บอร์ด กกส. หารือจัดการศึกษา เชื่อม Career Path รองรับคนเก่งพลังกิฟต์

บอร์ด กกส. หารือจัดการศึกษา เชื่อม Career Path รองรับคนเก่งพลังกิฟต์

บอร์ด กกส. ถกนัดสองปี 66 จัดทำเส้นทางความรู้และเส้นทางอาชีพ (Learning Path - Career Path) รองรับคนเก่งพลังกิฟต์ (Gifted) ให้ประเทศได้รับประโยชน์จากสมรรถนะของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างแท้จริง

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2566 ร่วมกับกรรมการสภาการศึกษา (กกส.) โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการสภาการศึกษา ร่วมหารือข้อเสนอการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ พร้อมทบทวนและปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579


คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education) เป็นดัชนีบ่งชี้แนวโน้มความเจริญหรือสมรรถนะของประเทศในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมามีการสนับสนุนอย่างชัดเจนในด้านวิทยาศาสตร์ แต่พบว่าเยาวชนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้วไม่มีงานทำในประเทศ หรือทำงานที่ไม่ตรงสายหรือไม่เต็มตามศักยภาพ

 

กกส. จึงเสนอให้มีการจัดทำเส้นทางความรู้และเส้นทางอาชีพ (Learning Path - Career Path) ให้ประเทศได้รับประโยชน์จากสมรรถนะของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างแท้จริง รวมถึงเร่งส่งเสริมสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะงบประมาณด้านอุปกรณ์กีฬา ศิลปะ และการดนตรี ซึ่งเป็นสาขาที่มีคุณค่าทางสังคมและอิทธิพลทางวัฒนธรรม (Soft Power)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

ทั้งนี้ อาจต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะหน่วยงานราชการเพื่อให้มีความคล่องตัวสูง เบื้องต้นที่ประชุมมีมติให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดทำแผนการส่งเสริมการจัดการศึกษาฯ ให้ครอบคลุมตั้งแต่ระบบการคัดกรอง การพัฒนา และการใช้ความเชี่ยวชาญจากผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่อนำเสนอ กกส. ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาความเห็นชอบต่อไป

 

บอร์ด กกส. หารือจัดการศึกษา เชื่อม Career Path รองรับคนเก่งพลังกิฟต์

 

คุณหญิงกัลยา กล่าวต่อไปว่า จากการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติฯ ในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) พบว่ายังมีหลายประเด็นต้องเร่งแก้ไข อาทิ ผลการทดสอบ PISA การเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่าตัวชี้วัดตามเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติฯ มีจำนวน 53 ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมากและบางตัวชี้วัดต้องปรับใหม่ให้สอดคล้องกับการยกเลิกใช้ผลคะแนนสอบ O-NET ในการตัดสินผลการเรียน

 

สกศ. จึงเสนอให้ควรปรับตัวชี้วัดที่เน้นการวัดข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก ส่วนตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ควรใช้การวัดผลที่เน้นเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์สำคัญแบบ OKRs (Objective and Key Results) มาช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนฯ อีกทั้งจะมีการพัฒนา Big Data เพื่อรายงานผลอย่งเป็นระบบและเผยแพร่ผลการประเมินให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง