รู้จัก "วงจรคนเหนื่อย" เหนื่อยที่ใจ ทำไมส่งผลกับงาน

รู้จัก "วงจรคนเหนื่อย" เหนื่อยที่ใจ ทำไมส่งผลกับงาน

โลกที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนรู้สึก "เหนื่อย" ที่อาจเกิดจากความคาดหวังของตัวเอง ส่งผลต่อการใช้ชีวิต การทำงานโดยไม่รู้ตัว การรับมือสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องมี Soft Skills ที่จะเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างสมดุลชีวิตและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบัน คนจำนวนไม่น้อยกำลังหลงไปกับการพยายามเอาชนะความท้าทายที่วนเวียนมาให้เผชิญหน้า ต้องรับมือความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนไปเร็วจนปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้จมอยู่กับปัญหารอบตัวมากจนเกินไปถ้าไม่ดูแลคนอื่นจนเกินพอดี ก็มัวแต่ดูแลตัวเองจนลืมใส่ใจคนรอบข้าง สมดุลแห่งชีวิตที่ขาดหายทำให้เกิด ภาวะหมดไฟ ในการใช้ชีวิต

 

เหนื่อยกับคำว่า "ฉันต้อง...." 

 

“ชญาน์ทัต วงศ์มณี” Head of Storytelling, YourNextU by SEAC กล่าวในงานแถลงข่าว YourNextU School of Life เปิดตัวแคมเปญ “รักนะตัวเอง” โดยระบุว่า ที่ผ่านมาสิ่งที่พบในคนยุคปัจจุบัน คือ “วงจรคนเหนื่อย” 

 

สิ่งแรกที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “ฉัน” คนในยุคนี้นอกจากจะมีอาชีพของตัวเองแล้ว ยังมีอาชีพเป็น “นางแบก” แบกความคาดหวังของตัวเอง และคนรอบตัว ฉันต้อง....อินเทรนด์ ทันโลก ไร้ริ้วรอย เติบโตอย่างก้าวกระโดด เกษียณตอนอายุ 40 ปี มีไลฟ์สไตล์เก๋ๆ ชิคๆ คิดบวก มีเพื่อนหลายวงการ มี Passive income ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุไม่ถึง 30 ปีฯลฯ นี่คือสิ่งที่คนยุคนี้ต้องเจอ 

 

ในโซเชียลมีเดียที่มีแต่เรื่องของการประสบความสำเร็จของชีวิต และทำให้คนที่เห็นรู้สึกว่า “เหนื่อย” ที่ไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวัง รู้สึกตัวเองไม่มีค่า รู้สึกตัวเองดีไม่พอ รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น 

 

หากดูสถิติ สุขภาพจิตของคนไทยในปี 2022 พบว่า 

46% มีภาวะเครียด 

28% ตื่นตระหนก 

32% นอนไม่หลับ

27% เหงา 

 

รู้จัก \"วงจรคนเหนื่อย\" เหนื่อยที่ใจ ทำไมส่งผลกับงาน

 

เหนื่อยที่จะรัก

 

ถัดมา คือ ในส่วนของ “รัก” การที่ต้องมีความสัมพันธ์ อยู่กับครอบครัว อยู่กับเพื่อน คนที่รู้สึกขาดอยู่แล้วยิ่งรู้สึกขาดกว่าเดิม และไม่สามารถมอบความรักให้กับคนอื่นได้ สภาวะแบบนี้ว่า “เหนื่อยที่จะรัก และ เหนื่อยที่จะรับ” เพราะลำพังตัวเองก็จะไม่รอด จะให้ไปรักคนอื่นก็คงไม่ไหว 

 

เหนื่อยกับชีวิต ส่งผลต่อ "งาน" 

 

วงสุดท้าย คือ “งาน” เมื่อชีวิตเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น กลายเป็นว่า ไม่ใช่แค่เหนื่อยที่ตัวเราเอง แต่เป็นการเพิ่มวงจรความเหนื่อยให้กับคนอื่นด้วย และคนเหล่านี้เมื่อไปทำงานจะเป็นอย่างไร ? 

 

จากการศึกษาของ McKinsey & Company เกี่ยวกับ สาเหตุที่คนลาออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้จะลาออกโดยที่ไม่มีงานรองรับก็จะออก ได้แก่ 

 

  • หัวหน้าปราศจากการใส่ใจกัน
  • ปล่อยให้พนักงานไปตายดาบหน้า 
  • ไม่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม
  • ทำงานไร้ความหมาย
  • ทำลายสุขภาพ
  • ไม่มีการชื่นชม 
  • เพื่อนร่วมงานแทงข้างหลัง ไว้ใจไม่ได้ 
  • ไม่ปลอดภัย 
  • ถูกตัดขาด ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 

 

หากสังเกตจะพบว่า ทุกข้อมีสาเหตุมาจาก “คน” หากคนรู้สึกขาดหรือไม่รู้สึกเติมเต็ม ก็ไปปฏิบัติต่อคนอื่น จึงเกิดเทรนด์เหล่านี้ขึ้น 

 

“Quiet Quitting” คนที่อยู่ไม่มีไฟ ใจก็หมด แต่ยังคงทำงานอยู่ เวลาทำงานก็ทำงานแบบไม่เอาใจใส่ ขอไปที 

 

“Quiet Firing” เห็นเงียบๆ แต่บริษัทรอไล่ออกเพียบ นี่คือ การที่บริษัทไม่ได้สื่อสารกับพนักงานว่าตอนนี้สถานการณ์ออฟฟิศเป็นอย่างไร หรืออยากให้พนักงานปรับปรุงอย่างไร สิ่งที่บริษัททำ คือ บีบให้คนรู้สึกกดดัน เจ็บปวด และลาออกไปเอง

 

“Fat Fire” เทรนด์ของคนกับงาน คือ ไม่ได้รักงานแล้ว ทำอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นการสะสมเงินให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเกษียณให้เร็วที่สุด เขาจะมาทำงานด้วยความรู้สึกไม่มีใจ ทำไปแต่ไม่ได้รัก 

 

 

 

หากเอาทั้ง 3 วงจร มาดูจะพบจุดร่วม คือ การขาดความรัก รู้สึกไม่รักตัวเอง ไม่สามารถรักคนอื่นได้ ทำงานก็ทำงานด้วยความไม่ได้รักงาน ทางออกของความไม่สมดุล จึงคือ การรักษาสมดุลของชีวิต การพัฒนาทักษะชีวิต หรือ Soft skills ที่สามารถจัดการกับความยุ่งยากในชีวิตส่วนตัว และรับมือกับการทำงานได้ 

 

ทำไมคนเราต้องมี Soft skills

 

จากผลการสำรวจพนักงานของประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 750 คน โดย Wonderlic พบว่า 97% ของพนักงานเห็นด้วยว่า Soft Skills มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน 

 

สแตนฟอร์ด รีเสิร์ช  เซ็นเตอร์ (Stanford Research Center) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และมูลนิธิคาร์เนกี (Carnegie foundation) รายงานว่า 85% ของความสำเร็จในการทำงานมาจาก Soft Skills และ People Skill ที่ดีเยี่ยม และอีก 15% มาจาก Technical Skills 

 

อีกทั้ง Soft Skills ยังเป็นเทรนสำคัญในอนาคตของการจ้างงาน โดย Top 3 ของ Soft Skills ที่กำลังขาดแคลน คือ 

37% การแก้ปัญหา

32% Critical Thinking 

31% ความคิดสร้างสรรค์ 

 

ข้อมูลเหล่านี้ บ่งชี้ถึงความสำคัญของ Soft Skills ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของคนมากขึ้น 

 

รู้จัก \"วงจรคนเหนื่อย\" เหนื่อยที่ใจ ทำไมส่งผลกับงาน

 

รักตัวเอง พัฒนาตัวเอง 

 

“บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์” กรรมการผู้จัดการ YourNextU by SEAC กล่าวว่า ปัจจุบัน คนไทยยังให้ความสำคัญกับการศึกษาหรือพัฒนาตัวเองน้อยมาก และมองว่าเป็นเรื่อง “น่าเบื่อ” และเป็นเรื่องท้ายๆ ที่คนจะสนใจลงทุนให้กับตัวเอง  

 

YourNextU School of Life ศูนย์รวมวิชาชีวิต จึงต้องการเดินหน้าปลุกกระแสสังคมไทยให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจและช่วยกันสร้างแรงกระเพื่อมให้คนไทยเห็นคุณค่า และให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาตัวเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 โดยเฉพาะทักษะวิชาชีวิต หรือ Soft Skills ที่สามารถช่วยส่งผลต่อการพัฒนาตัวเองทั้งในที่ทำงาน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย 

 

หนึ่งในภารกิจสำคัญของ YouNextU คือ การสร้างให้คนไทยเปลี่ยนมุมมองและเห็นคุณค่าของการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง ให้กลายมาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตของคน ครอบคลุม 8 ทักษะชีวิต ได้แก่ 

 

  • Agility & Change การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ
  • Mindset & Personal Growth ปรับความคิด พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นในทุกวัน
  • Leadership ทักษะการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเพื่อสร้างผลลัพธ์ 
  • Communication & collaboration ทักษะการสื่อสารแบะสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการประสานงาน 
  • Innovation & Creativity การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม ก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ ทักษะการสร้างความคิดสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างในการแก้ไขปัญหา
  • Business Acumen ทักษะการรู้ทัน ความเฉียบแหลมทางธุรกิจ ความเข้าใจ การควบคุม และการบริหารจัดการ
  • Productivity ทักษะการบริหารเวลาและหารจัดการตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในการทำงาน และในชีวิตประจำวัน 
  • Digital Skills ทักษะการใช้เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต เพื่อพัฒนา เข้าใจ ประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

 

เพราะการพัฒนาทักษะชีวิตอย่าง Soft Skills จะช่วยให้ผู้คนสามารถจัดการความยุ่งยากที่อยู่รอบตัว รวมถึงรักษาสมดุลชีวิตผ่านการเอาใจใส่ตัวเองและคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น