์งานศิลปะและดนตรี และ 10.ส่งเสริมอาชีพกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

      สำหรับ 10 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

  1. กลุ่มภาพยนตร์ ซีรี่ส โฆษณา ภาพยนตร์
  2. กลุ่มงานออกแบบแฟชั่น และงานคราฟ เรามีการจัดจำหน่าย ได้เงินกลับมา 300-400 ล้านบาท จากการจัดงานเพียง 3 วัน
  3. กลุ่มงานออกแบบแฟชั่น และงานคราฟ 
  4. กลุ่มกีฬา ที่ผ่านมามุ่งเน้นเรื่องมวยไทยในเรื่องอขงการอนุรักษ์
  5. กลุ่มดนตรี  เพลงและจัดคอนเสิร์ต 
  6. กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม การทำท่องเที่ยวชุมชน เราจะต่อยอดให้รักษาอย่างยั่งยืน
  7. กลุ่มหนังสือ มีการสนับสนุนมากขึ้น
  8. กลุ่มศิลปะร่วมสมัย  ละครเวที และแกลอรี่ 
  9. กลุ่มสุขภาพ สปาและนวัตกรรม เป็นการดำเนินการภายใต้ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และการทำเรื่ององค์ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของนวดไทย
  10. กลุ่มซอฟต์แวร์ และเกม จะมีการเก็ยตัวเลขที่ทำร่วมกับภาคเอกชน และสนับสนุนให้เกิดการสร้างสื่อใหม่ๆ จะมีแผนในการขับเคลื่อนอย่างไร

       สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศ ไทย (PUBAT) กล่าวว่า การสนับสนุนจากภาครัฐที่กำหนดให้ “หนังสือ” เป็น Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทำให้เชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมหนังสือจะกลับมาคึกคัก ส่งเสริมให้หนังสือและผู้ประกอบการไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งSoft Power เป็นจุดสำคัญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมหนังสือมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น
มูลค่าอุตสาหกรรมหนังสือ

       ภาพรวมตลาดอุตสาหกรรมหนังสือข้อมูลจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ PUBAT พบว่า

ปี 2557 มูลค่า 29,300 ล้านบาท

ปี 2558 มูลค่า 27,900 ล้านบาท

ปี 2559 มูลค่า 27,100 ล้านบาท

ปี 2560 มูลค่า 23,900 ล้านบาท

ปี 2561 มูลค่า 18,000 ล้านบาท

ปี 2562 มูลค่า 15,900 ล้านบาท

ปี 2563 มูลค่า 12,500 ล้านบาท

ปี 2564 มูลค่า 13,000 ล้านบาท

 ในปี 2565 คาดว่าอยู่ที่ 15,000  ล้านบาท

 อ้างอิง : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ,PUBAT,กระทรวงวัฒนธรรม