'งานสร้างภาพยนตร์' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

'งานสร้างภาพยนตร์' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

เปิดมุมมองจากกิจกรรม “First Love” รัก(เรื่อง)แรก..ไม่เคยลืม เผย "งานสร้างภาพยนตร์" มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

ในยุคที่ สร้างภาพยนตร์ได้ง่ายขึ้น กล่าวกันว่าเพียงแค่มีสมาร์ทโฟนสเปกดี ๆ สักเครื่องก็สามารถทำได้ แต่จริง ๆ การสร้างหนังดี ๆ มีองค์ประกอบหลายส่วนประกอบกัน ตั้งแต่ บท นักแสดง ผู้กำกับ และงานโพรดักชั่น และสุดท้ายการเผยแพร่ ให้ผู้ชมคนดูได้ตัดสิน

กิจกรรม “First Love” รัก(เรื่อง)แรก.. ไม่เคยลืม เปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาภาพยนตร์หลายสถาบันการศึกษา นำเสนอผลงานตัวเองกว่า 8 ถึง 12 เรื่อง มาจัดฉาย และความคาดหวังอยากเห็นวงการหนังไทยไปไกลกว่านี้

เวทีแรกที่เปิดโอกาสให้น้องนักศึกษาได้โชว์ศักยภาพของตัวเอง และความคาดหวังอยากเห็นวงการหนังไทยไปไกลกว่านี้

ในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความนิยมในการเลือกศึกษาวิชาการภาพยนตร์ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก จากเด็กรุ่นใหม่ที่เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ และหลายสถาบันก็เริ่มมีการเปิดหลักสูตรนี้

 

ดังนั้นควรค่าต่อการส่งเสริมทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ที่ทำให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่สามารถเอาไปต่อยอดในอาชีพสื่อสารมวลชนด้านภาพยนตร์ได้

วานนี้ (31 ม.ค. 2567) เวลา 09.00 น. ถึง 19.00 น. หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำที่เปิดการเรียนการสอนวิชาการภาพยนตร์ ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพนักศึกษาจากปรากฏการณ์ดังกล่าว

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

จึงมีการจัดการสัมมนาและร่วมรับชมภาพยนตร์สั้นของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในโครงการสัมมนา “First Love” รัก(เรื่อง)แรก.. ไม่เคยลืม ภายใต้แนวคิด “บทเรียนจากการสร้างภาพยนตร์ส่วนบุคคลเรื่องแรกในชีวิต” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 7 ห้อง Auditorium วิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ

โครงการนี้ มีการรวบรวมภาพยนตร์สั้นของนักศึกษาสาขาภาพยนตร์ เลือกสรรจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 8 ถึง 12 เรื่อง มาจัดฉาย และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน

นำโดย ผลงานนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาตรี สาขาวิชาการภาพยนตร์ฯ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และผลงานนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการภาพยนตร์ฯ จากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วม อาทิ

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 

เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์การสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกของนักศึกษา และมีเป้าหมายให้ผู้ที่ศึกษาวิชาการด้านการศึกษาจากหลากหลายสถาบันได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ก่อนก้าวสู่สายงานวิชาชีพ

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

รวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความสนใจศึกษาวิชาการด้านภาพยนตร์ ได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดซึ่งกันและกันในกิจกรรมครั้งนี้ 


ที่มา“First Love” รัก(เรื่อง)แรก.. ไม่เคยลืม

กรุงเทพธุรกิจ ได้มีโอกาสพูดคุยกับบรมครูผู้กำกับภาพยนตร์ อย่าง รศ.บรรจง โกศัลวัฒน์ ผอ.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และที่ปรึกษาโครงการสัมมนา “First love”

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า การฉายภาพยนตร์ การวิเคราะห์ภาพยนตร์ก็เหมือนเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง

เพราะเป็นสิ่งแรกที่คนที่เรียนภาพยนตร์นั้นต้องทำ เพราะการแลกเปลี่ยนการดูการสร้างแรงบันดาลใจของผลงานแต่ละคนเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งแรกๆที่เราต้องทำ ถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดเพราะการที่มีโอกาสได้ดู ได้พูดคุยกัน ได้วิเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญมาก

และทำให้เห็นถึงความน่าทึ่งในปัจจุบันสื่อมันรวดเร็วมากในยุคนี้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ค่าใช้จ่ายก็ถูก ทำให้เห็นภาพยนตร์นั้นไม่เคยเจริญแบบนี้มาก่อน ต่างจากสมัยก่อนที่หาดูหนังวีดีโอที่มีคุณภาพยากมาก 

"ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปมากเลยซึ่งก็เรื่องที่โชคดีสำหรับเด็กปัจจุบัน อยากดูอะไรก็ดูได้เลย อยากเข้าอะไรก็ได้ เข้าถึงสื่อได้ง่ายเรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หวังว่าจะมีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีก"
 

ความแตกต่างในวงการหนังระหว่างปัจจุบันและสมัยก่อน

รศ.บรรจง ได้อธิบายถึงความแตกต่างของวงการหนังว่า ปัจจุบันนั้นเริ่มมีการเรียนการสอนด้านฟิล์มในเกือบทุกมหาวิทยาลัยในประเทศมากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่ถูกมองว่าเป็นอาชีพที่เต้นกินรำกิน เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเรียนก็ได้

เส้นทางการเป็นผู้กำกับนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะต้องอาศัยการเป็นผู้รับใช้ให้กับผู้อำนวยการสร้าง หรือผู้กำกับถึงจะมีโอกาส แล้วกว่าจะได้มีโอกาสก็ใช้เวลาเป็นแรมปีถึงจะได้ขยับมาเป็นผู้ช่วยฯแล้วค่อยไปเป็นผู้กำกับ เหมือนทำให้เขาไว้เนื้อเชื่อใจก่อนถึงจะได้ทำ
    
ถึงแม้ว่าภาพยนตร์มีสอนในทุกมหาวิทยาลัย และคนที่เรียนก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทว่าอุปสรรคต่อการทำหนังยังต้องเจออีกเยอะ ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สวนทางกับรายได้ เพราะปัจจุบันนั้นมีการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งในปัจจุบันยังไม่ค่อยเห็นคนที่ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับภาพยนตร์เท่าไหร่ ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญและไม่เห็นคุณค่า วงการหนังไทยก็ไม่มีก้าวหน้าเติบโตในอนาคต

นอกจากนี้ ทางอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน ต่างมาแสดงความคิดเห็นถึงการจัดกิจกรรมของโครงการนี้และความคาดหวังที่ต้องการเห็นวงการหนังได้เติบโตในอนาคต รวมทั้งความคาดหวังถึงผลงานตัวเองที่ได้นำมาฉายภายในโครงการในวันนี้

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

อาจารย์คมสัน สืบแสง สาขาสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ได้ให้ความเห็นต่อโครงการนี้ว่า รู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ รวมถึงภูมิใจในนามศิษย์เก่าของเด็กมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปริญญาโท ในสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง ทำให้รู้สึกดีใจและทำให้มีโอกาสได้พานักศึกษาได้มาร่วมกิจกรรมและได้มาแบ่งปันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ถือว่าโอกาสที่ดีที่จะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้รู้จักกับเพื่อนในมหาวิทยาลัยอื่น ได้มาแชร์ว่าถึงการทำงาน หรือปัญหารู้ว่าเทคนิคอะไรในการทำภาพยนตร์ที่จะทำให้ภาพยนตร์ออกมาดีเพื่อพัฒนาต่อในอนาคต
 
ถือว่าเป็นโครงการที่ดีและเป็นกันเองมาก ได้มาดูหนังเด็กนักศึกษาทำให้เห็นว่าเด็กๆเดี๋ยวนี้นั้นก็มีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม และทำให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละมหาวิทยาลัย มีเอกลักษณ์คาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ซึ่งถ้ามีครั้งที่สองก็จะมาอีก
 

ซอฟต์พาวเวอร์กับหนัง

อาจารย์คมสัน ได้ให้ความคิดเห็นถึงซอฟต์พาวเวอร์กับวงการหนังหรือภาพยนตร์ไทยว่า หนังนั้นก็ถือว่าเป็นสื่อที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่นำความเป็นไทยสามารถถ่ายทอดผ่านหนังได้ นำไปสู่ถึงต่างชาติได้ ถึงแม้ว่าคำว่าซอฟต์พาวเวอร์จะไม่ได้มีความจำกัดแต่ทุกอย่างที่ปรากฏในหนัง ในสื่อ ถ้าทำให้มันอยู่ในใจคุณและเข้าถึง หรือพาคุณเข้าไปสู่ประสบการณ์ ทำให้เขาอยากมีประสบการณ์ร่วม ก็เหมือนเป็นการเกิดซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง ที่มีการเกิดอิมแพคกับผู้คน
 

ความรู้สึกนักศึกษาร่วม “Frist Love”

น้องเฌ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นักศึกษาที่อยู่ในฐานะคนที่อยู่กับโครงการนี้ก็เผยความรู้สึกเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ว่า “ผมรู้ก็รู้ว่าดีใจที่มันจัดให้มันเป็นรูปเป็นร่างมาที่สุด เพราะว่าเราก็คาดหวังคนที่มาที่นี่ เดิมทีโครงการนี้เราต้องการให้เป็นพื้นที่ที่คนรู้จักกัน และทำให้ทุกคนรู้สึกว่าในวงการมันไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

ต้องเข้าใจว่าที่คนที่เรียนภาพยนตร์ต้องอาศัยคอนเนกชันความรู้จักกันเป็นหมู่เป็นกอง การที่มันพื้นที่ตรงกลางมันทำให้เราได้มาเจอกัน มันไม่ใช่แค่ในมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันแล้วแยกย้ายแต่เราต้องการให้มันเกิดสังคมที่กว้างขวางขึ้น ที่เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในอนาคตเวลาที่เราทำงานได้เจอกัน

เพราะการทำหนังครั้งแรกมันทำให้เกิดความกดดัน ความเครียดมันปัญหาอะไรต่างๆ มันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ถึงมันจะเป็นเพียงแค่หนังสั้นแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่จะสร้างมันออกมา ถ้าเกิดมีเพื่อนร่วมทางหรือมิตรภาพที่เราไว้ใจได้ไม่ว่าจะสถาบันไหน มันก็ทำให้เราไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะว่าเส้นทางของภาพยนตร์มันต้องอาศัยการเติบโตไปด้วยกันทำคนเดียวไม่ไหว การทำหนังคนเดียวมันเหนื่อยมันจะต้องอาศัยคนอื่นร่วมกันมาทำให้มันเกิดขึ้น

และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการภาพยนตร์ฯ ได้เล่าถึงความรู้สึกต่อโครงการนี้ว่า “จากหัวข้อเฟิร์สเลิฟ” ผมรู้สึกว่ามันเป็นความคิดที่เราอยากจะนำเสนอมุมมองของคนทำหนังเรื่องแรกแก่คนอื่นต่อผู้กำกับ หรือจากคนสร้างสู่คนดู ว่า “อารมณ์แรกของคนที่ทำหนังเรื่องแรกพบเจออะไรบ้าง เจอความเจ็บปวดแบบไหน เจอความหลงใหลแบบไหน” และส่วนหนึ่งก็อยากให้น้องๆรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมโครงการเขาได้รับรู้ความรู้สึกว่า การทำหนังทุกๆขั้นตอนมันมีความเจ็บปวดและความงดงามในแบบของมัน 


โชว์ศักยภาพของตัวเองสู่สังคม

หนึ่งในนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ที่ได้มีโอกาสได้ผลงานมานำเสนอเผยความรู้สึก โดยน้องบอล เล่าว่า “รู้สึกดีใจมาก เพราะว่าไม่คิดว่าหนังจะได้รับคัดเลือกมาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะเอามาฉายในกิจกรรมนี้” 

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

และน้องแจ้ กล่าวต่อว่า “รู้สึกแปลกใหม่ เพราะปกติทำหนังแค่ดูกันเอง แต่พอมีการที่มีคนเข้ามาดูหนังของมหาลัยอื่น และเพื่อนๆคนอื่นในแวดวงเดียวกัน ก็เหมือนเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ให้เราว่าหนังเรานั้นสามารถเข้ามาฉายร่วมกับพวกเขาได้”

นอกจากสร้างให้โอกาสได้นำเสนอผลงานของตัวเอง ยังเป็นอีกช่องทางที่สามารถทำให้เราได้สร้างคอนเนคชันด้วย

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

น้องมิก จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เล่าว่า “เป็นเรื่องที่ดีมาก อย่างผมเองที่สถาบันเพิ่งเปิดเอกภาพยนตร์ใหม่ ทำให้เราไม่มีคอนเนกชัน ไม่มีรุ่นพี่ ถ้าฉายหนังก็ฉายแค่ในมอ พอมาฉายข้างนอกทำให้ผมคิดว่าเป็นอะไรที่ดีมาก ได้พาหนังตัวเองมาเจอผู้คน มาถามความเห็นเขา ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีในการพัฒนาตัวเอง”

รวมถึงเป็นครั้งแรกของน้องคิว จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มาตั้งแต่เช้าที่นี่ และถูกความต้อนรับที่ดีมาก ทำให้รู้สึกตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย ทั้งเรื่องการเดินทางมาก็ไกล และได้พบเจอเพื่อนต่างสถาบัน

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

บรรยากาศภายในงานก็มีหลากหลายสถาบัน หลายชั้นปีได้เข้าร่วมภายในกิจกรรมนี้ โดยเฉพาะน้องเล็กของระดับปริญญาตรีอย่างปีหนึ่งได้เข้าร่วมด้วย น้องๆก็เผยความรู้สึกต่อกิจกรรมนี้ว่า

“รู้สึกว่าได้มาแลกเปลี่ยนที่ทำหนังแนวหนังหลายอย่าง หลายประสบการณ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะได้พัฒนาตัวเองขึ้นไป พวกหนูพึ่งปีหนึ่งยังไม่เคยมากิจกรรมแบบนี้เท่าไหร่ พอมาแบบนี้ก็รู้สึกได้เปิดโลกมากขึ้น มองมุมมองของคนอื่นมากขึ้น” น้องปาล์มมี่ จากมหาวิทยาลัยรังสิตเอ่ยถึงความประทับใจ

ต่อมา น้องเฟิร์ส เล่าถึงเอกลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยว่า “การที่ได้ดูงานของมหาวิทยาลัยอื่น ทำให้เห็นถึงสไตล์ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีความแตกต่างกัน รู้สึกที่ให้เราได้มาเจอวิธีใหม่ๆการทำงานแบบใหม่ๆด้วยแล้วก้ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับมหาวิทยาลัยอื่นๆในข้อผิดพลาดตรงไหนก็จะได้เอามาปรับใช้ได้”

และน้องฮ่องเต้ เล่าถึงความตื่นเต้นที่ได้มากิจกรรมนี้ ที่เหมือนเป็นแหล่งได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมาได้เสพผลงานของคนอื่น


ความคาดหวังจากหนังตัวเองที่ได้เอามาจัดฉาย

โมทย์ นักศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เล่าว่า พื้นฐานแล้วคนทำหนังเรื่องแรกมีความต้องการที่จะเอาหนังเรื่องแรกมาเปิด เพื่อให้หนังมันทำหน้าที่ของมันในการนำเสนอในสิ่งในตัวผู้กำกับที่เขาต้องการจะพูดออกมา การที่ทำโครงการนี้นั้นก็เพราะว่าต้องการให้หนังได้มีพื้นที่ในการนำเสนอของเขา ตรงนี้เราก็เลยคิดว่าเราก็คุยกับกลุ่มเด็กเกษมฯที่มาเรียนป.โทว่า โครงการนี้น่าสนใจ 

\'งานสร้างภาพยนตร์\' มาแรง คนรุ่นใหม่สนใจเรียน-พร้อมปล่อยของ

“ตัวผมเองก็คาดหวังว่าหนังที่ทำออกมาแล้ว แต่ทำได้แค่ส่งงานหรือนำเสนอโปรเจ็กในวิชา มันก็จะไม่ได้เกิดผลประโยชน์อะไร ผมเลยคิดว่าที่เรามาร่วมโครงการนี้อย่างน้อยที่สุดคือให้หนังได้ทำหน้าที่ของมัน ถึงแม้มันจะออกมาแย่ ออกมาดี หรือยังไงผมมองว่าให้มันเป็นจุดที่ไม่ต้องมามันดีกว่า ให้หนังมันดำเนินต่อไปให้หนังมันพรีเซนต์ของตัวมันเองออกมาละกัน

เรื่องจุดบกพร่องที่ว่าหนังมันยังไม่สมบูรณ์เลย หรือหนังที่ยังไม่เสร็จเลย ผมมองว่ามันไม่ใช่จุดที่ต้องมาวิจารณ์กันแต่เป็นการคุยกันมากกว่า คุณทำแบบนั้นสิ ส่วนต่อมาก็จะทำให้เรารู้จักกัน และเพิ่มพูนความรู้ที่ไปต่อจากเดิมที่เราอยู่แค่นี้ แต่พอเราฉายหนังเราแล้วโดนวิจารณ์แต่ว่าอย่าใช้คำว่าวิจารณ์เลยเรียกว่าคุยกันกับคนที่ทำหนังมาด้วยกัน หรือคนอื่นมันจะให้เราได้เพิ่มพูนความรู้ของกันและกันเพื่อเอาไปสร้างผลงานชิ้นต่อไป”

และน้องมิก ได้อธิบายต่อว่า บ้านเรามีนักศึกษาที่เก่งมากที่เรียนภาพยนตร์มาเราก็มีความครีเอทีฟกันอยู่แล้ว แต่แค่ว่าหลาย ๆ งานไม่ได้มีโอกาสที่จะเอามานำเสนอ เพียงเพราะว่าเรารักผลงานของตัวเองจนทำให้เราไม่กล้าที่จะเอาหนังตัวเองออกมาพรีเซนต์ ส่วนหนึ่งก็อยากให้หลายๆคนลองเอางานตัวเองออกมาพรีเซนต์ละกัน ไม่ว่ามันจะแย่แค่ไหนก็ลองออกมาพรีเซนต์ เพื่อให้ระดับทั่วไปที่เป็นหนังของนักศึกษาหรือหนังของคนธรรมดา ที่อยากสนุกหยิบกล้องคืนมาถ่าย ก็ทำออกมาเลย พรีเซนต์ความอยากบอกเล่าของตัวเอง

หรือบางคนก็มองว่า “มันต้องเริ่มต้นที่ตัวเองผมก็เลยไม่ได้คาดหวังอะไรกว้างขวาง เพราะผมก็รู้สึกว่าเราก็ต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆไม่ช้าก็เร็ว ถ้าสมมติว่ามันไม่ใช่พื้นที่ของเรา เราก็คงต้องไปเราก็ไม่ต้องฝืน ถ้าเกิดว่าวงการนี้ เรารู้สึกว่ามันไม่เหมาะเราก็ต้องออก ถ้าเกิดว่ามันมีพื้นที่ให้เราอยู่เราก็ต้องอยู่

ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของปัจจุบันของเราดีกว่า ถ้าถามว่าคาดหวังไหมก็คาดหวังเพราะมันเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้  ถ้าเกิดเราคาดหวังตลอดเวลาทำให้ปัจจุบันก็ทำไม่ได้ อนาคตก็ทำไม่ได้ เราควรที่จะอยู่ในปัจจุบันที่เราควบคุมได้เพื่อที่จะทำให้มันเป็นไปได้” น้องเฌกล่าว

แต่บางคนนั้นคิดว่าการที่เราอยู่ปัจจุบันก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องคาดหวังอะไร เพียงเพราะยังเป็นคนที่จัดอยู่ในระดับบุคคลที่มีประสบการณ์น้อยและยังต้องการรับประสบการณ์เรื่อยๆมากขึ้น แบบไม่ได้วิ่งเร่งอะไร
    
หรือแม้แต่บางคนที่ไม่คาดหวังอะไร ที่อยากทำหนังเพียงเพราะอยากทำ ไม่ได้มองคนดู และแนวที่ไม่ค่อยมีใครทำ ผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันเฉยๆ
 

อยากเห็นการเติบโตของวงการหนังไทย

นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ให้ความเห็นว่า อยากเห็นวงการหนังไทยไปได้ไกลกว่านี้ ที่ไม่ใช่แค่ไม่กี่เจ้าได้โอกาสหรือบางประเภทแต่อยากเห็นหนังประเภทอินดี้ได้ออกไปฉายต่างประเทศบ้าง

รวมถึงเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมในไทยปัจจุบันยังเหมือนสิ่งที่ฉุดรั้งไม่ให้วงการหนังไทยไม่ไปไหน ทั้งที่เด็กยุคใหม่มีความคิดที่หลากหลายและสื่อสิ่งใหม่ที่พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของนักศึกษาที่สนใจงานภาพยนตร์ บอกเล่าถึงวงการหนังไทยในปัจจุบัน เป็นความคิดเห็นจากเด็กรุ่นใหม่ที่มองเห็นถึงอุปสรรค และสิ่งที่ต้องการให้วงการหนังไทยได้มีการเติบโต