รู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris แนวโน้มมาแทนที่ XBB ติดเชื้อซ้ำได้

รู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris แนวโน้มมาแทนที่ XBB ติดเชื้อซ้ำได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น 'โควิด-19' ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมาแทนที่ XBB

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กประเด็น 'โควิด-19' ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมาแทนที่ XBB ผู้ที่เคยติดเชื้อแล้ว มีโอกาสที่จะเป็นซ้ำอีกได้

โควิด-19 สายพันธุ์กำลังจะเปลี่ยนเป็น EG.5.1 หรือ Eris

โดย โควิด-19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอดในช่วงที่ผ่านมา สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยจะเป็น XBB ขณะนี้มีแนวโน้มว่าสายพันธุ์ที่จะมาแทนที่ XBB คือ EG.5

สายพันธุ์ EG.5.1 หรือเรียกชื่อเล่นว่า Eris เทพธิดาแห่งความสับสนวุ่นวาย กำลังจะเข้ามาแทนที่ XBB โดยมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่สำคัญ 1 ตำแหน่ง ทำให้มีโอกาสที่หลบหลีกภูมิต้านทานได้อีก แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรค ไม่ได้เพิ่มขึ้น

การศึกษาของศูนย์ไวรัสที่ทำอยู่ ขณะนี้ถึงแม้จะมีตัวอย่างน้อย แต่ก็พบสายพันธุ์ RG.5.1 และสายพันธุ์นี้กำลังจะเป็นสายพันธุ์หลักโดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา ต่อไปก็คงหนีไม่พ้นในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ที่เป็นแล้วมีโอกาสที่จะเป็นซ้ำหรือติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น การติดตามสายพันธุ์ในประเทศไทยมีความสำคัญในการวางแผน โดยเฉพาะการป้องกันด้วยวัคซีนในอนาคต

 

รู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris แนวโน้มมาแทนที่ XBB ติดเชื้อซ้ำได้

 

รู้จักโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 หรือ Eris แนวโน้มมาแทนที่ XBB ติดเชื้อซ้ำได้

โควิด-19 อยู่ในช่วงขาลง แต่ก็ไม่ได้หายไปไหน

โควิด-19 เป็นโรคประจำฤดูกาล จะพบมากในฤดูฝนเริ่มตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม และเมื่อเข้าสู่สิงหาคม กันยายน ก็จะเริ่มลดลง จนเบาบางในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน

เชื้อไวรัสไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่กับเราตลอดไป และจะไปเพิ่มมาก (แต่ไม่มากเหมือนเดือนมิถุนายน) ในช่วงปีใหม่ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ก็จะลดลงอย่างมาก หรือเบาบางที่สุดในรอบปีในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และจะเป็นวัฏจักรตามฤดูกาล

สายพันธุ์ของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ขณะนี้เรารู้ว่าเกือบทั้งหมดในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ XBB ส่วนสายพันธุ์ RG ที่องค์การอนามัยโลก ให้ความสำคัญจับตามอง จะเป็นสายพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ต้องเฝ้าดูสำหรับประเทศไทย

อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เพิ่มความรุนแรงของโรคแต่อย่างใด ตามหลักวิวัฒนาการของไวรัสเพื่อความอยู่รอด ด้วยการลดความรุนแรงของโรค และมนุษย์เราก็มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นจากการที่เคยติดเชื้อมาก่อน หรือได้รับวัคซีน

วัคซีนตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ตัวต่อไปเป็น XBB ที่หลายบริษัทเตรียมผลิตและนำมาใช้ คาดว่าตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ ส่วนในปีหน้าสำหรับประเทศไทยคงจะต้องรอดูว่าจะใช้สายพันธุ์อะไร และวัคซีนต่อไปก็คงใช้กับกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้วจะรุนแรง คล้ายกับไข้หวัดใหญ่

ดังนั้น ต่อไปนี้วัคซีนที่จะใช้ต่อปีจะไม่ได้ใช้มากแบบวัคซีนโควิด 2 ปีที่ผ่านมา และการใช้ก็คงเป็นเพียงปีละครั้งในการกระตุ้น ยกเว้นเด็กเล็กที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน และถึงเวลานั้นผลระยะยาวของการฉีดวัคซีน ก็จะมีข้อมูลเพิ่มขึ้นมาก

 

 

อ้างอิงจากเฟซบุ๊ก : หมอยง