รับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

รับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

รพ.สมิติเวช ธนบุรี ผนึกกำลังกับคณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด  พัฒนางานวิจัยรับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

ศ.เกียรติคุณ นพ.ปกิต วิชยานนท์ หัวหน้าโครงการวิจัย และพัฒนาระหว่างสถาบันโรคภูมิแพ้ และหอบหืดสมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี พร้อมด้วย ดร.อดิภัทร ชัยชนะสกุล กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด และดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ ผู้จัดงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สวรส.)

รับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

แถลงข่าว “การประเมินความพร้อมของโรงเรียนในการดูแลนักเรียนที่แพ้อาหาร และการพัฒนาสื่อดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน และระบบโทรเวชกรรม เพื่อให้ความรู้และเพิ่มพูนศักยภาพในการดูแลให้กับบุคลากรของโรงเรียนและผู้ปกครองในการรักษาโรคแพ้อาหาร” 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"แพ้อาหาร" ทำไมเสียชีวิต ? รู้เท่าทัน ป้องกันอันตราย

รู้ไว้สักนิด..."แพ้อาหาร"กับ“ภูมิแพ้อาหารแฝง” ต่างกัน

แพ้อาหารที่มี"กลูเตน" จะรู้ได้อย่างไร

เพราะอะไร? คนทั่วโลกเสี่ยง 'แพ้อาหาร' เพิ่มมากขึ้น

 

วิจัยพัฒนาระบบดูแลเด็กโรคแพ้อาหารในโรงเรียน

รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง รองหัวหน้าภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ร่วมวิจัย เปิดเผยว่า จากอุบัติการณ์การแพ้อาหารเกิดขึ้นที่โรงเรียนนั้นเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน โรงเรียนไม่ทราบถึงประวัติการแพ้อาหารของเด็ก ประกอบกับการขาดระบบการจัดการเพื่อป้องกันการสัมผัสอาหารที่แพ้ และการขาดระบบการดูแลช่วยเหลือเมื่อเด็กมีอาการแพ้อาหาร

รับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

คณะผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการ การดูแลเด็กโรคแพ้อาหารในโรงเรียน จึงทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยเรื่องดังกล่าว โดยได้รับทุนวิจัย และพัฒนาจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ปี 2565

 

2 ระยะดูแล ให้ความรู้โรคแพ้อาหาร

โครงการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการสำรวจความพร้อมของโรงเรียน และพัฒนาสื่อดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน โดยคาดว่าจะมีโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาล จำนวน 50 – 100 โรงเรียน ตลอดจนบุคลากรในโรงเรียนเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 1,000 คน

รับมือความเสี่ยงโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียน

ในระยะที่ 2 จะเป็นการนำความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัยไปใช้ในการสร้างแนวทางการให้ความรู้ทางโรคแพ้อาหารให้แก่บุคลากรในโรงเรียน และเขียนเป็นแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคแพ้อาหารในโรงเรียนต่อไป

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์