เปิด 7 หุ้น อุปกรณ์คลายร้อน ช่วยเพิ่มความเย็น หลังอุณหภูมิทั่วไทยร้อนระอุทะลุ 40 องศา

เปิด 7 หุ้น อุปกรณ์คลายร้อน ช่วยเพิ่มความเย็น หลังอุณหภูมิทั่วไทยร้อนระอุทะลุ 40 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ทุกภาคของไทยปีนี้อุณหภูมิสูงสุดเกิน 40 องศาเซลเซียส 7 หุ้น อุปกรณ์คลายร้อน ช่วยเพิ่มความเย็น รับอานิสงส์ยอดขายพุ่ง

หน้าร้อน ปีนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าทุกภาคของไทยมีโอกาสอุณหภูมิสูงสุดเกิน 40 องศาเซลเซียส หรือในบางจังหวัดอาจจะสูงถึง 43 - 44.5 องศาเซลเซียส ส่งผลให้กลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศ พัดลม พัดลมไอเย็น และตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 20-70%

ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ จำกัด เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ในช่วงหน้าร้อนหุ้นนอกจากหุ้นเครื่องดื่มที่จะได้รบอานิสงส์แล้ว ยังมี หุ้นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ เครื่องปรับอากาศ พัดลมที่ได้รับตอบรับดีด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงหน้าร้อนจะขายดีเป็นพิเศษ 

อย่างไรก็ตาม ต่อให้สินค้าขายดีแค่ไหน แต่ว่ามาร์จิ้นมักจะไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากมีการขายแข่งลดราคากันค่อนข้างมาก ขณะที่เครื่องดื่มก็มักจะมียอดขายที่ดีเช่นกัน

กรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน สายงานวิจัย บล.ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ช่วงนี้ถือว่าเซนติเมนค่อนข้างดี สินค้าคงทนอย่าง แอร์ จะมาเป็นรอบ ๆ หรือมาเป็นช่วง ๆ ส่งผลดีในช่วงหน้าร้อน แต่นักลงทุนอาจเข้ามาลงทุนได้แค่เทรดดิ้ง

“ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ สินค้าประเภทแอร์ พัดลมก็จะขายดี แต่ต้องยอมรับว่า ราคามีการปรับเล่นไปก่อนหน้านี้แล้ว หากนักลงทุนจะเข้าไปเก็งกำไร อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่สินค้าประเภทแอร์ หรือพัดลมจะเป็นหุ้นขนาดเล็ก” 

 

“กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ช่วยทำความเย็นในช่วงหน้าร้อน มีด้วยกัน 

1.บริษัท กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน) หรือ KYE

ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านภายใต้เครื่องหมายการค้า มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม พัดลมระบายอากาศ และเครื่องปั้มน้ำ โดยได้รับลิขสิทธิ์และเทคโนโลยีการผลิตจากบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีลูกค้าทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

  • กำไร 9 เดือน ปี  2566 ที่ 680.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ที่ 124.26 ล้านบาท 
  • มาร์เก็ตแคป 6,237.00 ล้านบาท P/E 8.72 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 331.00 / 275.00 บาท 
  • ผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น พัดลม พัดลมระบายอากาศ และเครื่องปั้มน้ำ ภายใต้เครื่องหมายการค้า มิตซูบิชิ อีเล็คทริค
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2537
  • เคจิ โอยะ ตำแหน่ง รองประธานกรรมการ, กรรมการผู้จัดการ


2.บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNC

ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน ชิ้นส่วนของตู้เย็น ชิ้นส่วนของเครื่องซักผ้า ตลอดจนชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศในรถยนต์เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์โดยตรง หรือจำหน่ายให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ลิตเครื่องปรับอากาศในรถยนต์เพื่อนำไปประกอบ เป็นชุดเครื่องปรับอากาศที่สมบูรณ์ก่อนส่งต่อให้ผู้ลิตรถยนต์

  • กำไรปี 2566 ลดลง -17.8 ล้านบาท หรือ 0.2% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 727.23 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 2,589.88 ล้านบาท P/E - เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 13.90 / 7.05 บาท 
  • ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน ชิ้นส่วนของตู้เย็น ชิ้นส่วนของเครื่องซักผ้า ตลอดจนชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศในรถยนต์
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 21 ต.ค.2547
  • สาธิต ชาญเชาวน์กุล ตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท, กรรมการอิสระ


3.บริษัท เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PACO

ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศรถยนต์ทดแทนให้แก่ลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ

  • กำไรปี 2566 ที่ 73.20 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 82.50 ล้านบาท หรือ -11.27%
  • มาร์เก็ตแคป 1,750.00 ล้านบาท P/E 23.91 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 2.60 / 1.45 บาท 
  • จัดจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศรถยนต์
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564
  • สมชาย เลิศขจรกิตติ ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


4.บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KOOL

ดำเนินธุรกิจหลักโดยการจัดหา จัดจำหน่ายและให้เช่าผลิตภัณฑ์ทำความเย็น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจด้านการเงิน ให้สินเชื่อ บริหารสินทรัพย์ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจให้บริการรถเช่าองค์กร

  • กำไรปี 2566 ที่ 70.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ที่ 41.14 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 29.09 ล้านบาท หรือ 70.70%
  • มาร์เก็ตแคป 914.74 ล้านบาท P/E 12.64 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 0.57 / 0.36 บาท 
  • พัดลมไอน้ำ พัดลมไอเย็น
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ต.ค.2558
  • นพชัย วีระมาน ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ


5.บริษัท ทเวนตี้ โฟร์ คอน แอนด์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ  24CS

จำหน่ายอุปกรณ์ระบบปรับอากาศและรับเหมาติดตั้งระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร

  • กำไรปี 2566 ที่ -45.07 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 24.49 ล้านบาท 
  • มาร์เก็ตแคป 705.20 ล้านบาท P/E - เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 2.50 / 0.85 บาท 
  • จัดจำหน่ายอุปกรณ์และรับติดตั้งระบบปรับอากาศ (HVAC)
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565
  • ยศวีย์ วัฒนธีระกิจจา ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, กรรมการ


6.บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) หรือ PK

เป็นบริษัทวิศวกรรมสร้างเครื่องจักรทำความเย็น และเครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูปและการผลิตอาหารประเภทต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำแข็งหลอด ห้องเย็น 

  • กำไรปี 2566 ที่ -144.80 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ -130.44 ล้านบาท 
  • มาร์เก็ตแคป 499.93 ล้านบาท P/E - เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 1.60 / 0.91 บาท 
  • เครื่องทำน้ำแข็งหลอด ห้องเย็น
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2535
  • ปเนต จงวัฒนา ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


7.บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CIG

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตคอยล์เย็น (Evaporator Coil) คอยล์ร้อน (Condenser Coil) และคอยล์น้ำเย็น (Chilled Water Coil) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหลักของอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน/ความเย็นทุกประเภท โดยเป็นการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า (Made to Order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 

  • กำไรปี 2566 ที่ 5.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ที่ -122.54 ล้านบาท 
  • มาร์เก็ตแคป 194.47 ล้านบาท P/E 33.17 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 0.53 / 0.05 บาท 
  • ผลิตคอยล์เย็น คอยล์ร้อน และคอยล์น้ำเย็น
  • เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2548
  • บรรณัช นาคพันธ์ ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ

เปิด 7 หุ้น อุปกรณ์คลายร้อน ช่วยเพิ่มความเย็น หลังอุณหภูมิทั่วไทยร้อนระอุทะลุ 40 องศา