"ผลิตภัณฑ์สมุนไพร"บูม ปี65คนไทยบริโภคทะลุกว่า 5 หมื่นล้านบาท

"ผลิตภัณฑ์สมุนไพร"บูม ปี65คนไทยบริโภคทะลุกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สธ.เผยปี 65 คนไทยบริโภค “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร”มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท  เร่งใช้สมุนไพร-แพทย์แผนไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ  วางเป้า ปี 70 ไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชีย

            เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2565  ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสื่อสารนโยบายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2566ว่า จากข้อมูลในปี 2563 ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 

- ประเทศไทยติด 1 ใน 10 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่าทางการตลาดถึง 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 
กรมการแพทย์แผนไทยฯ ยกศาสตร์ "นวดน้ำมัน" ลังกาสุกะ รองรับกลุ่มประเทศมุสลิม
กวาดล้าง "น้ำสมุนไพร" ผสมสเตียรอยด์ บุก 6 จุดขอนแก่น-ระยอง จับอีก 6 คน
สวทช.ยกระดับพืชสมุนไพร สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
เปิดตัว “อโรมา” สมุนไพรอัตลักษณ์ไทย กลิ่นเฉพาะ...ต้อนรับผู้นำเอเปคสธ.
"สมุนไพรไทย" บรรเทาอาการโควิด-19 และ Long COVID

- ส่วนการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย ปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง 52,104.3 ล้านบาท
     โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า

  • ปี 2564  มูลค่าราว 48,108. ล้านบาท
  • ปี 2563 มูลค่าราว 45,997.9 ล้านบาท
  • ปี 2562 มูลค่าราว 53,396.2 ล้านบาท
  • ปี 2561 มูลค่าราว 49,071.9 ล้านบาท
  • ปี  2560 มูลค่าราว 44,176.3 ล้านบาท 
  • ปี  2559 มูลค่าราว 39,831.8 ล้านบาท

       ในปี 2566 สธ.มีนโยบายการดำเนินงานภายใต้แนวคิดคนไทยสุขภาพดี เศรษฐกิจไทยมั่งคั่ง (Health for Wealth) นำสุขภาพมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นปัจจัยขับเคลื่อน ซึ่งจะมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ประชาชน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทยที่เป็นวัฒนธรรมชาติ

 

     ด้านนพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในปี 2566 กรมกำหนดนโยบายมุ่งเน้น 4 ประเด็น คือ

 1.การจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบสุขภาพปฐมภูมิในทุกพื้นที่    2.บูรณาการแหล่งผลิตยาสมุนไพรในกระทรวงสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และยั่งยืน
      โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตยาสมุนไพรในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน WHO-GMP ทั้งสิ้น 52 แห่ง เน้นการบริหารจัดการผลิตยาสมุนไพรด้วยแนวคิด Demand-Supply Matching ผลิตยาสมุนไพรร่วมกันในเขตสุขภาพ

3.ส่งเสริม สนับสนุน สมุนไพรกัญชา กัญชง แบบครบวงจรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เวชสำอาง และการรักษาโรค เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

4.วางรากฐานการพัฒนาบุคลากรมุ่งสู่เป้าหมาย ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชีย ในปี 2570

     “จะมีการพัฒนาคุณภาพงานบริการประชาชน และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สะดวก คล่องตัว ด้วยแฟลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงผลักดันศูนย์บริการวิชาการและบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในทุกเขตสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายและหน่วยบริการในส่วนภูมิภาค ทั้งด้านการศึกษา วิจัย พัฒนา บริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนากำลังคน”นพ.ธงชัยกล่าว