สิทธิตามกฎหมาย ของคนที่ 'ท้องไม่พร้อม'

สิทธิตามกฎหมาย ของคนที่ 'ท้องไม่พร้อม'

เมื่อไม่พร้อมไม่ควรท้อง แต่หากเกิด ‘ท้องไม่พร้อม’ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะอับจนหนทาง ซึ่งตามกฎหมายมีการกำหนดสิทธิให้ไว้หลายส่วน ทั้งกรณีต้องการท้องต่อหรือยุติ รวมถึงช่องทางช่วยเหลือ 

Key points:

  •        เป้าหมายของประเทศไทย จะลดอัตราท้องไม่พร้อม ให้เหลือไม่เกิน 15 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี ภายในปี  2570
  •             พรบ.ท้องไม่พร้อม มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะการให้สิทธิในเรื่องต่างๆ  นักเรียนท้องต้องไม่ถูกไล่ออก หรือหากต้องการยุติการตั้งครรภ์ก็ทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย
  •            คู่มือปฏิบัติงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัด  เบื้องต้นใช้ใน 10 จังหวัด ก่อนประเมินและขยายผลใช้ในระดับประเทศ  

ต้นทุนค่าเสียโอกาสเมื่อท้องไม่พร้อม 8.3แสนลบ.
    ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า จากรายงานวิเคราะห์ต้นทางทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในประเทศไทยของ TDRI  เมื่อปี 2564 ที่เป็นการประเมินความแตกต่างของรายได้ตลอดช่วงชีวิตของแม่วัยรุ่น เทียบกับวัยรุ่นที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และเรียนต่อจนจบระดับการศึกษาตามที่วางแผนไว้ ได้ผลต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ที่ประมาณ 8.3 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 5.1% ของ GDP

             และต้นทุนนี้จะมากขึ้นในประชากรรุ่นต่อไปหากไม่มีการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเห็นชอบปรับค่าเป้าหมายใหม่ในการลดอัตราการคลอดของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีจากไม่เกิน 25 เป็นไม่เกิน 15 ต่อแสงประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คนภายในปี 2570 ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องเร่งให้เกิดขึ้นตามแผน

สิทธิหญิงท้องไม่พร้อมตามกฎหมาย

            สาระสำคัญในพรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

       มาตรา 5 ระบุว่า วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเองและมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์  ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

       มาตรา 6  สถานศึกษา มีหน้าที่จัดการสอนเพศวิถีศึกษา จัดหาหรือพัฒนาผู้สอน ช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้ศึกษาต่อเนื่อง  ดูแลช่วยเหลือคุ้มครองนักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง และมีหน้าที่ส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
      มาตรา 7 สถานบริการสาธารณสุข ต้องจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยเจริญพันธุ์ทั้งเรื่องป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ตามมาตรา 5

     มาตรา 8 สถานประกอบการ ต้องจัดให้มีระบบการส่องต่อให้วัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบได้รับการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม

    มาตรา 9  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) จัดให้มีการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัด ประสานงานเพื่อจัดหางานให้ได้ประกอบอาชีพ จัดหาครอบครัวทดแทนในกรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้  และจัดสวัสดิกสารสังคมในด้านอื่นๆ 

กรณีที่ยุติตั้งครรภ์ได้ไม่ผิดกฎหมาย
     ทั้งนี้ เมื่อหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม เข้ากระบวนการรับคำปรึกษาแล้ว ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ ในประเทศไทยมีการกำหนดเกณฑ์ให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในกรณี ดังนี้

1.การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของผู้หญิง

2.ทารกในครรภ์มีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง

3.การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา

 4.การตั้งครรภ์จากบุคคลที่ไม่ใช่สามี ในกรณีหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี  

5.การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่

       และประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 ใน มาตรา 301 และ 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่ถึง 12 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย

         ส่วนหญิงที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยบังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถือเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อม

ช่องทางช่วยเหลือท้องไม่พร้อม

เฟซบุ๊ค 1663

สายด่วย 1663 สายด่วนท้องไม่พร้อม

สายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

สายด่วน 1323 สายด่วนสุขภาพจิต

สายด่วน  1579 สายด่วนการศึกษา

สายด่วน 1330 สายด่วนสปสช.

เว็บไซต์  เพื่อนครอบครัว.com

เว็บไซต์ Rsathai

เว็บไซต์ Love Care Station

 เว็บไซต์ http://teenact.moph.go.th

ไลน์ Teenclub
สิทธิตามกฎหมาย ของคนที่ \'ท้องไม่พร้อม\'
คู่มือจังหวัดป้องกันท้องไม่พร้อม  

      คู่มือปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในระดับจังหวัด 

ประกอบด้วย นวัตกรรม 8 เรื่อง ได้แก่
     1.สภาเด็กและเยาวชน  ด้วยการจัดทำคู่มือสภาเด็กและเยาวชนเพื่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ,มอบหมายภารกิจให้สภาเด็กฯอำเภอ และตำบลของแต่ละพื้นที่เพื่อรับผิดชอบงานด้านท้องวัยรุ่น ,อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเป็นแกนนำเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ภายใต้การสนับสนุนของอบต. โดยใช้หลักสูตร/คู่มือที่มีการพัฒนาขึ้นแล้ว

     จัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กเละเยาวชนตำบลในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่แบบสื่อสารสองทาง ทั้งให้ความรู้ผ่านออนไลน์ ทีนคลับ และรับเรื่องร้องเรียนและประสานให้ความช่วยเหลือผ่านแหล่งสิทธิประโยชน์ และ5.รวบรวมข้อมูลจำนวนสมาชิก 10-19 ปีในตำบล จำนวนครั้งที่มีการขอความช่วยเหลือ จำนวนครั้งที่สมาชืกร้องเรียนการถูกละเมิดสิทธิ์ และจำนวนครั้งที่ประสานให้ความช่วยเหลือ
      2.สถานศึกษา  ในส่วนของผู้บริสถานศึกษา ปรับฐานคิดเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และสิทธิของเด้กและเยาวชนของครูทุกระดับในโรงเรียน บิดา มารดาและผู้ปกครองรวมถึงผู้นำชุมชน ,สนับสนุนกลไกการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และคัดเลือกครูพี่เลี้ยงประจำสถานศึกษา จำนวน 1-2 คนต่อสถานศึกษาจากครูผู้สอนที่มีคุณสมบัติสำคัญ ขณะที่ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ทำหน้าที่งานป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ของนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง ดำเนนิงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษา 

          3.รพ.สต. ซึ่งผอ.รพ.สต.มอบหมายผู้รับผิดชอบงานการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้มี 1 คนต่อ 1 รพ.สต. โดยบริการ สงต่ออนามัยเจริยพันธุ์ เชื่อมต่อกับสถานศึกษาจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงเรียน  จัดคลินิกเคลื่อนที่ในสถานประกอบการ และชุมชน รวมถึงให้ความรู้เพศวิถีศึกษา พัฒนาแกนนำและจัดกิจกรรมรณรงค์ ที่สำคัญให้การดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ หากมีอายุ 10-14 ปีต้องมีผู้ปกครองมาเซ็นยินยอม หากอายุ 15-19ปี ไม่ต้องมีผู้ปกครอง 

สิทธิตามกฎหมาย ของคนที่ \'ท้องไม่พร้อม\'
       4.ศูนย์พัฒนาครอบครัวระดับตำบล(ศพค.)  แนวทางการดูแลครอบครัวในประเด็นเพศวิถีศึกษา เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลวัยรุ่นและสนับสนุนลูกหลาน ความรู้เพศวิถีศึกษาอย่างง่าย ความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสารกับลูกหลานวัยรุ่น และกรณีการให้คำแนะนำกรณีลูกหลานตั้งครรภ์ โดยทำความเข้าใจกับผู้ปกตอรงเพื่อเป็นกำลังใจ อธิบายแหล่งสิทธิประโยชน์ ความช่วยเหลือ และประสานครูพี่เลี้ยงประจำโรงเรียน 

          5.สถานประกอบกิจการ  ดำเนินการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ หากมีแรงงานวัยรุ่นตั้งครรภ์ เมื่อต้องการยุติตั้งครรภ์จัดระบบส่งต่อ  เมื่อต้องการตั้งครรภ์ต่อ จัดระบบส่งต่อรพ.สต. รพ.ศุนย์ ทำงานได้ตามปกติและสวัสดิการแรงงาน และหลังแท้ง/หลังคลอด คุมกำเนิดกึ่งถาวร มุมนมแม่ ดูแลแม่และเด้กถึง 2 ปี สวัสดิการสังคม และสวัสดิการแรงงาน

         6.อปท. จัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการร่วมกับสภาเด็กฯ ภารการศึกษา สาธารณสุข พัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง สถานประกอบกิจการและเอ็นจีโอ 

         7.พชอ. กำหนดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็น 1 ใน 10 ประเด็นเพื่อพิจารณาประจำเดือน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ  และจัดทำแผนปฏิบัติงานมอบหมายผ่านระดับปฏิบัติการ 

          8.คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวีด มีผู้ว่าราชการเป็นประธาน  จัดประชุมเพื่อรับทราบและตั้งเป้าประสงค์ร่วมกัน ,แต่งตั้งคณะทำงานประสานและติดตามงานทุก 2 เดือน และจัดทำแผนปฏิบัติการ เป็นต้น