'เงินสงเคราะห์บุตร' เดือนพฤษภาคม 2566 รับ 800 บาท ใครมีสิทธิบ้าง ?

'เงินสงเคราะห์บุตร' เดือนพฤษภาคม 2566 รับ 800 บาท ใครมีสิทธิบ้าง ?

"เงินสงเคราะห์บุตร" เดือนพฤษภาคม 2566 รับ 800 บาทต่อบุตร 1 คน ไม่เกิน 3 คน ประกันสังคม เตรียมโอนผ่านพร้อมเพย์ ใครมีสิทธิบ้าง ? พร้อมวิธีลงทะเบียนรายใหม่ เช็กที่นี่

ความคืบหน้าโครงการ "เงินสงเคราะห์บุตร" อายุไม่เกิน 6 ปี เดือนละ 800 บาทบุตรหนึ่งคน คราวละไม่เกิน 3 คน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในกองทุน "ประกันสังคม" จะได้รับตามประกาศกฎกระทรวงแรงงาน ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม ได้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีโอนเงิน "เงินสงเคราะห์บุตร" ผ่านพร้อมเพย์ ในวันพุทธที่ 31 พฤษภาคม 2566 

  • "เงินสงเคราะห์บุตร" 800 ใครมีสิทธิได้บ้าง ? 

1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้างประจำ) มาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) และผู้ประกันตนมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)

2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน

3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

\'เงินสงเคราะห์บุตร\' เดือนพฤษภาคม 2566 รับ 800 บาท ใครมีสิทธิบ้าง ?

  • 6 ขั้นตอนการลงทะเบียนรับ "เงินสงเคราะห์บุตร" ผ่านออนไลน์
  1. เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม (คลิกที่นี่)
  2. กด "เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน"
  3. เลือก ระบบ "e-Self service"
  4. เลือก "ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม"
  5. เลือก "สงเคราะห์บุตร"
  6. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วอัปโหลดเอกสารได้เลย

\'เงินสงเคราะห์บุตร\' เดือนพฤษภาคม 2566 รับ 800 บาท ใครมีสิทธิบ้าง ?

 

  • ลงทะเบียนขอรับ "เงินสงเคราะห์บุตร" 800 บาท

- ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)

- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ

- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

- พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

 

  • เอกสารที่ต้องใช้รับ "เงินสงเคราะห์บุตร"

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย

กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้

เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

  • กรณีหมดสิทธิ์รับ "เงินสงเคราะห์บุตร"

- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

- บุตรเสียชีวิต

- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น

- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

คุณแม่ผู้ประกันตน สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณี สงเคราะห์บุตร ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาที่ท่านสะดวก 

 

  • ไทม์ไลน์โอน "เงินสงเคราะห์บุตร" ดังนี้

วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566

วันพุทธที่ 31 พฤษภาคม 2566

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2566

วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2566

วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม