“กาลามสูตร”อำนาจละมุนของการสังเคราะห์ข้อมูล | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

“กาลามสูตร”อำนาจละมุนของการสังเคราะห์ข้อมูล | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Data) อาจไม่เพียงพอเท่ากับการสังเคราะห์ข้อมูล (Synthesis Data) โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีเข้ามาให้เราเห็นมากมาย ทั้งในเรื่องดีและร้าย จริงและหลอก

การวิเคราะห์คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง โดยมีการกำหนดขอบเขต จุดมุ่งหมายพิจารณาหลักความรู้ไปจนถึงการสรุปผลการวิเคราะห์อย่างเป็นระเบียบ

แตกต่างจากการสังเคราะห์ ที่มีความหมายไปทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมี จุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น สำหรับขั้นตอนวิธีคิดเชิงสังเคราะห์จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่า เราต้องการที่จะสรรค์สร้างสิ่งใดขึ้น เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อให้ทำหน้าที่อะไร

ข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีเข้ามาให้เราเห็นมากมาย ทั้งในเรื่องดีและร้าย จริงและหลอก ซึ่งบางทีอาจมีการแต่งแต้มสีสันของข้อมูลเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน ไปจนถึงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

นั้นเพราะเรากำลังอยู่ในยุคของ Big Data ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากแหล่งข่าวต่างๆ ทั้งจากสื่อ Social Media และจากข้อมูลที่ส่งข่าวกันมา ไปจนถึงการใช้ Chat Gpt ในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเชื่อมต่อด้วย IoT(Internet of Thing)

ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้มากมายทั้งด้านการใช้ ศาสตร์และศิลป์ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลระดับพื้นฐานไปจนถึงการทำเอกสารวิชาการระดับงานวิจัย การวาดภาพที่สวยงามไปจนถึงการทำงานที่สุดขอบของความคิดสร้างสรรค์อย่างการทำ Story Board โฆษณา

แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้องค์กรหลายๆแห่งไปจนถึงระดับผู้บริหารเกิดความสงสัยในผลลัพธ์ต่างๆที่ได้มามีความถูกต้องใช้ได้จริงหรือไม่

“กาลามสูตร”อำนาจละมุนของการสังเคราะห์ข้อมูล | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

นั้นกลายเป็นปัญหาของยุคสมัยนี้ที่เกิดขึ้น คือ ยุคแห่งข้อมูลทับถม (Big Data Multiple) ที่ทำให้ผู้บริหารยากต่อการบริหารทั้งคนในองค์กรไปจนถึงข้อมูลของการทำธุรกิจให้ประสบชัยชนะ

ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้บริหารควรมีหลักยึดถือปฏิบัติที่เป็น Soft Power ที่สำคัญโดยอ้างอิงจากแนวคิดของ CEO ระดับโลกคือ พระพุทธเจ้า อย่าง “กาลามสูตร”

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ใน กาลามสูตร

1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน) 

2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)

3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)

4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์(มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)

6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)

7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)

8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)

10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

“กาลามสูตร”อำนาจละมุนของการสังเคราะห์ข้อมูล | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มาจากสิ่งที่คนบอกกันมาอย่าง “เขาว่ามาแบบนี้” ข้อมูลที่ได้มาจากหนังสือหรืออ่านมา การบอกถึงหลักตรรกะหรือเหตุผล หรือการอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ ไปจนถึงสิ่งที่ได้รับมาจากคนที่สอนเราอย่าง “อาจารย์เราสอนมา”

อันที่จริงผมเองได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจให้เขียนบทความนี้ผ่านท่านอาจารย์ที่ผมเคารพ โดยท่านเพียงกล่าวว่า “อยากให้เขียนเรื่องกาลามสูตร เพื่อเป็นประโยชน์แก่การบริหารคนหมู่มาก” ท่านไม่ได้บอกอะไรมากไม่ได้สอนให้เชื่อ “เพียงแต่บอกให้ลองทำ” 

หลักของ “กาลามสูตรกังขานิยฐาน” มีหลักการสำคัญให้เข้าใจง่ายๆ คือ อย่าเชื่อ อย่าพึ่งเชื่อ อย่าปลงใจเชื่อ ให้สำรวจวิเคราะห์พิจารณาข้อมูลต่างๆที่ได้รับ (Input) 

โดยให้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ (Processing) ไปสู่การสร้างผลลัพธ์ (Outcome) ถือเป็นการใช้การประเมินแหล่งของข้อมูล (Data Synthesis) เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความเป็นจริงที่สุดก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆออกไป

ขั้นตอนที่สำคัญคือการ Processing นั้นเองที่เราต้องใช้การสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพื่อการสร้างสรรค์และกลายเป็นประโยชน์หรือสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับองค์กรหรือบุคลากรรอบตัว.