ทำไม"ผู้หญิงโสด"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

ทำไม"ผู้หญิงโสด"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

วันสตรีสากลตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีแคมเปญธีมปีนี้ของ International women’s day2023คือ#EmbraceEquity หรือ การโอบกอดความเสมอภาค

Keypoint:

  • วัยทำงาน Gen Y มุ่งทำงานให้ประสบความสำเร็จ ครองตัวเป็นโสด ไม่สมรส และไม่มีลูก มีแนวโน้มสูงขึ้นติดต่อกัน 5 ปี
  • ยิ่งการศึกษาสูงขึ้น ผู้หญิงจะยิ่งโสดขึ้น  ไม่อยากมีลูก 
  • เป้าหมายในชีวิตเปลี่ยนไป การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์ของชีวิต 
  • ไม่อยากรับภาระ อยู่คนเดียวอย่างมีความสุขดีกว่าคบผู้ชายแย่ ๆ

ความเสมอภาคเป็นสิ่งต้องมีในทุกสังคม รวมถึงการให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางเพศต้องอยู่ใน DNA ของทุกสังคม และ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ความเสมอภาค” และ “ความเท่าเทียม” โดยธีมแคมเปญ IWD 2023 กระตุ้นให้ทั่วโลกเข้าใจว่าเหตุใดทำไมเรื่องความเท่าเทียมกัน จึงยังไม่เพียงพอ!

 ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าวัยทำงานในกลุ่ม Gen Y ที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 - 2543 หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 22 - 42 ปี มีค่านิยมในการใช้ชีวิตคู่ที่เปลี่ยนไป คือ มุ่งทำงานให้ประสบความสำเร็จ ครองตัวเป็นโสด ไม่สมรส และไม่มีลูก มีแนวโน้มสูงขึ้นติดต่อกัน 5 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2564

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

ขณะที่ผลสำรวจด้านสถานการณ์อัตราการเกิดของเด็กไทย ที่พบว่าในช่วงเวลาย้อนหลัง 10 ปี มีแนวโน้มเด็กเกิดลดลง กล่าวคือ ในช่วงปี 2555 - 2564 มีอัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงไปเรื่อยๆ จากระดับการเกิดมากว่า 8 คนต่อประชากร 100,000 คน เหลือเพียงไม่ถึง 6 คนต่อประชากร 100,000 คน สะท้อนชัดเจนว่าคนไทยไม่อยากมีลูก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เรียลลิตี "หาคู่" เกาหลีใต้บูม ยังไม่หนุนคนแต่งงานเพิ่มมากพอ

สวัสดิการที่ 'คนโสด' อยากได้ กฎหมายเปิดช่อง 'อุ้มบุญ' - sperm bank

คนโสดอ่วม! หนี้ท่วมหลัง "เดท" ยุคเงินเฟ้อ "มิลเลนเนียล" เจ็บหนักสุด

ทำไมคนยุคใหม่ "ไม่นิยมมีลูก" เด็กเกิดใหม่น้อยลง ถึงจุดวิกฤติ

 

คนโสดมากขึ้น  ผู้หญิงแต่งงานช้าลง

โดยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผลสำรวจระบุถึงความโสดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไว้ดังนี้ ปี 2560 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 39.1% ปี 2561 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 40.2% ปี 2562 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 41.7% ปี 2563 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 43.1 % ปี 2564 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 44.5%

 ทั้งนี้ยังมีข้อมูลสำรวจจากกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) พบอีกด้วยว่า คนไทยแต่งงานช้าลงโดยได้จากช่วงอายุจากเดิมราว 24 ปีใน 2533 มาเป็น 28 ปี ในปี 2553 และประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันในช่วงปี 2564-2565 อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่ตัดสินใจแต่งงานจะมากขึ้นอีก

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูก คือ

  • สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย
  • ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
  • ค่าแรงขั้นต่ำไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
  • ผู้คนคิดว่าในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ 
  • คนรุ่นใหม่มีเป้าหมายชีวิตมุ่งไปในการทำงานเพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าสิ่งอื่น
  • คนรุ่นใหม่ตระหนักและชะลอเรื่องการสร้างครอบครัวมากขึ้น และตัดสินใจไม่อยากมีลูก เนื่องจากกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน

 

ทำไม? ผู้หญิงถึงโสดมากขึ้น

ส่วนในกลุ่มสาวๆ ที่เลือกโสดมากขึ้นนั้น จากงานวิจัยของผู้เขียนและ Ms. Lusi Liao ที่มีชื่อว่า “Gold Miss” or “Earthy Mom”? Evidence from Thailand (Liao and Paweenawat, 2019a) ซึ่งได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิงไทยกับการตัดสินใจแต่งงานและมีลูก พบว่า

  • ความสำเร็จด้านการศึกษามีผลต่อการเลือกคู่ โดยผู้หญิงที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 50-60% จะอยู่เป็นโสด
  • ไม่อยากมีลูก ด้วยค่าใช้จ่าย และมุมมองการมีลูกเปลี่ยนแปลงไป
  • เป้าหมายในชีวิตเปลี่ยนไป การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์ของชีวิต
  • แต่งงานเพราะอยากแต่ง ไม่ใช่เพราะจำเป็นต้องแต่ง 
  • เมื่ออยู่คนเดียวแล้วใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ทำให้อยู่คนเดียวอย่างมีความสุขดีกว่าคบผู้ชายแย่ ๆ

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรมากกว่า 66 ล้านคน ซึ่งเป็นประชากรผู้สูงอายุ 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด นับได้ว่าไทยกำลังเข้าใกล้สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โครงสร้างขอประชากรที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุจำนวนมากถือเป็นคานงัดสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศทั่วโลก

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

เตรียมพร้อมสังคมรองรับการเปลี่ยนแปลง

ปรากฎการณ์โครงสร้างประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมสังคมเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยการเตรียมความพร้อมไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคนในวัยก่อนสูงอายุเท่านั้น แต่รวมถึงเด็กรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนา การทำงานกับเด็กรุ่นใหม่พร้อมใช้ชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีความสุข

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล กรรมการบริหาร มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) กล่าวว่าการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์มีความจำเป็น เพราะปี2564 เป็นปีแรกที่อัตราการเกิดน้อยลงเมื่อเทียบกับอัตราการตาย โดยมีการเกิด 5.4 แสนคน ขณะที่การตาย 5.6 แสนคน

ในปี 2565 ผ่านไป 7 เดือน คาดว่าการเกิดจะเหลือเพียง 5 แสนคน ขณะที่การตายอาจเพิ่มถึง 6 แสนคน ฉะนั้น หลังจากนี้ อัตราการเกิดจะติดลบไปเรื่อยๆ และอัตราการตายจะเพิ่มขึ้น

“ปีนี้ถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แน่นอน ซึ่ง 1ใน 5 ของคนไทยจะเป็นผู้สูงอายุ และไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด โดยปัจจุบันมีผู้สูงอายุเกือบร้อยละ 20 แต่มีเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี มีเพียง ร้อยละ 15-16”ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์กล่าว

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

ส่วนในปี 2566 ประชากรเกิดตั้งแต่พ.ศ.2506 จะเป็นกลุ่มสึนามิประชากร หรือกลุ่มคนที่จะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จะมีเพิ่มประมาณ 1 ล้านคนไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุวัยปลาย 70 ปีขึ้นไป จะมีเพิ่มมากขึ้นไปถึง 4 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มภาวะพึ่งพิง

นอกจากนั้น ครอบครัวไทยเล็กลง เฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 3 คนต่อ 1 ครัวเรือน จะมีครัวเรือนที่ผู้สูงอายุคนเดียว หรืออยู่ด้วยกัน 2 คนตายายประมาณเกือบร้อยละ 30 สถานการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะภาคส่วนไหน ต่อให้อายุมากหรืออายุน้อย ต้องมองอนาคตข้างหน้าของไทยว่าจะเป็นแบบไหน การเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่วัยสูงอายุมีความสำคัญมาก

จากการสำรวจ ได้มีการสอบถามเด็ก Gen Z หรือกลุ่มเด็กวัยมัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย ถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสังคมสูงวัยของไทย โดยส่วนใหญ่ มองว่า หากพวกเขาเป็นผู้สูงอายุ พวกเขาจะใช้ชีวิตกับลูกหลาน อยู่กับครอบครัว หรือออกไปท่องเที่ยว อยู่บ้านเล่นเกม เล่นหุ้น เลี้ยงต้นไม้ และจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จะไม่ยอมแก่ ไม่ปล่อยให้ตัวเองซึมอยู่ที่บ้าน จะออกไปทำกิจกรรม ดูแลสุขภาพของตนเอง และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

ทำไมคนยุคใหม่ นิยมไม่มีลูก

“พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์” อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้อธิบายว่า เหตุผลที่ปัจจุบันคนไทยมีลูกน้อยลง ส่วนหนึ่งต้องยอมรับเนื่องมาจากการเข้าถึงการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในประชากรบางกลุ่ม ผู้หญิงที่รับการศึกษาและอยู่ในระบบการศึกษาจนอายุมากขึ้น ทำให้ชะลอการมีครอบครัวและชะลอการมีบุตรด้วย ขณะที่ วิทยาศาสตร์การแพทย์เรื่องการคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวดีขึ้น ความประสงค์ของผู้หญิงที่จะเข้าสู่ความเป็นแม่ หรือตั้งใจมีบุตรถูกชะลอออกไปและลดจำนวนลง 

อีกทั้งความคาดหวังต่อบทบาทของความเป็นพ่อแม่และต่อคุณภาพของลูก เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง โดยพ่อแม่หลายคนคาดหวัง หากจะต้องเป็นพ่อแม่คนก็ต้องมีความพร้อม จึงตั้งมาตรฐานความพร้อมไว้สูง กว่าจะถึงเวลาที่พร้อมจริง ความสามารถในการมีบุตรก็อาจถดถอยลงไป และความเครียดความจริงจัง ทำให้โอกาสต่อการเจริญพันธุ์ได้รับผลกระทบด้วย

“ความคาดหวังต่อคุณภาพของเด็ก คาดหวังรูปแบบการเลี้ยงดูที่พ่อแม่จะมีให้กับลูก ทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกวิตกกังวลต่อบทบาทความเป็นพ่อแม่ กว่าจะพร้อมก็เลยเวลาของวัยเจริญพันธุ์ไปพอสมควรแล้ว” พญ.อัมพร กล่าว

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เสนอทางออกแก้ปัญหาเด็กไทยเกิดน้อยด้วยการให้รัฐบาลประกาศนโยบายประชากร รณรงค์ให้ครอบครัวที่มีความพร้อมมีบุตรครอบครัวละไม่น้อยกว่า 2 คน เป็นไปด้วยความสมัครใจ มีการวางแผนและมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

รวมถึง มีการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะมีบุตรยาก ให้เข้าถึงบริการได้เร็วขึ้นภายใต้การขับเคลื่อนมาตรการหลัก 4 เรื่อง คือ เสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมแก่คนรุ่นใหม่ ในการสร้างครอบครัวและมีบุตรในวัยอันควร ผลักดันให้รัฐบาลมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

ส่งเสริมการจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน ในเวลากลางวันที่พ่อแม่จะต้องออกไปทำงานประกอบอาชีพช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากให้เข้าถึงการรักษาในอายุที่น้อยลงเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีลูกมากขึ้น

เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีเด็กเกิดใหม่ทุกคน

ด้าน “ดร.สมชัย จิตสุชน” ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า สถานการณ์เด็กเกิดใหม่น้อย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกหน่วยงานต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

เพราะในทุกวันมีเด็กเกิดใหม่ และเด็กเกิดใหม่ทุกคนต้องมีคุณภาพ เติบโตอย่างมีคุณภาพ ต้องไม่ทิ้งไว้ข้างหลัง หากเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ไม่ได้เติบโตมาอย่างมีคุณภาพ สังคมประเทศชาติก็จะสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่ดีในการพัฒนาประเทศ

“ตอนนี้หากไม่มีการพัฒนาดูแลเด็กเกิดใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จะเท่ากับเสียต้นทุนในการพัฒนาประเทศ ต้องทำเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว และต้องดูแลเด็กเกิดใหม่ทุกคน ยิ่งในสังคมผู้สูงอายุ อัตราการพึ่งพิงสูงขึ้น เด็กที่จะโตไปวัยแรงงานไม่มีคุณภาพ ประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป” ดร.สมชัย กล่าว

รวมทั้งกับดักรายได้ปานกลาง ต้องยอมรับว่าคนไทยยังมีคุณภาพไม่มากพอ ทำให้ประเทศขยับไปไหนไม่ได้ และทำให้ประเทศกำลังพัฒนา อย่าง เวียดนาม ซึ่งเขาได้มีนโยบาย แนวทางในการพัฒนาคนอย่างดีมาก มีการอุดหนุนเงินแรกเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้การเลี้ยงดูเด็กมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไทยยังไปไม่ถึงจุดนั้น

ทำไม\"ผู้หญิงโสด\"มากขึ้น การแต่งงานไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบของชีวิต

แนวทางในการแก้ไขปัญหา “เด็กเกิดใหม่น้อย” ดร.สมชัย แนะว่าประเทศไทยต้องมีงบประมาณที่เพียงพอในการดูแลเด็กเกิดใหม่ทุกคน ควรมีการขยายเงินอุดหนุนเด็กเกิดใหม่ตั้งแต่ในครรภ์ของแม่ เพราะให้เงินอุดหนุนบุตรในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ เนื่องจากแม่หลายคนไม่มีงานทำ ไม่มีเงินพอที่จะเลี้ยงดูลูกให้ได้ ควรมีการขยายความคุ้มครองในการดูแลเด็ก แม่ และครอบครัว

ภาครัฐ หรือสังคมโดยรวม ต้องหางบประมาณ หรือทรัพยากรในการดูแลเด็กอย่างเต็มที่ การแก้ปัญหา เด็กเกิดใหม่น้อย ต้องร่วมมือกัน หลายภาคส่วนต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน