อัปเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่นโคอินุ 4-5 ต.ค.66 ส่งผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน

อัปเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่นโคอินุ 4-5 ต.ค.66 ส่งผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน

สถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก ประจำเช้าวันนี้ (4 ต.ค.66) พายุไต้ฝุ่นโคอินุ (KOINU) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน โดยช่วงวันที่ 4-5 ต.ค.2566

อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก ประจำเช้าวันนี้ (4 ต.ค.66) พายุไต้ฝุ่นโคอินุ (KOINU) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน โดยช่วงวันที่ 4-5 ต.ค.2566 และจะเคลื่อนตัวต่อไปยังด้านตะวันออกของประเทศจีนแถบมณฑลกวางตุ้งและเกาะฮ่องกง

คาดว่า พายุโคอินุ จะอ่อนกำลังลงอีก จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพอากาศของประเทศไทยเนื่องจากมีมวลกาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ทำให้พายุอ่อนกำลังลงในช่วงดังกล่าว

ส่วนฝนที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้มาจากร่องมรสุมที่ยังพาดผ่านประเทศไทย และหย่อมความกดอากาศต่ำยังต้องติดตามเป็นระยะ ไม่น่ากังวลเรื่องพายุ แต่ขอให้เฝ้าระวังฝนที่จะตกต่อเนื่องและตกหนักจากอิทธิพลของร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำ

โดยช่วงวันที่ 4-5 ต.ค.2566 บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นช่วงวันที่ 6-9 ต.ค.2566 ฝนจะเพิ่มขึ้นบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง) ฝนเกิดขึ้นตามแนวร่องมรสุมที่เลื่อนขึ้นลงช่วงท้ายๆ ลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มพัดปกคลุมทางภาคเหนือ อีสานตอนบน สัญญาณการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลจะเริ่มขึ้น ช่วง 10-13 ต.ค.2566 ดังนั้นระยะนี้อากาศจึงมีความแปรปรวนสูง

 

อัปเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่นโคอินุ 4-5 ต.ค.66 ส่งผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน

 

อัปเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่นโคอินุ 4-5 ต.ค.66 ส่งผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน

 

อัปเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่นโคอินุ 4-5 ต.ค.66 ส่งผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป

ช่วงวันที่ 4- 5 ต.ค.2566

ทิศทางลมยังแปรปรวน หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องระวังฝนหนักบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ในช่วง 1-2 วันนี้ คลื่นลมมีกำลังอ่อนถึงปานกลางโดยเฉพาะทะเลอันดามัน คลื่นสูง 1-2 เมตร

ช่วงวันที่ 6 -9 ต.ค.2566 

ร่องมรสุมจะสวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง เป็นช่วงท้ายๆของฝนที่จะเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน  ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศมีความแปรปรวนสูง ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนเริ่มมีมวลอากาศเย็นแผ่ซึมลงมาปกคลุมแล้ว 

ช่วงวันที่ 10 -13 ต.ค.2566 

มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) เริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า ทิศทางลมเริ่มเปลี่ยนแปลง ฝนยังเกิดขึ้นบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ตอนบน 

 

 

cr : กรมอุตุนิยมวิทยา