'น้ำตาลเทียม' 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด 'ขัณฑสกร' ห้ามบางประเภท

'น้ำตาลเทียม' 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด 'ขัณฑสกร' ห้ามบางประเภท

"น้ำตาลเทียม" 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด ขณะที่ 'ขัณฑสกร' ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท ส่วน WHO เตรียมพิจารณา “แอสปาร์เทม” น้ำตาลเทียมตัวหนึ่งนิยมใส่ใสเครื่องดื่ม เข้า “บัญชีสารเสี่ยงก่อมะเร็ง”

Keypoints :

  •  มีรายงานข่าวว่าองค์การอนามัยโลกหรือ WHO เตรียมพิจารณาให้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม  ที่ชื่อว่า “แอสปาร์เทม”ให้อยู่ในบัญชีสารเสี่ยงก่อมะเร็ง ภายในก.ค.2566
  • แม้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ของประเทศไทย อนุญาตให้ใช้น้ำตาลเทียมได้ แต่มี 3 ชนิด ที่ห้ามใช้ในอาหารทุกประเภท และห้ามใช้ขัณฑสกร ในผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท
  •  ข้อควรระวัง อันตราย และความเสี่ยงของการใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งมีการระบุว่าอาจมีผลให้เกิดอ้วนลงพุงและโรคเบาหวานได้เช่นกัน 

    ค่าความหวานน้ำตาลเทียม

       สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม แต่ละตัวมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการนำมาใช้ใน วัตถุประสงค์ แตกต่างกัน  ที่นิยมใช้มีหลายชนิด เช่น

- โซเดียมไซคลาเมท (Sodium cyclamate) มีความหวาน 30 เท่าของน้้าตาลทราย

 - ดัลซิน (Dulcin) หรือซูครอล (Sucrol) มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย

- ซัคคาริน (Saccharin) มีความหวานเป็น 500 เท่าของน้้าตาลทราย ส่วนในรูปของโซเดียมซัคคารีน ซึ่งเป็นรูปที่นิยมใช้ มีความหวานประมาณ 300-500 เท่าของน้้าตาลทราย

- อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า

- แอสปาร์เทม มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย

- ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานน้อยกว่าน้้าตาลทราย คือประมาณ ½ - 2/3 เท่าของน้้าตาล ทราย

- สติวิโอไซด์ (Stevioside) มีความหวานประมาณ 150-300 เท่าของน้้าตาลทราย

- ซัยลิทอล (Xylitol) มีความหวานเท่ากับน้้าตาลทราย

- ไดโซเดียมกลีซิลริซิเนต ไตรโซเดียมกลีซิลริซิเนต มีความหวาน 4,000 เท่าของน้้าตาลทราย

น้ำตาลเทียมที่WHOเตรียมพิจารณา

       เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยมะเร็ง (IARC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมพิจารณาให้ สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลม ไปจนถึงหมากฝรั่ง จะถูกจัดอยู่ในบัญชี “สารเสี่ยงก่อมะเร็ง” ในเดือน ก.ค.นี้ หลังจากมีการหารือของผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมหารือเมื่อต้นเดือน มิ.ย. เพื่อประเมินว่า"แอสปาร์เทม "มีความเสี่ยงก่ออันตรายหรือไม่ ฃ

   และJECFA คณะกรรมการด้านสารเติมแต่งของ WHO กำลังทบทวนการใช้แอสปาร์เทม ในปีนี้เช่นกัน การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือน มิ.ย.และมีกำหนดจะประกาศผลในวันเดียวกับที่ IARC เตรียมพิจารณาการตัดสินใจและประกาศผลในวันที่ 14 ก.ค.นี้  แม้เมื่อปี 2524 ทาง JECFA ระบุให้แอสปาร์แตมเป็นสารที่ปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณจำกัดต่อวัน

\'น้ำตาลเทียม\' 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด \'ขัณฑสกร\' ห้ามบางประเภท

น้ำตาลเทียม 3 ชนิดไทยห้ามใช้-นำเข้า

       ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ประกาศห้ามใช้ใส่ในอาหารทุกชนิด รวมทั้ง นำเข้าสารเคมีเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่

  • โซเดียมไซคลาเมท
  • ดัลซิน
  • สติวิโอไซด์

    ยังมีข้อก้าหนดห้ามใช้ซัคคารีน กับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท ได้แก่ เครื่องปรุงรส และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ด้วยเหตุผลที่ว่า ซัคคารีนเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงไม่เกิด ประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในวัยเด็ก ซึ่งอยู่ในช่วงที่ต้องการพลังงานสูง

น้ำตาลเทียมที่นิยมในเครื่องดื่ม

      น้ำตาลเทียมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่

1. ซัคคาริน หรือขัณฑสกร ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 300-700 เท่า

 2. แอสปาร์เทม ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้้าตาลทรายมาก ที่สุด จึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน

 3. อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า

4. ซูคราโลส ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 600 เท่า

ปริมาณน้ำตาลเทียมที่บริโภคได้ต่อวัน
       พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 อนุญาตให้ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้้าตาลหรือใช้รวมกับน้ำตาล ตามมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ, โคเด็กซ (Joint FAO/WHO, Codex) โดยปริมาณที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USDA) อนุญาตให้รับบริโภคได้ตามค่า acceptable daily intake levels (ADI) น้้าตาลเทียมแต่ละชนิดจะมีค่า ADI แตกต่างกัน ดังนี้

 - แอสปาร์เทม ค่า ADI เท่ากับ 40-50 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

- ซัคคาริน ค่า ADI เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

 - อะซิซัลเฟมโพแทสเซียม ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

- ซูคราโลส เท่ากับ, ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

น้ำตาลเทียมข้อควรระวัง

    การดื่มน้้าอัดลมสูตรไม่มีน้้าตาล หากดื่มติดต่อกันและดื่มในปริมาณ มากๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ติดรสหวาน มีความอยากบริโภคอาหารรสหวานเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้เกิด พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่พึงประสงค์ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เป็นสาเหตุของโรคอ้วนลง พุง และโรคเบาหวาน เป็นต้น โทษของน้ำตาลเทียม

1. แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน หากเป็นซัคคารินหรือขัณฑสกร มีรายงานการวิจัย ว่าทำให้เกิดมะเร็งในหนูเมื่อใช้ในขนาดสูง ควรหลีกเลี่ยง

2. ทำให้น้้าหนัก เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการ เกิดโรคอ้วนลงพุง

\'น้ำตาลเทียม\' 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด \'ขัณฑสกร\' ห้ามบางประเภท
3. เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้น จากงานวิจัย11 เรื่อง พบว่าการบริโภคเครื่องดื่มน้้าอัดลมที่มีน้้าตาล ท้าให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น18 % ขณะที่มี 3 ผลการศึกษา เรื่องการบริโภค น้้าอัดลมใส่น้้าตาลเทียมทำให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนได้ 59 % อาจเป็นเพราะผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมคิดว่า การดื่มน้้าอัดลมที่ไม่มีพลังงาน ทำให้สามารถบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงกว่าเดิมได้เพิ่มขึ้น จึงบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป[4]
 4. ส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้้าตาลในเลือดและระดับอินซูลิน โดยการบริโภคน้้าตาลเทียมเป็นประจำในปริมาณมากๆ จะส่งผลเช่นเดียวกันกับการบริโภคอาหารที่ทำให้ระดับน้้าตาลในเลือดขึ้นสูง  อีกทั้ง ทำให้การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป เกิดความอยากบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม รสหวาน ทำให้มีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากปกติ ส่งผลต่อการเกิดโรคเมตาบอลิกและโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ทางเลือกสุขภาพ ไม่ใช่เครื่องดื่มสุขภาพ

        ปัจจุบันได้มีการออกสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย ได้แก่ สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice logo)” โดยน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้้าตาล เป็น ผลิตภัณฑ์หนึ่งซึ่งได้รับสัญลักษณ์ดังกล่าว แต่ไม่ได้หมายความว่า น้้าอัดลมสูตรไม่มีน้้าตาล เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ หากแต่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคใช้เปรียบเทียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน
คำแนะนำน้ำตาลเทียม

   ควรอ่านฉลากให้ถ้วนถี่ทุกครั้งก่อนซื้อ หากจะใช้ น้้าตาลเทียมเองให้ใช้ในปริมาณเล็กน้อยหรือไม่เกินปริมาณที่กำหนด หรือใช้เทคนิคงปรับใช้ ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่ดี คือ

  •  ชิม ก่อนปรุงทุกครั้ง
  • งด เติมน้ำตาลหรือปรุงรสหวานเพิ่มในอาหาร
  •  เลี่ยง การกินขนมหวาน เปลี่ยนมากินผลไม้รสหวานน้อย
  • เลี่ยง การดื่มเครื่องดื่มรสหวานทุกชนิด เช่น น้้าอัดลม ชา กาแฟ นมปรุงแต่งรส
  • เริ่ม อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง

อ้างอิง :
สำนักข่าวรอยเตอร์
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย สธ.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)