บทพิสูจน์ ‘ตลาดทุนไทย’ สร้างความเท่าเทียม – เปิดเผยข้อมูล

บทพิสูจน์ ‘ตลาดทุนไทย’  สร้างความเท่าเทียม – เปิดเผยข้อมูล

ความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทยในสายตารายย่อย จากการทำงานในฐานะหน่วยงานกำกับตลาดทุนไทยเผชิญบททดสอบสำคัญกับการดูแลการซื้อขายให้เท่าเทียมกันเมื่อเกิดเสียงสงสัย และกลายเป็นกระแสใหญ่ธุรกรรม short selling และ naked short selling กำลังทำลายนักลงทุนรายย่อยจนหมดทางสู้

     โดยมีการโยงไปถึงการซื้อขายที่ได้เปรียบมากกว่า “บนต้นทุน (ค่าคอมมิชชัน) ที่ถูกก

ว่า” กลับทำกำไรบนเวลท์ที่หายไปของนักลงรายย่อยถูกสะสมมาต่อเนื่อง และรุนแรงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จนเกิดปรากฏการณ์ รายย่อย นัดหยุดเทรด 20 พ.ย.66    

       ด้วยข้อมูลที่พอจะบ่งชี้ได้จากตัวเลขสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยที่ลดลงในตลาดหุ้นไทยปี 2566 อยู่ที่ 31.85 % เป็นการลดลงจากปี 2565 อยู่ที่ 35.47%  กองทุน - สถาบันมีสัดส่วน   8.415% ลดลงเทียบกับปี 2565ที่ 7.95% แต่กลุ่มต่างชาติกลับมาสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น  52.09 %   จากปี 2565 อยู่ที่ 48.02%  

        ย้อนไปในช่วง 10 ย้อนหลัง รายย่อยเคยมีสัดส่วนมากถึง 70% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนประมาณ 20% และกองทุนสถาบันในประเทศมีสัดส่วนเกือบ 10%  การเพิ่มสัดส่วนของต่างชาติหรือกองทุนเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่ด้วยจำนวนฐานนักลงทุนในประเทศเฉพาะ Active อยู่ที่ 3 ล้านบัญชีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงในรอบ 10 ปี เป็นการถอยจากตลาดหุ้นทั้งขาดทุน - เวลท์หาย ของรายย่อย 

        สอดคล้องการใช้ Program Trading 40% ส่วนใหญ่การซื้อขายแบบ Program Trading มี High Frequency Trading (HFT) ระบบการส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง โดยอาศัยความเร็วของเทคโนโลยีเพื่อกำหนด และดำเนินการซื้อขายในระยะเวลาที่สั้นมากเป็นนักลงทุนกองทุน-สถาบันต่างประเทศที่นำเทคโนโลยีมาใช้เฉพาะลิขสิทธิ์ของตัวเอง  ซึ่งนักลงทุนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือลงทุนแบบนี้ได้เลย

รวมทั้งการต่อรองค่าคอมมิชชันในยุคค่าคอมฯเสรี ทำให้บรรดากองทุนต่างประเทศสามารถเสนอวอลลุ่มซื้อขายจำนวนมหาศาลแลกกับต้นทุนต่ำ เช่น เทรดล้านบาท ค่าคอมฯที่ 30 บาทเป็นต้น จนกลายเป็นการลงทุนที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่มีวอลุ่มที่กำหนดหุ้นรายตัวได้

      หากใช้กลยุทธ์ short selling ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงได้มากกว่าปกติ แต่กลไกจะบังคับให้มีการซื้อคืนกลับ หรือ  short covering    ราคาหุ้นกลับมาอยู่ในแวลูที่เหมาะสม  แต่ช่องโหว่ก็เอื้อประโยชน์ด้วยการทำธุรกรรม naked short selling  ไม่มีต้นทุนการยืมหุ้นในมือ แต่ทำการ short selling  ผ่านคัสโตเดียนที่ตรวจสอบไม่ได้ หรือการ Net settlement หักกลบในวันเดียวกัน ทำให้ไม่เห็นร่องรอยตามจับได้ ทำให้เป็นการกระทำผิดกฎหมาย

       ดังนั้นจึงเป็นคำถามย้อนกลับไปยัง ก.ล.ต. และ ตลท. ว่ามีมาตรการตรวจสอบเพียงพอหรือไม่ และกลายเป็นไม่เชื่อมั่นต่อการออกมาชี้แจงในช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นการแถลงข่าวเรื่องเดียวกันมากถึง 4 ครั้งในรอบเดือนพ.ย.

      สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ต้องมีการประชุมด่วน 20 พ.ย.66 เพื่อทบทวนมาตรการดูแล และสร้างความเท่าเทียมให้กับนักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดหุ้นไทยจนเป็นที่มาตรการที่ "ชัดเจน – ครอบคลุม  และเข้มข้นมากที่สุดก็ว่าได้"

       โดยเฉพาะมาตรการเพิ่มเติมล่าสุด (21 พ.ย.66) ลงไปตรวจจับบัญชี  Omnibus (ออมนิบัส) หรือบัญชีที่รวมนักลงทุนหลายรายในบัญชีเดียวกัน และใช้  Program Trading โดยให้โบรกเกอร์มีหน้าที่นำส่งข้อมูลหลักฐานการ short sell ว่ามีการยืมหุ้นจริง ภายใน 15 วัน หากไม่นำส่งจะเชื่อได้ว่ามีธุรกรรม naked short selling  มีการลงโทษตามมา

      การเตือนโบรกเกอร์ และคัสโตเดียน ให้ป้องกันและดูแลความเสี่ยงการ short selling ไม่ให้เกิด naked short selling   เพื่อไม่ให้มีใครแตกแถวเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าตัวเอง การตั้งคณะกรรมการพิเศษตรวจสอบและเสนอแนะ เฉพาะการซื้อขายด้วย Program Trading  และ naked short selling

      ปัจจุบันนักลงทุนรายย่อยยังมีความเคลือบแคลง และสงสัยตามกระแสข่าวที่เกิดขึ้น และการออกมาให้ข้อมูลของนักลงทุน – นักเทรดเดอร์ ในตลาดหุ้นด้วยตัวเอง ผนวกกับที่ผ่านมาแอคชั่นแรงๆ ไม่มีให้เห็นในตลาดหุ้นไทย

      การขยับตัวแรงในครั้งนี้ของ ก.ล.ต. และ ตลท. เป็นการตอบรับเสียงของรายย่อย และพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถให้ความเท่าเทียมกับนักลงทุนทุกกลุ่มที่มีต้นทุนไม่เท่ากัน มีความสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับสูงแตกต่างกัน แต่กติกาต้องใช้กับทุกคนเท่ากัน และป้องกันการหาช่องว่างหาผลประโยชน์ทำลายตลาดทุนไปด้วย

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์