คนต่างด้าว | สกล หาญสุทธิวารินทร์

คนต่างด้าว | สกล หาญสุทธิวารินทร์

การประกอบอาชีพบางอาชีพ การประกอบธุรกิจบางธุรกิจ และกtารถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและห้องชุดในประเทศไทย มีข้อจำกัดสำหรับคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลบางประเภท กฎเกณฑ์พิจารณา การเป็นคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ถูกจำกัดสิทธิ์ เป็นไปตามกฎหมายดังจะกล่าวต่อไปนี้

* พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักและเป็นพื้นฐานในการพิจารณาบุคคลว่าเป็นตนต่างด้าวหรือไม่ โดยมาตรา 4 ให้คำนิยาม ของคำว่า "คนต่างด้าว" หมายความว่า ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย               

* พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2460 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำกับดูแลบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้คำนิยามคำว่าคนต่างด้าวไว้ในมาตรา 5 คือ คนต่างด้าวหมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย           

* ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับกำกับดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับกรรมสิทธิที่ดิน มีบทบัญญัติจำกัดสิทธิ์การถือครองที่ดินของคนต่างด้าว และนิติบุคคลบางประเภทไว้ด้วย

แต่ประมวลกฎหมายที่ดินมิได้กำหนดคำนิยามของคนต่างด้าวไว้ การพิจารณาว่าผู้ใดเป็นคนต่างด้าว จึงเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ สำหรับนิติบุคคลประเภทที่ถูกจำกัดสิทธิ์ในการถือตรองที่ดิน โดยให้มีสิทธิ์ในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าวคือ 

คนต่างด้าว | สกล หาญสุทธิวารินทร์

โดยให้มีสิทธิ์ในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าวคือ 

  • บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน ถือโดยคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนจดทะเบียน หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว ที่มีคนต่างด้าวลงหุ้นมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนทั้งหมด หรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนของผู้เป็นหุ้นส่วน แล้วแต่กรณี
  • สมาคมรวมทั้งสหกรณ์ที่มีสมาชิกเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวน หรือดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์คนต่างด้าวโดยเฉพาะ หรือเป็นส่วนใหญ่
  • มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์คนต่างด้าวโดยเฉพาะ หรือเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีที่นิติบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา ๙๗ เข้าถือหุ้นหรือลงหุ้น แล้วแต่กรณี ในนิติบุคคลอื่นตามนัยที่กล่าวในมาตรา 97 ให้ถือว่านิติบุคคลอื่นนั้นเป็นคนต่างด้าว   

* พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 บัญญัติให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวอาจถือกรรมสิทธิในห้องชุดได้ ถ้าเป๋นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคล ดังที่กำหนดไว้ซึ่งมี 5 ประเภท                              

คนต่างด้าว | สกล หาญสุทธิวารินทร์

* พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542  ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ควบคุมดูแลการประธุรกิจของคนต่างด้าว ได้กำหนดนิยามของคำว่าคนต่างด้าวไว้ ใน มาตรา 4 คือ 

  • คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือ
  • นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ
  • นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้ นิติบุคคล ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1)
  • นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น                

* พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.2551  กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ประกอบธุรนำเที่ยวซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาประการหนึ่งคือต้องมีสัญชาติไทย          

  • ถ้าเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของบุคคลธรรมดาทีมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกี่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย
  • ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือมีสัญชาติไทย   

ข้อสังเกต 1 มีความแตกต่างเรื่องสัดส่วนของเงินลงทุน และผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นเกณฑ์พิจารณา การเป็นคนต่างด้าว หรือเป็นเป็นผู้มีสิทธิถือครองที่ดินหรือขาดคุณสมบัติในการขออนุญาต ระหว่างกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น อยู่เล็กน้อย 

กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 49 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีคนสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 51 จะเป็นนิติบุคคลที่มีสิทธิ์ถือครองที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าว หรือพระราชบัญญัตินำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ.2551 

ถ้าบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด มีคนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีคนสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 51 ถือว่าว่าบริษัทนั้นขาดคุณสมบัติในการขออนุญาต

ส่วนพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ถ้าบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 50 กล่าวอีกนัยหนึ่งมีคนสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50 บริษัทนั้นเป็นคนต่างด้าว

2 ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ.2522 บัญญัติว่าคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดาก็เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลมีปัญหาว่า 

ถ้าจะใช้ประมวลกฎหมายที่ดินที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงมากที่สุดเป็นเกณฑ์การพิจารณา ก็ไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความหมายของนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวไว้ จะเทียบจากนิติบุคคลที่มีสิทธิ ถือครองเสมือนคนต่างด้าวก็ไม่ได้

เพราะไม่ได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นคนต่างด้าว จึงต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เพราะมีบัญญัตินิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวไว้ แต่ก็มีช่องโหว่สำหรับนิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมเพราะไม่มีบัญญัติไว้