เรดาร์ฝน ล่าสุดฝนตกจุดไหนบ้าง กรมอุตุฯเตือนพายุฤดูร้อน 39 จังหวัด กทม.ด้วย

เรดาร์ฝน ล่าสุดฝนตกจุดไหนบ้าง กรมอุตุฯเตือนพายุฤดูร้อน 39 จังหวัด กทม.ด้วย

'เรดาร์ฝน' ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝนตกระหว่างเวลา 13.00-14.00 น. ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 39 จังหวัดเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน

'เรดาร์ฝน' ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝนตก ระหว่างเวลา 13.00-14.00 น. ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 39 จังหวัดเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน ซึ่งจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

'เรดาร์ฝน' ล่าสุด (9 พ.ค.66)

  • เวลา 13.00 น. พื้นที่ กทม. ไม่พบกลุ่มฝน / อุณหภูมิที่สำนักการระบายน้ำ 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 58%
  • เวลา 14.00 น. พื้นที่ กทม. ไม่พบกลุ่มฝน / อุณหภูมิที่สำนักการระบายน้ำ 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 49%

 

เรดาร์ฝน ล่าสุดฝนตกจุดไหนบ้าง กรมอุตุฯเตือนพายุฤดูร้อน 39 จังหวัด กทม.ด้วย

 

อัปเดตภาพเคลื่อนไหว พยากรณ์ฝนทุกๆ 3 ชม.ลมผิวพื้น (สูงจากพื้นดิน 10ม.) ลมใกล้ผิวพื้นที่ระดับ 925hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 600ม.) ลมที่ระดับ 500hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 5.5 กม.) และพยากรณ์คลื่นลมอย่างมีนัยสำคัญ

วันนี้ (9 พ.ค.66) พายุฤดูร้อน ยังเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะนี้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยทั้งอากาศที่ยังร้อน เมื่อมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมา อากาศร้อนปะทะอากาศเย็น ฝนฟ้าคะนองยังเกิดขึ้นช่วงวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2566 ทิศทางลมที่มีความแปรปรวน มีลมใต้ ตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ยังต้องระวังพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง

ส่วน วันที่ 9-13 พฤษภาคม 2566 ทะเลอันดามัน (อ่าวเบงกอล) เริ่มมีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง และคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนได้ ศูนย์กลางไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่ขอบของพายุอาจจะส่งผลต่อทางด้านตะวันตกของประเทศไทยได้ ลมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น โดยเฉพาะอ่าวเบงกอลตอนบน ช่วงวันที่ 10 - 13 พฤษภาคม 2566 ต้องติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- กรมอุตุฯ เตือน ฉ.6 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 9-10 พ.ค. เช็กด่วนจังหวัดฝนตกหนัก ลมแรง

 

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก 'พายุฤดูร้อน' ในวันที่ 10 พ.ค.2566

  • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 9-14 พฤษภาคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว