จริงหรือ? "นักศึกษาจีน" ทางรอด-โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย

จริงหรือ? "นักศึกษาจีน" ทางรอด-โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย

เมื่อจำนวนเด็กเกิดในประเทศน้อยลง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบอย่างมาก “นักศึกษาจีน นักศึกษาต่างชาติ” จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางรอดของมหาวิทยาลัยไทย

การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (NCCPC) ครั้งที่ 20 กำลังจะเริ่มขึ้นแล้วในวันนี้ (16 ต.ค.) ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประเทศจีนถือเป็นประเทศมหาอำนาจที่หากมีการปรับเปลี่ยนในประเทศย่อมส่งผลต่อประเทศอื่นๆ เกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเงินการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ  สังคม  รวมถึงการศึกษา

จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาจีนในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนมากเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนนักศึกษาต่างชาติในไทย

  • ปี 2020นักศึกษาจีนเรียนไทยเกือบ 1.5 หมื่นคน

ข้อมูลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่าในปี 2020 นักศึกษาจีนที่ศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีจำนวน 14,423 คน โดยมีสถาบันการศึกษาของไทยหันมาเปิดรับนักศึกษาจีนเพิ่มขึ้นจำนวน 102 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นสถาบันในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 50แห่ง ภาคกลาง 7 แห่ง ภาคเหนือ 19 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคใต้5 แห่ง โดยร้อยละ 70 ของนักศึกษาจีน (10,083 คน) เลือกศึกษาในสถาบันเอกชน ส่วนร้อยละ 30 (4,340 คน)

สำหรับเลือกศึกษาใน สถาบันของรัฐ มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษาจีนมากที่สุด 10 อันดับแรก ในปีการศึกษา 2020 ได้แก่ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 2,826 คน  ม.อัสสัมชัญ 1,560 คน ม.เกริก 894 คน ม.เชียงใหม่ 882 คน ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด 824 คน ม.ชินวัตร 592 คน ม.กรุงเทพ 483 คน ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 451 คน ม.กรุงเทพธนบุรี 342 คน ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 340 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

“จีน” ยกเลิกมาตรการเข้าประเทศ เปิดรับ น.ศ. - นักธุรกิจ แล้ววันนี้

การเมืองป่วนนักศึกษาจีนต่างแดน

ร่วมจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติจีนแห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

จับตาผู้นำจีนสมัย 3‘สี จิ้นผิง’ หลังข่าวลือสะพัดถูกยึดอำนาจ

 

  • ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาเลือกศึกษาต่อในต่างประเทศ

ขณะที่ข้อมูลจากสถานเอกอัคราชทูตจีนประจำประเทศไทยระบุว่านักศึกษาจีนในไทย (ทุกระดับชั้น)อาจมีจำนวนรวมมากถึง 50,000 คน จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่านักศึกษาจีนในไทยส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน เช่น ยูนนาน กวางสี เป็นต้น ส่วนนักศึกษาจีนที่มาจากพื้นที่อื่นๆ มีเป็นส่วนน้อย แต่ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้นกว่าในอดีต

ตลาดนักศึกษาจีนในไทยมีขนาดใหญ่ขึ้น ไทยสามารถรองรับการขยายตัวของนักศึกษาจีนได้มากขึ้นและครอบคลุมได้ทุกความต้องการ ทำให้นักศึกษาจีนในไทยจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งการขยายตัวของนักศึกษาจีนในไทยเช่นนี้ส่งผลดีต่อไทยในเรื่องรายได้

จากการศึกษาสามารถประมาณการได้ว่านักศึกษาจีนในไทยสร้างรายได้ให้กับไทยเป็นจำนวนเงินหลัก1,000 ล้านบาทต่อปี และยังส่งผลดีต่อไทยในเรื่องการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทย การกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีน รวมถึงการเพิ่มบทบาทของไทยในในภูมิภาคอาเซียน

มูลเหตุที่นักศึกษาจีนเลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศมี 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

  • การขาดโอกาสในการศึกษาในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่ละปีจะมีนักศึกษาจีนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ประมาณ 2 ล้านคน
  • ต้องการหลีกหนีสภาพสังคมที่กดดัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันจากการสอบแข่งขัน ความกดดันในระหว่างศึกษา ความกดดันจากการใช้ชีวิตในสังคมจีน เป็นต้น

 

  •  2 ปัจจัยตัดสินใจมาศึกษาต่อในประเทศไทย

ส่วน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจมาศึกษาต่อในไทย ได้แก่

• ค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง การศึกษาในไทยมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ (โดยประมาณ) เพียงปีละ 30,000 หยวนขึ้นไปซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ชนชั้นกลางในจีนสามารถแบกรับได้อย่างไม่ลำบาก

• หลักสูตรมีความหลากหลายและยืดหยุ่น สามารถตอบโจทย์นักศึกษาจีนได้ ทั้งในแง่ของสาขาวิชาและภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

• ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยว สังคมวัฒนธรรม อาหาร หรือดาราและภาพยนตร์ไทย

• เชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศ ทั้งในด้านการศึกษา ความปลอดภัย ความมั่นคง คุณภาพชีวิตรวมถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน ทั้งนี้ นักศึกษาจีนส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี

  • มหาวิทยาลัยไทยตอบโจทย์นักศึกษาจีนอย่างไร?

นักศึกษาจีนที่ศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลางจะศึกษาอยู่ในสถาบันเอกชนเป็นส่วน ใหญ่ ขณะที่นักศึกษาจีนในภูมิภาคอื่นๆ กลับเลือกศึกษาในสถาบันของรัฐมากกว่า

โดยนักศึกษาจีนเลือก ศึกษาโดยพิจารณาจากชื่อเสียงของสถาบัน หลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอน โอกาสในการสำเร็จ การศึกษา และจังหวัดที่ตั้งของมหาลัยเป็นสำคัญ ซึ่งนักศึกษาจีนรับรู้ข้อมูลข่าวสารการศึกษาต่อในไทยจาก มหาวิทยาลัยในจีน เอเจนซี่จีน และการบอกเล่าแบบปากต่อปากจากคนรู้จัก เช่น เพื่อน ญาติ เป็นต้น ซึ่ง การบอกเล่าแบบปากต่อปากนั้นมีอิทธิพลมากที่สุด สามารถสร้างแรงจูงใจและโน้มน้าวใจนักศึกษาจีนได้เป็นอย่างดี

สาขาวิชาที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษาจีนปรากฏชัดด้านการจัดการ บริหารธุรกิจ การค้าระหว่าง ประเทศ การตลาด และภาษาไทย ขณะที่สาขาอื่นๆ ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน อาทิ นิเทศศาสตร์ ศิลปกรรม ดนตรี วิศวกรรม การโรงแรม การท่องเที่ยว การบริหารการศึกษา เป็นต้น

นอกจากนี้ ผลการศึกษา ยังพบว่าสาขาวิชาที่เปิดเพื่อรองรับนักศึกษาจีนและความนิยมต่อสาขาวิชาต่างๆ ของนักศึกษาจีนมีความ สอดคล้องกับตลาดการจ้างงานทางตอนใต้ของจีนด้วยเหตุผลสองประการ คือ

พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน เช่น ยูนนานและกวางสีเป็นพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับไทย ทั้งในแง่ ของการค้าการลงทุนและประวัติศาสตร์วัฒนธรรม จึงมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะภาษาไทยมากกว่าพื้นที่ อื่นๆ

นักศึกษาจีนในไทยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนใต้ของจีน การเลือกศึกษาในสาขาวิชาภาษาไทย การค้า ธุรกิจ การตัดการ การตลาด ฯลฯ ไทยจะทำให้ได้เปรียบในการหางานและนำมาซึ่งโอกาสที่มากกว่าเมื่อ กลับไปตั้งถิ่นฐานในภูมิลำเนาของตน

ทั้งนี้ การสำเร็จการศึกษาจากไทยเป็นที่ยอมรับในสังคมจีนแต่อาจจะไม่ได้สร้างความโดดเด่นหรือทำให้ ได้เปรียบกว่าผู้อื่นในตลาดแรงงานนัก ยกเว้นตลาดแรงงานทางตอนใต้ของจีนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย และอาเซียน

  • มหาวิทยาลัยปรับตัวรับนักศึกษาต่างชาติ

สถาบันการศึกษาจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญและเปิดรับนักศึกษาจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านรายได้เป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่ง เพราะนักศึกษาไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องจน ส่งผลต่อรายได้ของสถาบัน

ยกตัวอย่างในปี 2020 มีนักศึกษาสมัครสอบ TCAS รวมทั้ง 5 รอบจำนวนเพียง 205,912 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยมีมีอัตราการรับนักศึกษาใหม่ถึง 561,269 อัตรา ทำให้มีที่นั่งว่างเกินครึ่งของจำนวนที่รับ ซึ่งหากสถาบันการศึกษาปล่อยให้ที่นั่งเหลือจนเกิดภาวะขาดทุน หลักสูตรหรือสถาบันการศึกษา นั้นๆ จะต้องปิดตัวหรือขายกิจการในท้ายที่สุด

การดึงนักศึกษาจีนมาทดแทนนักศึกษาไทยที่ลดลงจึงกลายเป็นทางออกสำคัญที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการเงินได้ ที่ผ่านมาแต่ละปีนักศึกษาจีนสร้างรายได้ให้กับไทยประมาณ ได้เป็นจำนวนเงินนับพันล้านบาท

เหตุผลรองลงมา ได้แก่ การต้องการยกระดับสถานศึกษาให้มีความเป็นนานาชาติมากขึ้นและสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดึขึ้นเพื่อให้แข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้ สถาบันหลายแห่งต้องการเพิ่มจำนวนนักศึกษาจีนจึงมีการออกแบบและปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ ความต้องการของนักศึกษาจีน ทั้งด้านภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนและสาขาวิชา

อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นใน การเรียนการสอนเพื่อเอื้อให้นักศึกษาจีนที่มีพื้นฐานอ่อนสามารถเรียนร่วมกันได้และมีโอกาสสำเร็จการศึกษามากขึ้น การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาไทยส่วนใหญ่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในจีนและเอเจนซี่จีน ในการช่วยประชาสัมพันธ์ รับสมัครและจัดหานักศึกษาจีนมาไทย

มหาวิทยาลัยในจีนและเอเจนซี่จีนมีบทบาท สำคัญอย่างยิ่งต่อการรับนักศึกษาจีนในไทย แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของเอเจนซี่จีนนั้นก็มีปัญหาในเรื่อง ของการมุ่งเน้นแต่ตัวเงินและปริมาณนักศึกษา ทำให้นักศึกษาจีนในไทยหลายรายรู้สึกผิดหวังหรือไม่ประสบ ความสำเร็จในการเรียนเพราะคำแนะนำของเอเจนซี่จีน

  • เพิ่มนักศึกษาจีนควรเป็นประโยชน์ต่อประเทศไม่ใช่เพียงกระแสนิยม

กระแสการเพิ่มขึ้นของนักศึกษาจีนในไทยที่เกิดขึ้นถือเป็นโอกาสดีที่ไทยควรให้ความสำคัญและส่งเสริม อย่างจริงจังควบคู่ไปกับการมีแผนการจัดการและการรองรับที่เหมาะสม เพื่อให้การเข้ามาของนักศึกษาจีนเป็น ประโยชน์ไม่กระทบกับความมั่นคงและมีความยั่งยืน มิใช่เป็นเพียงกระแสความนิยมเพียงชั่วคราว 

ดังนั้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนของหลักสูตรที่เปิดขึ้นมาเพื่อ รองรับนักศึกษาจีนอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง ทั้งเรื่องความเหมาะสมของหลักสูตร รายวิชา เอกสารประกอบการ สอน ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะหลักสูตรที่ดำเนินการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ

หากในอนาคตจำนวนนักศึกษาจีนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกำหนด กรอบและนโยบายกลางในการรับนักศึกษาจีนสำหรับบังคับใช้ทั้งกับสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

ที่สำคัญหากจำนวนนักศึกษาจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาการจำกัดจำนวน นักศึกษาจีนในแต่ละสถาบัน โดยอาจพิจารณาให้นักศึกษาจีนในแต่ละสถาบันมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละเท่าไหร่ของ นักศึกษาทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการซื้อกิจการสถานศึกษา แล้วนำอาจารย์จีนและนักศึกษาจีนที่ไม่มี คุณภาพเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบจำนวน คุณวุฒิและผลงานวิชาการของคณาจารย์ประจำหลักสูตรต่างๆ ว่ามี จำนวนครบตามที่กำหนด มีคุณวุฒิและมีผลงานวิชาการที่เหมาะสมหรือไม่อย่างสม่ำเสมอ มิใช่สุ่มตรวจแบบนาน

อ้างอิง: รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาเยื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย โดย ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และคณะ ภายใต้แผงงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย4.0