'Café Amazon for Chance' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

'Café Amazon for Chance' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

ถ้าทุกคนทุกฝ่ายช่วยกันสร้างพื้นที่โอกาส จ้างงานผู้สูงอายุจริง ๆ ผมเชื่อว่า เรื่องของวัยจึงไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน”ภูรี สมิทธิเนตย์ หัวหน้าโครงการ Café Amazon for Chance บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

KEY

POINTS

  • 'Café Amazon for Chance' โครงการจ้างงานผู้ด้อยโอกาส 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้พิการทางการได้ยินและผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มทหารผ่านศึกที่สูญเสียอวัยวะและครอบครัว และกลุ่มผู้สูงวัย 
  • Amazon ปรับปรุงพื้นที่และติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน โดยจัดทำระบบช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ เครื่องชงอัตโนมัติ เทคโนโลยี POS 2 หน้าจอ ที่ลูกค้าสามารถ Touch หน้าจอสั่งเมนู หรือตรวจสอบเมนูได้ เป็นต้น 
  • ภาครัฐต้องช่วยผลักดันในการแก้กฎหมายจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และจะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น

ถ้าทุกคนทุกฝ่ายช่วยกันสร้างพื้นที่โอกาส จ้างงานผู้สูงอายุจริง ๆ ผมเชื่อว่า เรื่องของวัยจึงไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน”ภูรี สมิทธิเนตย์ หัวหน้าโครงการ Café Amazon for Chance บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

อายุเกษียณสำหรับวัยเก๋าตลอด 70 กว่าปีที่ผ่านมา กำหนดไว้ที่อายุ 55 ปี และ 60 ปี ทั้งที่คนไทยในปัจจุบันอายุยืนขึ้นถึง 36 ปี และประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือทั้งประเทศจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้น สูงถึง 28% ในปี 2576

ภาครัฐในหลายประเทศจึงได้มีนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อแก้ปัญหาสังคมสูงวัย ไม่ว่าจะเป็น การขยายเกษียณอายุเพื่อเพิ่มจำนวนวันทำงานที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ อาทิ สิงคโปร์เพิ่มอายุเกษียณ จาก 65 ปี เป็น 67 ปี และญี่ปุ่นขยายอายุเกษียณจาก 62 ปี เป็น 65 ปี

 ขณะที่ในประเทศไทยมีเพียงบางอาชีพเท่านั้น ที่มีการขยายอายุเกษียณแล้ว เช่น ผู้พิพากษา แพทย์ สัตวแพทย์ และงานช่างศิลปกรรม ส่วนธุรกิจเอกชนอย่างธุรกิจบริการและค้าปลีกมีการขยายอายุเกษียณสำหรับตำแหน่งที่ขาดแคลน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ไทยก้าวสู่ 'สังคมสูงวัย' ระดับสุดยอด กระทบตลาดแรงงาน

อายุ 40+ ออกกำลังกายอย่างไร? ให้ฟิต หน้าเด็ก อัตราการเต้นของหัวใจปกติ

เพิ่มโอกาส ขยายการจ้างงานสูงวัย

'โครงการ Café Amazon for Chance' หนึ่งในโครงการธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มปตท. ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ และบริษัทสานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ในการร่วมกันแก้ปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมสนับสนุนการจ้างงานผู้ด้อยโอกาส ทั้งกลุ่มผู้พิการทางการได้ยินและผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มทหารผ่านศึกที่สูญเสียอวัยวะและครอบครัว และกลุ่มผู้สูงวัย ได้เข้ามาทำงาน พัฒนาทักษะให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

'ภูรี สมิทธิเนตย์' หัวหน้าโครงการ Café Amazon for Chance บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เล่าว่า Café Amazon เชื่อในความเท่าเทียม และศักยภาพของผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่ม 4 ที่ทาง Amazon ได้จ้างมาทำงานในโครงการ Café Amazon for Chance ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่สร้างโอกาสให้แก่กลุ่มด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 

\'Café Amazon for Chance\' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

โดยการจ้างงานผู้สูงอายุ Amazon ได้ร่วมมือกับ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดตั้ง ร้าน Café Amazon for Chance สาขาที่ดำเนินการโดยบาริสต้าสูงวัย สาขาแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2563 จนถึงปัจจุบันขยายไปสาขาอื่นๆในการรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีศักยภาพและความสามารถมาร่วมทำงานในร้าน Café Amazon

“ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุเกือบ 500 คน ทำงานที่ร้าน Café Amazon 200 กว่าสาขา และมีแผนที่ขยายจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง กัมพูชา และเวียดนาม โดยAmazon ได้ปรับสาขา 287 แห่ง ร่วมกับ 40 สาขา Franchisee ในโครงการ Café Amazon for Chance ให้มีการจ้างงานผู้พิการ ผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาส สร้างงานสร้างอาชีพทั้งในเชิงปริมาณและมีการวางแนวทางที่ยั่งยืนระยะยาว” ภูรี กล่าว

ปรับพื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ดูแลสูงวัย

การเกษียณอายุงานในประเทศไทยนั้นเร็วเกินไป เพราะบางคนอายุ 55 ปี หรือ 60 ปียังมีศักยภาพ และความต้องการในการทำงาน สามารถรับเข้ามาทำงานได้ ดังนั้น ด้วยแนวคิด 'การอยู่ร่วมกัน' ของโครงการ ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้ามาทำงานได้อย่างสะดวก โดยไม่ได้สร้างปัญหาเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น

ภูรี เล่าต่อว่า Amazon ได้ออกแบบปรับปรุงพื้นที่และติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน โดยจัดทำระบบอุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ เครื่องชงอัตโนมัติ เทคโนโลยี POS 2 หน้าจอ ที่ลูกค้าสามารถ Touch หน้าจอสั่งเมนู หรือตรวจสอบเมนูได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บาริสต้าผู้พิการทางการได้ยิน ห้องเก็บของ จะไม่จัดเก็บหรือวางวัสดุและอุปกรณ์ในบริเวณชั้นที่สูง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บาริสต้าผู้สูงอายุ ระบบเรียกคิว สำหรับพนักงานผู้พิการทางการได้ยิน และป้าย Standy วิธีการสั่งภาษามือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสั่งเครื่องดื่มระหว่างลูกค้ากับบาริสต้าผู้พิการทางการได้ยิน เป็นต้น

ระบบการช่วยเหลือ ติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ทันที สะดวกต่อผู้สูงอายุ เป็นแนวทางในการช่วยเหลือ สนับสนุนให้คอยช่วยเหลือผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุเลือกว่าจะทำงาน Full Time หรือ Part Time สนใจทำงานในตำแหน่งไหน เป็นผู้รับออเดอร์ แคชเชียร์ บาริสต้า ดูแลทำความสะอาดร้าน เป็นการทำงานตามความสมัครและกำลังไหวในการทำงาน

\'Café Amazon for Chance\' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

เสริมสูงวัยมีงานทำ เห็นคุณค่าตัวเอง

การส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ จะมีการจัดฝึกอบรมพนักงานทุกคนให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน เพื่อสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน

“โครงการดังกล่าวอาจจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยตรง เนื่องจาก Amazon เปิดกว้างรับแรงงานในกลุ่มที่หลากหลาย และมีนักเรียน นักศึกษาเข้ามาร่วมทำงานทั้งแบบ Full Time และ Part Time แต่การจ้างงานผู้สูงอายุ Amazon เล็งเห็นถึงศักยภาพ ความสามารถของผู้สูงอายุ ที่ทำงานร่วมกับพนักงานเจเนอเรชั่นอื่นๆ ได้ พร้อมเรียนรู้ทักษะการทำงานแบบใหม่ๆ การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานผู้สูงอายุ ซึ่งจากการเปิดจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีประสบการณ์และทำงานร่วมได้ดีกับพนักงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี”ภูรี กล่าว

ภูรี เล่าต่อไปว่า ตอนนี้ Amazon ได้ทำงานใกล้ชิดกับกรมจัดหางานแต่ละจังหวัด เพื่อทำให้มีระบบการจ้างงานผู้พิการและผู้สูงอายุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งขณะนี้ผู้สูงอายุ อายุยืนมากขึ้น การจ้างงานเป็นเสมือนการเติมเต็มคุณค่าในตัวเองให้แก่พวกเขา เพราะหลายๆ คนยังสามารถทำงานได้ แต่หากไม่ได้ทำงานอาจมองว่าตัวเองไร้คุณค่า ดังนั้น อยากให้มองว่าผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นกำลังแรงงานที่มีศักยภาพ และสังคมควรให้โอกาสกลับมาทำงานอีกครั้งตามประสบการณ์ของพวกเขา

“ถ้าทุกคนทุกฝ่ายขยับพร้อมกัน ช่วยกันสร้างพื้นที่โอกาสสำหรับผู้สูงอายุจริง ๆ ผมเชื่อว่าผู้สูงอายุไทยมีศักยภาพ มีความสามารถ และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปรับตัวในความแตกต่าง ดังนั้น เรื่องของวัย ความพิการ ไม่ได้เป็นอุปสรรคของคนๆ หนึ่งในการเข้าถึงโอกาสการทำงาน”ภูรี กล่าว

\'Café Amazon for Chance\' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

ภาครัฐผลักดันแก้กฎหมายจ้างงานสูงวัย

ปัจจุบันหลายๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ต่างให้ความสำคัญในการจ้างงานผู้สูงอายุ แต่การจ้างงานผู้สูงอายุนั้น อาจจะมีข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง

ภูรี ฝากทิ้งท้ายว่าภาคเอกชนหลายๆ ที่มีการขยายเกษียณอายุการทำงาน เพราะพวกเขามองว่าคนวัยเก๋า ผู้สูงอายุยังมีความรู้ความสามารถ ทำงานขับเคลื่อนองค์กรได้ แต่ด้วยระบบการจ้างงานของประเทศไทย ถูกจำกัดด้วยข้อกฎหมายการจ้างงานผู้สูงอายุ เช่น สถานประกอบการที่จ้างผู้สูงอายุ (ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป) สามารถใช้สิทธิในการหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของจำนวนที่ได้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุไปจริง แต่ไม่เกินจำนวน 15,000 บาท 

ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้สูงอายุทำงานดี เกือบจะทุกองค์กรให้ค่าแรงผู้สูงอายุเกิน 15,000 บาท ทำให้พวกเขาไม่สามารถหักรายจ่ายได้ ดังนั้น อยากให้ภาครัฐช่วยผลักดันในการแก้กฎหมายจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และจะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น

“สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน สังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน การจ้างงานผู้สูงอายุ ไม่ได้เป็นเพียงการสร้างงานสร้างอาชีพเท่านั้น แต่เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ อีกทั้ง ยังทำให้เห็นถึงความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างคนต่าง Gen ลดช่องว่างระหว่างวัย รอยร้าวในครอบครัว เพราะผู้สูงอายุก็จะไม่เป็นภาระของครอบครัว อย่างที่ใครหลายคนมอง ผู้สูงอายุที่สนใจร่วมงานกับ Amazon สามารถสมัครงานเข้ามาได้” ภูรี กล่าว

\'Café Amazon for Chance\' สร้างงาน สร้างอาชีพ วัยเก๋า

7 ทศวรรษอายุเกษียณของไทย

อายุปกติที่เริ่มมีสิทธิรับบำนาญ ซึ่งไทยกำหนดไว้ที่ 60 ปี และ 55 ปี แทบไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอด 7 ทศวรรษที่ผ่านมา

โดยอายุเกษียณ 60 ปีกำหนดขึ้นครั้งแรกเป็นอายุเกษียณของข้าราชการเมื่อปี 1951 จากนั้น บำนาญอื่นที่พัฒนาขึ้นภายหลัง ก็ยึดอายุข้างต้นเป็นอายุเกษียณตามกันเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (1997) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (2005) กองทุนการออมแห่งชาติ (2011) และค่าชดเชย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (2017)

ส่วนอายุเกษียณ 55 ปีเริ่มใช้ในระบบประกันสังคมตั้งแต่ปี 1999 ต่อมายังใช้กับการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF (2001) และเป็นอายุเกษียณมาตรฐานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2015) ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้อายุเกษียณจะถูกแช่แข็งไว้ระดับเดิม แต่คนไทยมีอายุยืนขึ้นถึง 36 ปีในช่วงเวลาเดียวกัน โดยอายุขัยคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 43 ปีในปี 1950 เป็น 79 ปีในปี 2021 องค์การสหประชาชาติยังคาดการณ์ว่า อายุขัยนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 85 ปีภายในปี 2050 ก่อนจะพุ่งแตะระดับ 90 ปีภายในปี 2090