จากความชอบสู่การเป็น 'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

จากความชอบสู่การเป็น 'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

‘การสวดมหาชาติคำหลวง’ เป็นภารกิจของกรมการศาสนาที่ต้องสืบสานโบราณราชประเพณีที่สำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา  ประจำปี 2566 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 วันที่ 1 และวันที่ 2 สิงหาคม 2566

Keypoint:

  • รู้จัก 'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง'  ของกรมศาสนา ผู้รับหน้าที่ในราชประเพณีเก่าแก่ที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
  • กว่าจะเป็นนักสวดพระมหาชาติคำหลวงได้ ต้องผ่านการคัดเลือก ฝึกฝน และต้องมีคุณสมบัติเพศชาย ใจรัก ทำงานเป็นทีม
  • ชมการสวดได้ในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 วันที่ 1 และวันที่ 2 สิงหาคม 2566

วันนี้ 'กรุงเทพธุรกิจ' ได้มีโอกาสพูดคุยกับหนึ่งใน 'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง' นายเฉลิมชัย ดงจันทร์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ของกรมศาสนา ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะนักสวดมหาชาติคำหลวง มาเป็นเวลากว่า 20ปี  

กว่าจะเป็น 'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง' ได้นั้น ไม่ใช่ว่าใครจะไปสมัครก็สามารถเป็นได้ทันที แต่ต้องผ่านการคัดเลือก การฝึกหัดฝึกซ้อม โดย 'นายเฉลิมชัย' ได้มีโอกาสสัมผัสหรือได้ยินการสวดมหาชาติคำหลวงครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี  

ตอนนั้นเป็นช่วงปิดภาคเรียน และได้มีโอกาสติดตามลุงเพื่อมาช่วยงานที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากลุงทำการอยู่ฝ่ายจัดตั้งวัดของกรมการศาสนา และมีอยู่วันหนึ่งได้ยินเกี่ยวกับการสวดมหาชาติคำหลวงว่า 'ถ้าใครสวดมหาชาติหลวงไม่ได้ ก็ไม่สามารถอยู่ตำแหน่งนี้ได้'

และเมื่อได้เห็นการฝึกซ้อมการสวดมหาชาติคำหลวงโดยมีคนฝึกซ้อมประมาณ 20 คน จึงได้นั่งฟังการฝึกซ้อมดังกล่าวอยู่ห่างๆ เมื่อได้ฟังการฝึกซ้อมการสวดมหาชาติคำหลวงรู้สึกเหมือนต้องมนต์สะกด และหลงใหลเสน่ห์ของท่วงทำนองที่ไพเราะ คำสวดไม่น่าเบื่อ เสียงสูง เสียงต่ำ กลมกลืน อย่างน่าฉงน

หลังจากได้ฟังการฝึกซ้อมสวดประมาณ 1 เดือน สังเกตได้ว่าในแต่ละวันจะมีจำนวนคนในการซ้อมสวดน้อยลงเรื่อย ๆ จนเหลือคนฝึกซ้อมสวดไม่ถึง 10 คน และได้มาพบคำตอบในภายหลังช่วงที่ได้เริ่มทำงานกรมการศาสนาว่า การสวดมหาชาติคำหลวงมีความยากอย่างมาก 

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

 

จุดเริ่มต้นก้าวสู่ 'นักสวดมหาชาติคำหลวง

นายเฉลิมชัย ปัจจุบันอายุ 42 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยทองสุข   เข้าปฏิบัติงาน ณ กรมการศาสนา ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว เมื่อปี 2547 จากคำแนะนำของลุง ก่อนจะเป็นพนักงานราชการปี 2550 และสอบ  เข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ เมื่อปี 2556 

โดยในช่วงนั้นผู้ที่จะสามารถเป็นนักสวดมหาชาติคำหลวงได้ 'ต้องเป็นข้าราชการของกรมการศาสนาเท่านั้น' จนมาเมื่อปี 2551 ได้รับโอกาสเข้าร่วมกลุ่มเป็นนักสวดมหาชาติคำหลวง

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา  

เนื่องจากนักสวดมหาชาติคำหลวง ได้เกษียณอายุราชการ การย้าย การโอน และการเลื่อนตำแหน่งบ้าง นายสมชัย เกื้อกูล หัวหน้าฝ่ายพิธีในขณะนั้น เสนอขออนุญาตให้พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว สามารถเป็นนักสวดมหาชาติคำหลวงได้ และจัดทำหนังสือที่มีการใส่ทำนองสวดในแต่ละบทสวดคล้ายกับภาษาคาราโอเกะ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกหัดสวดมหาชาติคำหลวงจนถึงปัจจุบันนี้

การสวดพระมหาชาติคําหลวง  มีการสวดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยกรมการศาสนามีหน้าที่จัดนักสวดพระมหาชาติคําหลวงไปสวด ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง  ช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกปี จะมีงานพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินไปทรงฟังการสวดพระมหาชาติคําหลวง ปีละ 2 ครั้ง คือวัน ถวายพุ่มเทียนพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

 

ขั้นตอนการเป็น 'นักสวดมหาชาติคำหลวง'

'กรมการศาสนา' มีหน้าที่ต้องฝึกหัดฝึกซ้อมนักสวด จัดนักสวดไปปฏิบัติหน้าที่สวดพระมหาชาติคำหลวง และถือเป็นงานราชการที่ปฏิบัติเป็นประจําทุก ๆ ปี ตามหนังสือแจ้งของสํานักพระราชวัง นักสวดมหาชาติคำหลวงต้องมีคำสั่งแต่งตั้งโดยอธิบดีกรมการศาสนาลงนาม  

โดยการคัดเลือก 'นักสวดมหาชาติคำหลวง' เริ่มจากการจัดฝึกหัดนักสวดมหาชาติคำหลวง โดยเชิญนายสมชัย เกื้อกูล อดีตหัวหน้าฝ่ายพิธี และนายจำลอง ธงชัย อดีตหัวหน้าฝ่ายพิธี เป็นวิทยากรในการฝึกสอน โดยฝึกสอนกันแบบวรรคต่อวรรค ปากต่อปาก เนื่องจากในการสวดมหาชาติคำหลวงมีการออกเสียงที่ยาก บางคำเขียนเหมือนกันแต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน โดยมีการออกเสียงทั้งเสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ เสียงสั้น เสียงยาว หลังการฝึกหัดนักสวดมหาชาติคำหลวงแล้ว จะมีการคัดเลือกหลังจากฝึกหัดนักสวดมหาชาติคำหลวง 

โดยนำบุคคลที่ผ่านการฝึกหัดการสวดมหาชาติคำหลวงและสามารถสวดได้อย่างถูกต้อง มาฝึกซ้อมการสวดร่วมกัน ในการสวดมหาชาติคำหลวงครั้งหนึ่งจะการสวดพร้อมกัน 4 คน ซึ่งการสวดร่วมกันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ของการสวดมหาชาติคำหลวง จำเป็นต้องหากลุ่มบุคคลที่เสียงมีความเข้ากันได้ประสานเสียงจนเกิดความไพเราะ จากนั้นจึงทำการแต่งตั้งนักสวดมหาชาติคำหลวง โดยประกอบด้วยนักสวดมหาชาติคำหลวง     ตัวจริงจำนวน 4 คน และนักสวดฯ สำรอง จำนวน 30 คน

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

คุณสมบัติของนักสวดที่ควรรู้

'การสวดมหาชาติคำหลวง'ของการศาสนายังพบปัญหาที่ตามมาหลายอย่าง อาทิ การทดแทนของบุคลากรที่จะนำมาฝึกซ้อมในการสวด และด้วยภารกิจที่มาก ทำให้ไม่มีเวลาในการฝึกซ้อมที่ตรงกัน จึงมีการการวางแผนบริหารจัดการ ฝึกบุคคลที่มีความสามารถ คัดเลือกจากความสมัครใจ ความพร้อม และน้ำเสียง   ต้องมีการปรับโทนเสียงให้เข้ากันด้วยกับทีม  ประมาณ 1 เดือน ก่อนถึงช่วงเทศกาลเข้าพรรษา

คุณสมบัติของการนักสวด คือ เพศชายสังกัดกรมการศาสนา เข้ามาฝึกได้ไม่จำกัดว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่กองศาสนพิธี  เจ้าหน้าที่กอง สำนักอื่น หากสนใจหากสวดพระมหาชาติคำหลวงก็สามารถสมัครเข้ามาฝึกสวดได้

ที่สำคัญที่สุด คือ มีใจรัก ทุ่มเทฝึกฝน และพร้อมจะเป็นทีมๆ เดียวกัน เนื่องจากกว่าจะฝึกจนสวดได้คล่อง 1 บท ใช้เวลาถึง 1 ปีเลยทีเดียว

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

ความประทับใจการเป็น 'นักสวดมหาชาติคำหลวง'

ประทับใจ คือในปี 2553 ซึ่งเป็นปีแรกที่ได้รับหน้าที่นักสวดมหาชาติคำหลวง ด้วยใจรัก และหลงใหลในเสน่ห์ของการสวดมหาชาติคำหลวงเป็นทุนเดิม ประกอบกับการการฝึกฝนอย่างหนักเป็นระยะเวลาถึง 2 ปี จึงได้รับโอกาสจากนายสมชัย เกื้อกูล หัวหน้าฝ่ายพิธีขณะนั้น ได้ให้โอกาสทำหน้าที่นักสวดมหาชาติคำหลวงที่ได้สวด   ต่อหน้าพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีโอกาสได้สวดถวายเป็นการส่วนพระองค์ ถือว่าเป็นเรื่อง      ที่น่าประทับใจในชีวิตของข้าราชการคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการสวดครั้งแรกอีกด้วย

การสวดพระมหาชาติคำหลวง ถือเป็นภารกิจที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของกรมการศาสนา จึงอยากให้นักสวดพระมหาชาติคำหลวงในปัจจุบัน หรือผู้ต้องการเป็นนักสวดพระมหาชาติคำหลวงในอนาคตขอให้มีความภาคภูมิใจกับหน้าที่การสวดพระมหาชาติคำหลวง โดยนักสวดพระมหาชาติคำหลวงจะได้สวดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และสวดถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อีกทั้ง ยังมีโอกาสได้สวดถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอให้นักสวดพระมหาชาติคำหลวงภาคภูมิใจในการสืบสานและต่อยอดโบราณราชประเพณีไม่ให้สูญหายไปจากสังคมไทย

สำหรับงานพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2566 การสวดพระมหาชาติคําหลวงตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 วันที่ 1 และวันที่ 2 สิงหาคม 2566

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา

นักสวดพระมหาชาติคำหลวง 4 คน ได้แก่ นายปิยวัฒน์ วงษ์เจริญ นายเฉลิมชัย ดงจันทร์ นายทินวุฒิ บัวรอด และนายณัฐพล เกิดเอี่ยม  ซึ่งนักสวด 4 คนนี้ จะสวดวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา และงานพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งนักสวดพระมหาชาติคำหลวงอีก 30 คน จะเป็นนักสวดในเวลาอื่นๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป

"อยากจะฝากถึงทุกคนที่สนใจจะสมัครเข้าร่วมโครงการนักสวดมหาชาติคำหลวง เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ ฝึกซ้อมทีมได้ ไม่จำกัดอายุ แต่ขอให้เป็นเพศชาย หรือเพศหญิงฝึก    ไว้เป็นความรู้ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี ขอให้มีใจรัก ตั้งใจฝึกซ้อม และสวดเข้ากับผู้อื่นได้"

จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา จากความชอบสู่การเป็น \'นักสวดพระมหาชาติคำหลวง ของกรมการศาสนา