ปรับบริการสาธารณสุข รับ “โควิด” เฝ้าระวัง 1 ตค.

ปรับบริการสาธารณสุข รับ “โควิด” เฝ้าระวัง 1 ตค.

แนวทางการบริการสาธารณสุขและรักษาโรคโควิด-19 ที่เปลี่ยนไป หลังจากปรับให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง 1 ต.ค. ของผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มผู้ป่วยไม่มีอาการ และมาตรการการเข้ารับวัคซีนป้องกัน

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 30,247 คน ในปี 2562 เป็น 33,891 คน ในปี 2564 ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มเดียวกันกับสถานการณ์ทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้โรงพยาบาลทางจิตเวชที่มีอยู่ 20 แห่ง

และหอผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาล 30 แห่งทั่วประเทศต้องให้บริการรักษาดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ปรับรูปแบบบริการสุขภาพจิตวิถีใหม่ดูแลครบทั้งสุขภาพใจและไม่เสี่ยงติดโรคทางกายเพิ่มหลังจาก 1 ต.ค. ที่มีการปรับโรคโควิด -19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคทางจิตเวช (Psychiatric Disorders) เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคนอนไม่หลับ มากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ โดยพบว่า 5.8 % หรือ 1 ใน 17 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการป่วยทางจิตภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ แต่จากนี้ไปผู้คนอาจจะไม่วิตกกังวลมากนักหลังจากนี้เพราะมีการปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังแล้ว ผู้ป่วยสามารถรักษาพยาบาลฟรีตามสิทธิ กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ UCEP PLUS รักษาจนหาย

กรณีป่วยที่ไม่มีอาการ เน้นแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตามมาตรการ DMHT 5 วัน ไม่ให้ยาต้านไวรัส ผู้มีอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง ไม่มีปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ รักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตาม DMHT เคร่งครัด 5 วัน อาจพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจร หรือให้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยควรเริ่มเร็วที่สุด มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ (อาจมีอาการเล็กน้อย ปอดอักเสบเล็กน้อย) หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง พิจารณาตามดุลยพินิจของแพทย์ ให้ยาต้านไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง คือ แพกซ์โลวิด เรมเดซิเวียร์ และโมลนูพิราเวียร์

ส่วนกลุ่มเสี่ยงสามารถรับบริการฉีดได้ตามเกณฑ์ด้วยความสมัครใจสถานพยาบาลที่กำหนด ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามคำแนะนำ สธ. เบื้องต้นวางแผนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง สวมหน้ากาก เมื่อเข้าไปในสถานที่ผู้คนแออัด หรือพื้นที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท แต่ไม่แนะนำให้ตรวจ ATK ในผู้ที่ไม่มีอาการป่วย     

ระบบการรักษาพยาบาลจากนี้ไปจะเน้นนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยรักษามากขึ้น จะมีเครื่องมือช่วยดูแลปัญหาสุขภาพจิตให้กับประชาชนได้ทุกที่ ทุกเวลา และประเมินสุขภาพจิตตัวเองได้ผ่านแอปพลิเคชันได้ หากต้องการพบแพทย์สามารถทำนัดล่วงหน้าผ่านออนไลน์ก่อนและเพื่อให้ผู้ป่วยใช้เวลาในโรงพยาบาลให้น้อย หรือปรับการรับยาให้เลือกทั้งการส่งทางไปรษณีย์ไปรับที่ร้านขายยาใกล้บ้านและในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาบริการ Driveto เพิ่มด้วย